ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

ราคาผลิตภัณฑ์-ข้อได้เปรียบด้านต้นทุน

ราคาผลิตภัณฑ์เป้นข้อได้เปรียบทางต้นทุนการประเมิน่ของบริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนของคู่แข่งขันเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นส่วนที่สำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ของบริษัท เมื่อคู่แข่งขันลดราคาลง หรือเมื่อมีคู่แข่งขันใหม่ที่เข้าสู่ตลาดด้วยราคาต่ำ บริษัทจะต้องเตรียมแผนการ ว่าจะปรับปรุงราคาผลิตภัณฑ์อย่างไร ตำแหน่งของบริษัทจะต้องเข้มแข็งแม้ว่าราคาและต้นทุนจะเปลี่ยนแปลง การเปรียบเที่ยบระหว่างราคาและต้นทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญในทุกอุตสาหกรรม การแข่งขันด้านราคาจะมีผลกระทบต่อส่วนครองตลาด ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความแตกต่างเหนื่อคู่แข่งขันนั้น การตั้งราคาจะสามารถตั้งให้สูงกว่าคู่แข่งขันได้ หลักสำคัญประการหนึ่งของการตั้งราคาคือ การตั้งราคาที่สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ซื้อได้ ตั้งราคาที่กลุ่มเป้าหมายมองเห็นคุณค่าในผลิตภัณฑ์ (Product value) ดังนั้นราคาจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งราคาจะมีความสัมพันธ์กับต้นทุน และสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ดังนี้
1.ความแตกต่างกันในด้านราคา ขึ้นอยู่กับราคาของวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ค่าตอบแทน และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ
2.ความแตกต่างกันในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานและความยาวนานของอายุการใช้งานและอุปกรณ์บริษัทที่มีความแข็งแกร่งจะลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์ที่สำคัญในช่วงเวลาต่างกัน สิ่งอำนวยความสะดวกจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีต่างกัน ความต่างกันของเทคโนโลยีคงที่ เช่น ค่าเสื่อมราคา การประกัน การบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้งานมานานจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า
3.ความแตกต่างกันในต้นทุนการผลิตของบริษัทและคู่แข่งขัน จะแตกต่างกันตามประสิทธิภาพของโรงงาน(Different plant efficiencies) ผลกระทบจากการเรียนรู้(การเรียนรู้ที่ต่างกัน) (Different learning) ผลกระทบจากเส้นประสบการณ์ (Experience curve effects) ตลอดจนมีค่าจ้างที่แตกต่างกัน (Different wage) และ ระดับผลิตผลที่แตกต่างกัน (Different productivity levels)
4.ความแตกต่างกันในต้นทุนการตลาด ค่าใช้จ่ายทางการขายและการส่งเสริมการตลาด ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ตันทุนการจัดจำหน่าย และต้นทุนในการบริหาร
5.ความแตกต่างกันในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า และค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายในคลังสินค้า
6.ความแตกต่างกันในต้นทุนการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย ต้นทุนและส่วนบวกเพิ่มที่มอบให้กับผู้จัดจำหน่าย (ผุ้ค้าปลีก) ซึ่งเป็นคนกลางที่จะเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ขั้นสุดท้าย
7.ความแตกต่างกันในผลกระทบจากเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราภาษี ซึ่งเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมระดับโลก เมื่อคู่แข่งขันมีการดำเนินงานในประเทศที่แตกต่างกัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน และนโยบายภาษีที่แตกต่างกันด้วย

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ