ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)

การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)
หมายถึง ขอบเขตซึ่งบริษัทเน้นการตลาดอยู่ในวงจำกัดที่แคบ (Narrowly defined)ซึ่งการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้ แต่การมุ่งที่ตลาดเฉพาะส่วนจะเป็นพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินการของข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differantiation strategy)
ปกติจะมีความสัมพันธ์กับการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นการตลาดอยุ่ในวงแคบ (ในส่วนเล็กของตลาด) ส่วนตลาดกว่างที่เป็นตลาดมวลชน (Mass market) มักไม่เน้นการสร้างความแตกต่างให้เป็นหมวดหมุ่ตามประเภทสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานของสถาพ (Status) และภาพลักษณ์ (Image) ของสินค้า เพราะสัญลักษณะของสถานภาพ (Status symbol) จะสูญเสียประสิทธิภาพไปถ้าถูกนำมาใช้กับสินค้าจำนวนมาก นอกจากนั้นบริษัทซึ่งมุ่งตลาดเฉพาะส่วน ในส่วนแบ่งตลาดเฉพาะเจาะจงจากตลาดโดยรวมทั้งหมดก็จะมีสถานะภาพที่ดีกว่าในการนำเสนอรูปแบบสินค้าที่มีความแตกต่างให้น่าสนใจไปสู่ส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวได้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัท Tendem ประสบความสำเร็จอย่างมากในการใช้การวงกลยุทธ์แบบนี้ โดยการมุ่งตลาดเฉพาะส่วนที่เน้นทางด้านมาตรการ การรักษาความปลอดภัยมาใช้กับการขายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe computer)

กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership strategy)
ปกติมีความสัมพันธ์กับตลาดเป้าหมายที่มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมักจะมุ่งให้ได้ปริมาณการผลิตจำนวนมากของสินค้าแต่ละตัว และปริมาณจำนวนมากนี้เองก็มีผลต่อการลดต้นทุนที่ต่ำลงโดยวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economics of scale) และเส้นโค้งประสบการณ์ (Experience eurve effects) ซึ่งวิธีการประหยัดจากขนาดของการผลิตเฉลี่ยค่าใช้จ่าย หรือการลงทุนไปสู่จำนวนการผลิตที่มีมากขึ้น ตัวอย่าง สายการบินได้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริการขายบัตรโดยสาร และกำหนดตารางการบินของเครื่องบิน แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่จะมีต้นทุนต่ำลง เมื่อคำณวนจากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจึงให่้ผลคุ้มค่าสำหรับสายการบินขนาดใหญ่ มากกว่าสายการบินขนาดเล็ก ส่วนใจด้ายประสบการณ์จะเกิดประโยชน์เมื่องานสามารถดำเนินไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปฎิบัติสิ่งเหล่านั้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความชำนาญและกระบวนการในการทำงานก็กลายเป็นงานประจำวัน (Routine) ขึ้นมา

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ