ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity)

แนวทางปฏิบัติของการบริหารกลยุทธ์ที่แตกต่างกันในแต่ละขั้นตอนของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

วงจรตลาดในขั้นโตเต็มที่จะมีลักษณะที่น่าสนใจอยู่ 4 ประการ คือ
1.ตลาดขาดการเติบโตที่ต่อเนื่อง หมายความว่า ทุกบริษัทไม่สามารถที่จะได้รับการสนันสนุนให้เข้าสู่ตลาดในขั้นเจริญเติบโต (Growth stage)

2.เทคโนโลยีหลักส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ผลประโยชน์ที่ยาวนานจากการคุ้มครองสิทธิบัตร (Patent protection)

3.ประสบการณ์ที่สะสมมาไม่ใช้การเตรียมการที่ยาวนานเพื่อใช้เป็นข้อได้เปรียบสำคัญกับคู่แข่งขัน แต่ประสบการณช่วยทำให้ต้นทุนลดลง โดยช่วยตัดทอนสิ่งที่ยุ่งยากให้น้อยลง

4.สินค้ามีรูปแบบที่สร้างความแตกต่างอยู่เพียงไม่กี่รูปแบบ ซึ่งการปฎิบัติตามอาจไม่ได้ผลเต็มที่ ตังนั้นแนวโน้มที่กำลังเติบโตของบริษัทจึงหันมาเน็นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก

เมื่อบริษัทเข้ามาถึงระยะเติบโตเต็มที่ ตลาดจะกำลังเริ่มหยุดนิ่งและการปิดกิจการเริ่มเป็นไปได้มากขึ้น สถานการณ์เช่นนี้โอกาสอาจไม่อำนวยกับการหาข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นการยากที่จะได้เห็นคู่แข่งขันที่ไม่ลอกเลียนแบบ และจำนวนของข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความแตกต่างจะมีเพียงเล็กน้อยจากที่ได้พบในขั้นอื่น ๆ เมื่อตลาดเติบโตเต็มที่ ระดับของการตั้งราคาและข้อได้เปรียบด้านความแตกต่างระหว่างคู่แข่งขันก็จะลดลง จนกว่าจะมีการพิสูจน์อย่างหนักแน่นเพือสนับสนุนว่า ข้อได้เปรียบสามารถทำได้จริง โดยผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับในตลาดนี้ต้องน่าประทับใจคู่แข่งขันจึงจะกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ