ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ไทย + ออสเตรเลีย

ความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (Thailand - Australia Free trade Agreement - TAFTA)

เมื่อปี 2545(2002) เริ่มการเจรจาจัดทำ FTA ครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ ลงนาม FTA เมื่อเดือน กรกฎาคม 2547 มีผลบังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 ออสเตรเลียลดภาษีสินค้าร้อยละ 83 เป็นอัตราศูนย์ในวันที่ FTA มีผลบังคับใช้ แล้วทยอยลดภายในปี 2553 และในปี 2558 (2015) ไทยลดภาษีเหลืออัตราศูนย์สำหรับสินค้าร้อยละ 49 ในวันที่ FTA มีผลบังคับใช้ แล้วทยอยลดภาษีเป็นอัตราศูนย์ในปี 2553 และภายใน 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี หลังบังคับใช้ความตกลงฯ สำหรับสินค้าอ่อนไหว พร้อมมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) ในบางรายการสินค้า

การค้าบริการ และการลงทุน ไทยลงทุนธุรกิจทุกประเภทในออสเตรเลียได้ร้อยละ 100 ยกเว้นหนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน แต่หากลงทุนเกิน 10 ล้านเหรียญออสเตรเลียต้องขออนุญาติก่อน อีกทั้งผ่อนคลายเงื่อนไขการให้บุคลากรไทยเข้าไปให้บริการ ไทยเปิดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึงร้อยละ 60 ในปี2548 สำหรับกิจการบางประเภท เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม มารีน่า และเหมืองแร่ เป็นต้น

ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี และรํฐสภาให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาต่อเนื่องตาม FTA

อาเซียน + เกาหลี

ความตกลงการค้าอาเซียน - เกาหลี (ASEAN - KOREA Free Trade Agreement - AKFTA)

เริ่มเมื่อปี 2547 (2004) มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซี่ยนและเกาหลีของผู้นำอาเซี่ยน และเกาหลีในเดือนธันวาคม 2548 ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน กลไกระงับข้อพิพาืืททางการค้า และความร่วมมือทางเศรฐษกิจต่าง ๆ โดยสินค้าของเกาหลีกว่าร้อยละ 90 อัตราภาษีเป็นศูนย์ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2553 ขณะที่ไทยเปิดตลาดและระยะเวลายืดหยุ่นมากกว่าอาเซี่ยนอื่น ด้วยสินค้ามากกว่าร้อยละ 80 เป็นอัตราศูนย์ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2553 รายการอื่น ๆ ค่อย ๆ ลดลง ช้าสุดไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2553 รายการอื่น ๆ ค่อย ๆ ลดลง ช้าสุดไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2560 (2017) พัฒนาสู่การลงนามพิธีสารว่าด้วยการเข้าเป็นภาคีของไทยในความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า และในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ และมีการลงนามความตกลงว่าด้วยการลงทุนเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ไทยอยู่ขั้นตอนดำเนินการรองรับการปฎิบัติตามพันธกรณีพิธีสารว่าด้วยการเข้าเป็นภาคีของไทยในความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและการลงทุน

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

อาเซียน + ญี่ปุ่น

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซี่ยน - ญี่ปุ่น (ASEAN - Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement - AJCEP)

เริ่มเมื่่อปี 2546 (2003) ที่ผู้นำอาเซี่ยน และญี่ปุ่นร่วมลงนามกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิอาเซียน - ญี่ปุ่น (Framework for comprehensive Economic Partnership between ASEAN and japan ) ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้า สินค้า บริการ และการลงทุน กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การอำนวนความสะดวกทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ โดยลงนามความตกลง แล้วเมื่อเดือนเมษายน 2551 รัฐสภาเห็นชอบแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2551 มีผลบังคับใช้แล้วกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และพม่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 บรูไนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 และมาเลเซียเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกรอบเจรจาการค้าบริการและการลงทุนแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 อยูในขั้นตอนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา และตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการค้าบริการและการลงทุนเพื่อเจรจาต่อไปภายใน 1 ปี หลังจากความตกลง มีผลบังคับใช้

อาเซียน + อินเดีย

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - อินเดีย (Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India)

เริ่มเมื่อปี 2546(2003) ที่ผู้นำอาเซียน และอินเดียร่วมลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดทำ FTA อาเซียน - อินเดีย (Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India ) ครอบคลุมการค้า สินค้าและบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลไกระงับข้อพิพาท และยืดหยุ่นแก่ CLMV (Camvudia Laos Myanmar Vietnam) โดยการเปิดเสรีการค้าสินค้ามีเป้าหมายลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่เป็นอัตราศูนย์ ภายในปี 2554 ช้าสุดภายในปี 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ได้ร่างความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า ปรับปรุงตารางข้อผูกพันภาษี กำหนดเริ่มลดภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2553 เลื่อนวันสิ้นสุดการลดภาษีสินค้าทุกกลุ่มออกไปอีก 1 ปี และได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการ และการลงทุนยังคื่บหน้าไม่มาก โดยอยู่ในขั้นตอนขอความเห็นชอบกรอบเจรจาการค้าบริการและการลงทุนต่อรัฐสภา

อาเซียน + สหภาพยุโรป

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - สหภาพยุโรป (ASEAN - European Union Free Trade Agreement)

เริ่มเมื่อปี 2550(2007) เป็นการเจรจาระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค ครอบคลุมการเปิดตลาดสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรฐกิจด้านต่าง ๆ ด้วยปัญหาที่สหภาพยุโรปประสบในการเจรจาการค้ากับพม่า ทำให้สหภาพยุโรปเสนอการปรับรูปแบบการเจรจาเป็นการเจรจาทวิภาคีกับประเทศที่มีความมุ่งหวังสูงภายใต้กรอบภูมิภาคต่อภูมิภาค ขณะที่อาเซียนยืนยันการเจรจาระดับภูมิภาคในเดือนมีนาคา 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้พักการเจรจาชั่วคราว อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปได้เริ่มหารือ 2 ฝ่ายระดับเจ้าหน้าที่กับสิงคโปร์ และเวียดนามแล้ว

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

อาเซียน + จีน

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน(ASEAN - China Free Trade Agreement)

เริ่มจากปี 2544(2001) พัฒนาสุ่ผลการเจรจา และจัดทำกรอบความตกลงฯ ซึ่งผู้นำอาเซียนและจีนเห็นชอบในปี 2545 (2002) โดยครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดต่าง ๆ ถึงเดือนมิถุนายน 2552 (2009) มีการหารือ เช่น เพิ่มมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitry and Phytosanitary Measutes - SPS) ปัญหาอุปสรรคทางเทคนิคด้านการค้า (Technical Barriers to trade - TBT) ความตกลงด้านการลงทุนที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2552 ลงนาม เมือเดือนสิงหาคม 2552 และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดด้านการค้าบริการ

อาเซียน + ออสเตรเลีย + นิวซีแลนด์

ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (ASEAN - Australia - New Zealand Free Trade Agreement -AANZFTA)

ปี 2547 (2004) เริ่มการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซี่ยน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยเจรจาจัดทำล่าสุดในปี 2551 (2008) ด้วยผลการเจรจาที่ได้ข้อสรุปในภาพรวมระหว่างกันแล้ว ครอบคลุมทั้งด้านการค้า สินค้า บริการ และการลงทุน เช่น การค้าที่จะมีอัตราภาษีเป็นศูนย์ในปี 2556 (2013) แต่เป็นปี 2558 (2015) สำหรับสินค้าบางรายการ กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่ส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปแล้ว คงมีบางรายการที่ยังไม่ได้ข้อสรุป การค้าบริการที่สรุปได้แล้ว ทำนองเดียวกับการลงทุน โดยรัฐสภาไทยให้ความเห็นชอบก่อนลงนามเมื่อเดือนมกราคม 2552(2009) รัฐมนตรีเศรฐกิจของอาเซี่ยน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าจะมีผลใช้บังคับใได้ปลายปี 2552 หรือต้นปี2553 ซื้อหลายหน่วยงานอยู่ระหว่างดำเนินการรองรับการปฎิบัติตามความตกลง ก่อนให้สัตยาบันต่อไป ได้แก่ กรมศุลกากรปรับตารางภาษี กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศลดภาษี สินค้าที่มีโควต้านำเข้าและออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ซื้งสุดท้ายกระทรวงการต่างประเทศให้สัตยาบัน

อาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเีดีย

หุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซียน + 6 (Comprehensive Economic Partnership in East Asia - CEPEA)

เริ่มจากปี 2549 (2006)ญี่ปุ่นได้เสนอต่อ AEM + 3 ให้กลุ่ม EAS (East Asia Summit) ประกอบด้วย อาเซี่ยน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง CEPEA(comprehensive Economic Partnership in East Asia) ซื้งเป็น FTA ของอาเซียน + 6 ศึกษาและนำเสนอผลการศึกษา CEPTA Phase II ต่อ AEM ครั้งที่ 41 ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2552(2009) โดยผลการศึกษาให้ความสำคัญด้านความร่วมมือ ลดช่องว่างระดับการพัฒนาด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างความเข็มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises - SMEs) การจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก (East Asia Fund) เพื่อรองรับโครงการความร่อมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับกาัรพัฒนาต่อไป

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

อาเซี่ยน+3 (จีน เกาหลี และญี่ปุ่น)

เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area-EAFTA)

เริ่มจากปี 2542 (1999) เพื่อความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนา พัฒนาสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเซียตะวันออก (East Asia Free Trade Area - EAFTA) ในปี2527(2004) มีการศึกษา และนำเสนอผลการศึกษา EAFTA Phase II ต่อที่ประชุมให้ได้ศึกษาต่อไป โดยใน Phase II ได้ศึกษาเชิงลึกสาขาการผลิตที่สำคัญ ผลกระทบภาคการค้า บริการและการลงทุน ลำดับความสำคัญของภาคสาขาการผลิตหลัก สาขาอ่อนไหว ถิ่นกำเนิดสินค้า ความร่วมมือด้านการพัฒนา การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและบริการ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนจบ

ผลกระทบจากการจัดทำ FTA

การลด/เลิก อากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ส่งออก ด้ายราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ลดลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศน้อยลง ทั้งในด้านภาษีอากรและมาตรการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ทำนองเดียวกับประเทศคู่สัญญาในเรื่องของโอกาสที่มาพร้อมกับการแข่งขัน ผลกระทบที่จะเกิดจึงเป็นทั้งเชิงบวก และเขิงลบ ทั้งนี้ผู้ใดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปรงที่เร็วกว่า และไขว่คว้าโอกาสที่เปิดขึ้นนี้ได้มากกว่า ย่อมเป็นผู้จะได้รับประโยชน์สูงสุด

ความเป็นไปของ FTA แต่ละฉบับ

เหตุผลสำคัญในการเลือกประเทศเพื่อจัดทำ FTA ของไทย เช่น การรักษาศักยภาพในการส่งออก และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดสำัคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน(10 ประเทศประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ เวียดนาม บูรไน ลาว พม่าและกัมพูชา) อีกทั้งตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย กลุ่ม BIMSTEC (Bay of Bengal initative for multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation มีสมาชิก 7 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย) ประตูการค้าสู่ภูมิภาค ได้แ่ก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Europe Free Trade Association - EFTA) เม็กซิโก เกาหลี และกลุ่ม Mercosur (Mercado Comun del Sur ในภาษาเสปน หรือ Southern common Market ในภาษาอังกฤษหรือตลาดร่วมอเมริกาตอนล่าง มีสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย ชิลี โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา)

ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์

มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี

วารสารส่งเสริมการลงทุน

พ.ย.52

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนที่1

ว่าไปแล้วอันนี้ไม่เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยตรงนัก แต่ก็คิดว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวางแผนเชิงกลยุทธ์เช่นเดียวกัน

เขตการค้าเสรี (Free Trade Area-FTA) หรือความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) ไม่ใช่ของใหม่อีกแล้ว แม้หลายคนอาจไม่รู้จักก็ตาม เนื่องจาก FTA ฉบับแรกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area- AFTA) ซึ่งในปัจจุบันมี FTA อีกหลายฉบับตามมา ซื้งเราจะมาติดตามกันว่า แต่ละฉบับมีความเป็นไปอย่างไร รวมถึงจะได้มาทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และสาระสำคัญในการจัดทำ FTA และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วย

เป้าหมายการจัดทำ FTA
FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลื่อน้อยที่สุด สร้างการค้าเสรีมากยิ่งขึั้น ลด/เลิก อากรขาเข้า และมาตรการกีดกันทางการค้า่ต่าง ๆ ส่งผลใ้ห้เกิดการสร้าง และขยายโอกาสทางการค้า อีกทั้งเพิ่มพันธมิตรทางเศรษฐกิจ และยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการ ลด/เลิกอากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้าต่ำกว่าประเทศอื่นที่อยู่นอกกลุ่ม FTA

รูปแบบ FTA จะมีหลักเกณฑ์อย่างไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ประเทศคู่ัสัญญาตกลงกัน โดยที่ไทยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำ FTA ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งด้านการค้าอื่นที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measure -NTM) เช่น มาตรฐานสินค้านำเข้า มาตรการโควตา เป็นต้น ภายใต้เป้าหมายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ไม่สร้างอุปสรรคทางการค้ัาเพิ่ิม ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอ และมีตารางกรลดภาษี หรือเปิดเสรีพร้อมรายละเ้อียดสินค้าที่จะลดภาษี ลดอย่างไร และใช้เวลายาวนานเท่าไรในการลดภาษี

หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดทำ FTA ของไทย นอกจากกรอบที่กว้าง และครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอแล้ว ยังต้องมีความโปร่งใส เปิดให้สมาชิกองค์การค้าโลก (World Trade Organization - WTO) อื่นตรวจสอบความตกลง ได้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งมีมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในจากการเปิดเสรี เช่น มาตรการต่อต้านการอุดหนุน (Counter-vailing Duties - CVD) มาตรการปกป้อง (Safeguards) และกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าอย่างเ็ป็นธรรม เป็นต้น


ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี
วารสาร ส่งเสริมการลงทุน
พ.ย.52

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ