ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประเมินกลยุทธ์

การวางแผนและการปฏิบัติตามแผนเพื่อปรับปรุงความดึงดูดและจุดแข็งในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นกลยุทธ์สำคัญของผู้จัดการระดับบริษัท การวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทมีการกระจายธุรกิจจะต้องเริ่มสร้างแนวความคิด และวิธีการสำหรับบริษัทธุรกิจเดียว (Single-business) วิธีดำเนินงานสำหรับการวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทที่มีการกระจายธุรกิจคือ ต้องใช้การประเมินความดึงดูดของอุตสาหกรรม (Evaluating the attractiveness) ของบริษัทที่กระจายเข้าไป การประเมินจุดแข็งด้านการแข่งขัน (Evaluating the competitive strength) ศักยภาพการทำงานของธุรกิจ (performance potential) ตลอดจนการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ในการดำเนินการ ซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัทในปัจจุบัน (Identifying the present corporate strategy) บริษัทใช้การกระจายแบบสัมพันธ์กันหรือไม่สัมพันธ์กัน หรือประสม ลักษณะและจุดมุ่งหมายของการซื้อบริษัทตลอดจนการถอนตัวของบริษัท
2.การประยุกต์ใช้การทดสอบความดึงดูดในอุตสาหกรรม (Applying the industry attractiveness test) เป็นการประเมินสิ่งดึงดูดของอุสาหกรรมในระยะยาว
3.การประยุกต์ใช้การทดสอบจุดแข็งในการแข่งขัน (Applying the competitive strength test) เป็นการประเมินจุดแข็งด้านการแข่งขันของหน่วยธุรกิจของบริษัท เพื่อพิจารณาว่าหน่วยธุรกิจใดมีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมใดบ้าง
4.การประยุกต์ใช้การทดสอบกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Applying the strategic fit test) เพื่อพิจารณาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) และกลยุทธ์ที่เหมาะสมระหว่างธุรกิจที่มีอยู่
5.การประยุกต์ใช้การทดสอบทรัพยากรที่เหมาะสม (Applying the resource fit test) เพื่อพิจารณาจุดแข้งด้านทรัพยากรของบริษัท เปรียบเทียบกับความต้องการทรัพยากรในสายธุรกิจในปัจจุบันว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
6.การจัดลำดับธุรกิจจากสูงที่สุดสู่ธุรกิจต่ำที่สุด โดยพิจารณาจากพื้นฐานทั้งด้านประวัติผลการทำงาน และการคาดหวังในอนาคต (Ranking the business from highest to lowest on the basis of both historical performance and future prospects)
7
.การจัดลำดับหน่วยธุรกิจในรูปของความสำคัญก่อนหลังในการจัดการทรัพยากร (Ranking the business units in terms of priority for resourse allocation) เป็นการพิจารณาลักษณะของกลยุทธ์สำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจว่าควรขยายตัวเชิงรุก มีความแข็งแรง มีการป้องกัน ต้องการปรับปรุง ต้องเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความเจริญก้าวหน้า หรือการถอนตัวหรือไม่
8.การใช้ความชำนาญในกลยุทธ์ใหม่เพื่อปรับปรุงการทำงานทั้งหมดของบริษัท (Crafiting new strategic moves to improve overall corporate performance) การเปลี่ยนแลงกลุ่มธุรกิจ การซื้อธุรกิจใหม่ และ/หรือ การเลิกดำเนินงาน การปรับปรุงความร่วมมือระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ หรือหน่วยธุรกิจที่สัมพันธ์กันนั้น มีจุดมุ่งหมายคือ ต้องการบรรลุความสำเร็จ โดยมีการแบ่งปันต้นทุนมากขึ้น มีการถ่ายโอนทักษะและนำทรัพยากรของบริษัทเข้าสู่ขอบเขตที่ทำให้เกิดโอกาสมากที่สุด

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจ

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจ (Diversification strategies) การตัดสินใจที่จะกระจายธุรกิจ ต้องพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่จะกระจายนั้นเป็นธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กัน (Related businesses) หรือไม่มีความสัมพันธ์ (Unrelated businesses) กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม ธุรกิจมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการสร้างคุณค่า จะมีความสัมพันธ์กันเมื่อมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจที่ไม่มีความสัมพันธ์กันจะไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายการสร้างคุณค่า


เคลื่อนเข้าสู่การทำการกระจายให้ประสบความสำเร็จซึ่งจะรวมหนึ่งหรือมากกว่าของสิ่งต่อไปนี้
-การได้มาของธุรกิจ/การรวมหลายบริษัทเป็นบริษัทเดียว
(Acquistion/merger)
-เริ่มธุรกิจของตัวเองใหม่ (Start-up of own new businesses from scratch)
-ร่วมลงทุนกับหุ้นส่วน (joint venture partnerships)

จากรูป แสดงแนวทางของบริษัทที่สามารถเคลื่อนจากธุรกิจเดียวสู่ธุรกิจที่กระจายการรวมตัวในแนวดิ่ง อาจจะใช้การรวมตัวไปข้างหน้าหรือการรวมตัวไปข้างหลัง เพื่อสร้างตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกรงทางธุรกิจ โดยมีทางเลือกกลยุทธ์การกระจายขั้นสุดท้าย 6 ประการ ซึ่งแสดงในช่องสุดท้ายของรูป ดังนี้
1.การซื้อกิจการ (Acquistion) การเริ่มต้นใหม่ (Start-up) และการร่วมลงทุน (Joint ventures)
2
.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related businesses)
3
.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated businesses)
4
.กลยุทธ์การถอนตัว (Diversiture) และกลยุทธ์การเลิกดำเนินงาน (Liquidation)
5
.กลยุทธ์การปรับเปลี่ยน (Turnaround) กลยุทธ์การตัดทอน (Rerenchment) และกลยุทธ์การปรับโครงสร้างใหม่ (Restructuring)
6
.กลยุทธ์การกระจายเป็นบริษัทนานาชาติ (Multinational)

กลยุทธ์ 3 ประการแรก เป็นวิธีการกระจายธุรกิจ และ 3 ประการหลัง เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความแข็งแกร่งในตำแหน่ง และการดำเนินงานของบริษัทที่มีการกระจายเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้


1.กลยุทธ์สำหรับการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ (Strategies for entering new business) : การซื้อกิจการ (Acquisition) การเริ่มต้นใหม่ (Start-up) และ การร่วมลงทุน (Joint ventures) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 การซื้อกิจการของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว (Acquisition of an existing business) คือ การซื้อบริษัทอื่นโดยใช้ชื่อบริษัทของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายเพื่อกระจายเข้าสู่อีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ในการเข้าสู่ตลาดเป้าหมายใหม่ และสร้างตราสินค้าใหม่ วิธีนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต และเมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่พอก็จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่มีประสิทธ์ภาพและหน่วยต้นทุน ทีการใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ในการโฆษณาแนะนำสินค้า การส่งเสริมการตลาดเพื่อขยายตลาด การสร้างการจดจำตราสินค้า และการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางขึ้น ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก การเข้าสู่ฐานการเริ่มต้นภายใจจะต้องพยายามพัฒนาด้านความรู้ ทรัพยากร ขั้นการดำเนินงาน และตลาดที่มีชื่อเสียงที่จำเป็นเพื่อความเป็นผู้แข่งขันที่มีประสิทธิผล การซื้อกิจการของธุรกิจที่มีอยู่แล้วจะเป็นวิธีการสร้างตำแหน่งตลาดที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมใหม่ การซื้อบริษัทมักจะมีปัญหาในเรื่องเงินลงทุนในการซื้อกิจการ การซื้อกิจการที่มีความรู้ในอุตสาหกรรมเพียงเล็กน้อย แต่มีเงินทุนมากจะดีกว่าซื้อกิจการที่มีตำแหน่งทางการแข่งขันแข็งแกร่ง เพราะมีขีดความสามารถที่จะทำได้ ในอีกวิธีหนึ่งคือ การซื้อกิจการที่อ่อนแอของบริษัทที่แข็งแกร่งและมีทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน จะเป็นการแก้ปัญหาให้บริษัทที่อ่อนแอ

1.2 การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จากภายใน (Internal start-up) เป็นการสร้างบริษัทใหม่ภายในเครือข่ายของบริษัทเดิมเพื่อให้ความต้องการอุตสาหกรรมสมบูรณ์ขึ้น บริษัทที่วางรูปแบบองค์กรใหม่ไม่เพียงแต่ต้องเอาชนะอุปสรรคที่เข้ามา แต่ยังต้องลงทุนในการผลิตใหม่ พัฒนาแหล่งปัจจัยการผลิต ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน สร้างช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างฐานลูกค้าให้เติบโต ฯลฯ โดยทั่วไปการเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะดึงดูดใจในกรณีดังต่อไปนี้
1.มีเวลามากพอที่จะดำเนินงานจากพื้นฐานธุรกิจเดิม
2.มีต้นทุนต่ำกว่าการซื้อกิจการ
3.ทำให้บริษัทมีความพร้อมทุกทักษะที่จะแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิผล
4.การเพิ่มสมรรถณะด้านการผลิตจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในอุตสาหกรรม

1.3 การร่วมทุน (Joint ventures) เป็นการลงทุนร่วมกันของบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งเพื่อสร้างองค์การใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การร่วมลงทุนเป็นวิธีที่จะเพิ่มการเข้าถึงธุรกิจใหม่ใน 3 สถานการณ์ คือ
1).การร่วมลงทุนเป็นการเลี่ยงความเสี่ยงจากการไม่ประหยัดจากการทำธุรกิจเพียงบริษัทเดียว
2).การร่วมลงทุนเป็นการรวมทรัพยากรและความสามารถของบริษัท 2 บริษัทขึ้นไป เพื่อให้มีทรัพยากรมากขึ้น และมีจุดแข็งทางการแข่งขันในตลาด
3)
.การร่วมลงทุนกับหุ้นส่วนต่างประเทศเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้โควตาการนำเข้าประโยชน์ทางภาษี การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงตลาดของประเทศนั้น ๆ หุ้นส่วนภายในประเทศมักนำเสนอบริษัทภายนอกเกี่ยวกับผลประโยชน์ด้านความรู้ในท้องถิ่น การบริหาร บุคลากรการตลาด และการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างไรก็ตามผุ้ร่วมลงทุนของประเทศนั้น ๆมักมีปัญหาด้านการควบคุม การแบ่งงาน ตลอดจนมีความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วนต่างประเทศและภายในประเทศ

2.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification strategies) เป็นธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าทางทางการแข่งขัน (Competitive value) ของหน่วยธุรกิจ ให้สอดคล้องกันกับเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chains) มีการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน มีอำนาจการต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตมากขึ้น มีการร่วมการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนประกอบ การใช้กำลังแรงงานรวมกัน การใช้ความสะดวกในการจัดจำหน่าย โดยผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีกรายเดียวกัน การเชื่อมโยงกิจกรรมการบริการหลังการขาย การแสวงหาประโยชน์จากชื่อตราสินค้าหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายการสร้างคุณค่าที่คล้ายกันเพื่อให้เกิดต้นทุนต่ำ กลยุทธ์นี้ทำให้เกิดประโยชน์จากเครือข่ายการสร้างคุณค่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้ขายปัจจัยการผลิต กิจกรรมการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี การผลิต การขายและการตลาด หรือการจัดจำหน่าย
สิ่งที่ทำให้เกิดการกระจายธุรกิจสัมพันธ์กันเป็นกลยุทธ์ที่น่าดึงดูดใจ เนื่องจากสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยสามารถสร้างโอกาสได้ดังนี้
1) ส่งมอบความเชี่ยวชาญ ขีดความสามารถหรือเทคโนโลยีจากธุรกิจหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง
2) เชื่อมโยงกิจกรรมที่สัมพันธ์กันของธุรกิจที่แยกกันเข้าสู่การดำเนินงานเดียวเพื่อลดต้นทุน
3) สร้างชื่อเสียงตราสินค้าของบริษัทในธุรกิจใหม่
4) สร้างกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่าที่สัมพันธ์กันเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

การปฏิบัติการกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification in actual practice) มีดังนี้
1) การเข้าสู่ธุรกิจที่มีหน่วยงานการขาย การโฆษณา ชื่อตราสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้
2) การได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและความชำนาญที่สัมพันธ์ ผู้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ กระจายสู่ซอฟแวร์สำหรับการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PCs) สำหรับอิทราเน็ตของบริษัท
3) การถ่ายโอนความรู้และความเชี่ยวชาญจากธุรกิจหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จของร้านอาหาร Italian ต้องการลูกโซ่ความชำนาญเฉพาะด้านอาหาร Mexican
4)
การถ่ายโอนชื่อตราสินค้าและชื่อเสียงขององค์การไปยังผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เช่นผู้ผลิตยางรถยนต์ได้ลูกโซ่ศูนย์การดูแลรักษารถยนต์ที่มีความชำนาญในการซ่อมเบรคและเครื่องเก็บเสียง เป็นต้น
5) การซื้อธุรกิจใหม่จะช่วยสร้างตำแหน่งทางการแข่งขันของธุรกิจเดิมให้เป็นเอกลักษณ์ยิ่งขึ้น

กลยุทธ์ที่เหมาะสม การประหยัดจากขอบเขต และข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Strategic fit economies of scope and competitive advantage) กลยุทธ์ที่เหมาะสม (strategic fit) สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนี้
1) ลดต้นทุน
2) ส่งมอบทักษะ เทคโนโลยี ความชำนาญ และความรู้ด้านการบริหารจากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง
3) ใช้ชื่อตราสินค้าร่วมกัน
4)มีจุดแข็งด้านทรัพยากร และความสามารถทางการแข่งขัน

ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Strategic fit) จะใช้เครือข่ายการสร้างคุณค่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
1.เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Technology fits) ธุรกิจที่แตกต่างจะมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ประโยชน์ได้จากโอกาสในการร่วมมือระหว่างธุรกิจกับการมีส่วนร่วมในเทคโนโลยี ประกอบด้วย การประหยัดต้นทุน การพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มยอดขาย การถ่ายโอนเทคโนโลยีระหว่าธุรกิจ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธ์ผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรมที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยี
2.การดำเนินงานที่เหมาะสม (Operating fits) ธุรกิจที่แตกต่างกันจะมีการดำเนินงานที่เหมาะสมเมื่อมี
1)โอกาสที่จะรวมกิจกรรมหรือถ่ายโอนทักษะความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ
2)นำการวิจัยและพัฒนามาใช้
3)ปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นส่วนในการผลิต และการประกอบสินค้าสำเร็จรูป
4)หน้าที่ในการสนับสนุนการบริหารเพื่อช่วยเหลือหน้าที่อื่น ๆ

การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economies of scale) เป็นการประหยัดที่เกิดจากการรวมหลายกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาดการผลิตด้านเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมตามหน้าที่ หรือช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้
การประหยัดจากขอบเขต
(Economies of scope) เป็นการลดต้นทุนจากการรวมธุรกิจ 2 ธุรกิจขึ้นไปมาเป็นธุรกิจเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสการลดต้นทุนอันเนื่องมาจากเครือข่ายการสร้างคุณค่า

3.การจัดจำหน่ายและความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหมาะสม (Distribution and customer related fits) เมื่อผลิตภัณฑ์ใช้สำหรับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน มีการกระจายผู้จัดจำหน่ายและผู้ขายปลีกกลุ่มเดียวกันหรือมีวิธีทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาดที่คล้ายคลึงกัน ธุรกิจจึงความใช้กลยุทธ์ความเหมาะสมในความสัมพันธ์กับตลาด (Market-related strategic fit) เป็นการประหยัดจากขอบเขต (Economies of scope) ซึ่งเกิดจากกลยุทธ์ความเหมาะสมในความสัมพันธ์กับตลาด ดังนี้
1) การใช้หน่ายง่านขายหน่วยเดียวสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ (ทุกธุรกิจ) แทนการแยกหน่วยงานขาย
2) การโฆษณาที่เกี่ยวข้องกันโดยใช้โฆษณาและแผ่นพับเดียวกัน
3) การใช้ชื่อตราสินค้าร่วมกัน
4) การขนส่งร่วมกัน
5) การรวมหน่ายงานบริการหลังการขายและซ่อมแซมไว้ด้วยกัน
6) กระบวนการสั่งซื้อ
7) การส่งเสริมการขายรวมกัน เช่น การแจกคูปองแจกของตัวอย่าง กิจกรรมพิเศษ ฯลฯ
8) การรวมเคลือข่ายผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่าย

กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดการประหยัดด้านการตลาด การขาย และการจัดจำหน่าย นอกจากนี้การประหยัดจากขอบเขตยังได้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
1) การโอนทักษะการขาย
2) ทักษะการส่งเสริมการตลาด
3) ทักษะการโฆษณา
4) ทักษะด้ายความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากธุรกิจหนึ่งสู่อีกธุรกิจหนึ่ง
5) ชื่อตราสินค้าและชื่อเสียงของบริษัท

4.การบริหารที่เหมาะสม (Managerial fits) เป็นการถ่ายโอนการบริหารของธุรกิจไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง ซึ่งการถ่ายโอนความเชี่ยวชาญจะสามรถเห็นได้โดยทั่วไปในเครือข่ายการสร้างคุณค่า อย่างไรก็ตามอาจเกิดปัญหาจากการบริหารหรือการดำเนินงาน จึงจำเป็นต้องใช้ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการใจสายของธุรกิจหนึ่ง

การใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Capturing strategic fit benefits) สิ่งหนึ่งในการกระจายเข้าสู่ธุรกิจด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะสมและอื่น ๆ ก็เพื่อให้ตระหนักถึงผลประโยชน์ของการทำเช่นนั้น คือ เพื่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน ต้องรวมกันเข้าสู่หน่วยการดำเนินงานเดียวกัน และร่วมมือกัน หน้าที่การรวมและการร่วมมือสามารถนำมาซึ่งต้นทุนในการจัดการจากส่วนกลาง ซึ่งหน่วยธุรกิจต้องมีความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังต้องเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนทักษะหรือเทคโนโลยี

3.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated diversification strategies)
กลยุทธ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการกระจายอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ซึ่งเน้นถึงประโยชน์ทางการเงินที่ดึงดูดใจเป็นสำคัญ การกระจายเข้าสู่อุตสาหกรรมใด ๆ ด้วยโอกาสของกำไรที่ดีจากกลยุทธ์นี้ เกณฑ์ที่ใช้การค้นหาและคัดเลือกธุรกิจที่ต้องการกระจายบริษัทที่จะเข้ามาร่วมกิจการ มีดังนี้คือ
1) ธุรกิจสามารถสร้างกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามเป้าหมายหรือไม่
2) ธุรกิจใหม่ต้องการเงินทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์คงที่ การขยายเงินทุน และการหาเงินทุนหรือไม่
3) ธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตหรือไม่
4) ธุรกิจใหญ่พอที่จะสร้างประโยชน์ที่เพียงพอให้กับบริษัทแม่ได้หรือไม่
5) มีข้อกำหนดหรือกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคหรือไม่
6) อุตสาหกรรมมีอุปสรรคจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง หรือนโยบายของรัฐบาลหรือไม่

บางครั้งบริษัทใช้กลยุทธ์นี้โดยมุ่งที่ผู้ซื้อที่มีโอกาสจากผู้ซื้อกิจการที่ได้ประโยชน์ทางด้านการเงินในสถานการณ์เฉพาะอย่าง (Special situation) ของธุรกิจ 3 ชนิด ที่เป็นที่น่าดึงดูดใจ คือ
1) บริษัทที่มีสินทรัพย์ที่มีค่าต่ำกว่าราคาตลาด (Companies whose assets are undervalued)
2) บริษัทซึ่งมีความเดือดร้อนด้านการเงิน (Companies that are financially distressed)
3)
บริษัทซึ่งมีความมุ่งหวังด้านการเจริญเติบโต แต่มีเงินทุนไม่พอ (Companies that have bright growth prospects but are short on investment capital)

3.1 ข้อดีและข้อเสียของการกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (The pros and cons of unrelated diversification) มีหลายประการดังนี้
1) ความเสี่ยงของธุรกิจจะกระจายตามอุตสาหกรรมต่าง ๆกัน ซึ่งเป็นการดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงด้านการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กัน เนื่องจากการลงทุนของบริษัทสามารถขยายสู่ธุรกิจที่มีเทคโนโลยี การแข่งขัน ลักษณะตลาด และฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน
2) ทรัพยากรด้านการเงินของบริษัท เป็นข้อได้เปรียบสูงสุดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่คาดหวังว่าจะมีกำไรดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเงินสดจากธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่า สู่ธุรกิจที่เติบโตเร็ว และมีศักยภาพด้านกำไร
3) ความสามารถในการสร้างกำไรของบริษัทเป็นข้อพิสูจน์ว่าบริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น

จากการกระจายที่กว้าง ผู้จัดการบริษัทต้องมีไหวพริบปฏิภาณในด้านต่อไปนี้
1) สามารถแยกแยะบริษัทที่ดีออกจากบริษัทที่ไม่ดีได้
2) เลือกผู้จัดการที่มีความสามารถในการดำเนินงานในหลายธุรกิจได้
3)สามารถพิจารณากลยุทธ์ที่สำคัญของผุ้จัดการหน่วยธุรกิจได้
4) ต้องรู้ว่าจะต้องทำอะไร ถ้าหน่ายธุรกิจมีปัญหา

3.2 การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กันและการสร้างคุณค่าให้ผุ้ถือหุ้น (Unrelated diversification and shareholder value) การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันในทัศนะด้านการเงินคือ การสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น (Share holder value) เนื่องจากต้องใช้เครือข่ายการสร้างคุณค่าในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยต้อนทุนที่ต่ำกว่า การถ่ายโอนทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเพิ่มผลประโยชน์กลยุทธ์ที่เหมาะสมอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เหมาะสมระหว่างธุรกิจของบริษัท เข้าสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่จะไปสู่ธุรกิจสาขาที่สามารถบรรลุความสำเร็จได้ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่เพิ่มเข้ามา จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จโดยวิธีการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กันซึ่งเป็นสิ่งที่ผลักดันสู่การสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น
หลักของการกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันเป็นพื้นฐานการสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกเหนือจากการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันแล้ว จะต้องมีกำไรที่เพียงพอจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่ผู้จัดการระดับธุรกิจสร้างขึ้นมาได้ ดังนั้นกลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันจึงไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสม ถ้าผู้สร้างกลยุทธ์บริษัทไม่สามารถสร้างคุณค่าผู้ถือหุ้นโดยการได้บริษัทมา ซึ่งจะสร้างโอกาสการแข่งขันแบบรวมสำหรับธุรกิจสาขา
สำหรับการกระจายแบบไม่สัมพันธ์กันเพื่อส่งผลในการเพิ่มคุณค่าผู้ถือหุ้น กลยุทธ์บริษัทต้องมีทักษะที่ดีกว่า ในการสร้างและบริหารการกระจายธุรกิจที่เหนือกว่า มีดังนี้
1) สามารถทำงานที่ดีกว่าเมื่อกระจายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ
2) มีความสามารถเหนือกว่าในการเจรจาต่อรองราคาโดยการซื้อด้วยราคาต่ำ
3) มีความฉลาดพอที่จะขยายสาขาธุรกิจที่ซื้อมาก่อนหน้า ขณะที่กำลังทำกำไร
4) เปลี่ยนทรัพยากรการเงินของบริษัทเชิงรุกอย่างฉลาด และออกจากธุรกิจที่มองไม่เห็นกำไรหรือไม่มีโอกาสหสร้างกำไร
5) ทำงานในสาขาธุรกิจของบริษัทอย่างดี และช่วยบริหารธุรกิจนั้นเพื่อสร้างระดับที่สูงกว่า โดยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา การใช้กลยุทธ์แบบสร้างสรรค์ และการแนะนำด้านการตัดสินใจของผุ้จัดการระดับธุรกิจ

4.กลยุทธ์การถอนตัวและกลยุทธ์การเลิกดำเนินงาน (Divestiture and liquidation strategies) กลยุทธ์การถอนตัว (Divestiture) เป็นกลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลิกผลิต การเลิกกิจการ การตัดทอนการขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการขายบางส่วนหรือทั้งหมดขององค์การ ในกรณีที่ธุรกิจมีสภาพไม่ดี และไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายองค์การในระยะยาวได้ กลยุทธ์นี้จะใช้เมื่อบริษัทเห็นว่าไม่มีผลตอบแทนในการลงทุนที่จูงใจอีกต่อไปและหน่วยธุรกิจไม่สามารถทำงานได้ ความไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะว่ายากที่จะมองเห็นการดำเนินงานของธุรกิจใหม่ การกระจายธุรกิจที่ดี อาจกลายเป็นธุรกิจที่ไม่น่าสนใจในภายหลังได้ เมื่อเป็นเช่นนี้อาจมีคำถามว่าจะรักษาธุรกิจไว้หรือเลิกดำเนินงาน

กลยุทธ์การเลิกดำเนินงาน (Liquidation strategies) เป็นกลยุทธ์การตัดทอนบางรายการหรือการขายธุรกิจทั้งหมดเพื่อเลิกกิจการ กลยุทธ์นี้จะใช้เมื่อกิจการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงควรเลิกดำเนินงานให้เร็วที่สุด เพราะถ้ายิ่งมีหน่วยธุรกิจมากขึ้นในการกระจายกลุ่มธุรกิจของบริษัทก็ยิ่งมีโอกาสที่จะออกจากการเลิกดำเนินงานมากเท่านั้น การเลิกดำเนินงานเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ สำหรับธุรกิจเดียว แต่สำหรับอุตสาหกรรมที่ผสมหลายอย่าง (Multi-industry) หรือบริษัทที่ทำธุรกิจหลายอย่าง อาจประสงค์ที่จะเลิกดำเนินงานมากกว่าการถอนตัวออกไป คือต้องการปิดหรือเลิกดำเนินงานโรงงานและแผนกอื่น ๆ ขณะที่องค์การยังคงดำเนินงานต่อไป บางครั้งองค์การอาจดีขึ้นหลังจากการตัดบางหน่วยธุรกิจออกไป ในสถานการณ์ที่สิ้นหวัง การเลิกดำเนินงานธุรกิจที่ล้มเหลวจะเป็นการช่วยผู้ถือหุ้นให้ไม่ต้องล้มละลายจากการถอนตัวออกไป

5.กลยุทธ์การปรับเปลี่ยน (Turnaround strategies) กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment strategies) และกลยุทธ์การปรับโครงสร้างของรูปแบบธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (Restructuring strategies) กลยุทธ์เหล่านี้ใช้ในการกระจายธุรกิจแทนที่จะเลิกกิจการเพื่อทำให้กลุ่มธุรกิจอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น การดำเนินงานที่ไม่ดีเป็นสาเหตุให้เกิดการขาดทุนในหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งทำให้สภาพการเงินแย่ลง กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนจะเหมาะสมที่สุดเมื่อมีปัญหาด้านการเงิน ไม่ทำกำไร ภาระหนี้สิน ธุรกิจที่ทรุดตัวและไม่สามารถที่จะฟื้นตัวได้
5.1)กลยุทธ์การปรับเปลี่ยน (Corporate turnaround strategies) เป็นกลยุทธ์การรักษาบริษัทให้อยู่รอดด้วยการลดขนาดและต้นทุนที่ไม่สำคัญ และพัฒนาโครงการเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัท กล่าวคือ ผู้บริหารอาจลดค่าตอบแทนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ลดผลิตภัณฑ์และตลาดที่ไม่ทำกำไร ผู้บริหารที่ใช้กลยุทธ์นี้จะพยายามเพิ่มความพึงพอใจกับลูกค้าและปรับปรุงราคาเพื่อให้มีกำไรมากขึ้น
5.2)กลยุทธ์การตัดทอน (Corporate retrenchment strategies) เป็นการลดการดำเนินงานขององค์การ เนื่องจากมีปัญหาด้านการเงิน หรือมีอุปสรรคจากคู่แข่งขันใหม่ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือการปรับปรุงองค์การมักเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีธุรกิจมากเกินไป จึงมีความต้องการที่จะลดฐานธุรกิจให้แคบลง บางครั้งการปรับปรุงการกระจายธุรกิจอาจเป็นเพราะไม่สามารถสร้างผลกำไรได้แน่นอน หลังจากที่พยายามดำเนินธุรกิจด้วยความสับสนมาเป็นเวลานานหลายปีหรือขาดเงินทุนในสาขาของธุรกิจ
5.3)กลยุทธ์การปรับโครงสร้างใหม่ (Portfolio restructuring strategies) เป็นการปรับโครงสร้างของรูปแบบธุรกิจหรือผลผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิบัติงานในองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธ์ภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานด้วยการลดระดับการจัดการ การจัดหาบุคลากรจะเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การถอนตัว (Divestiture) และการซื้อธุรกิจใหม่ (New aequisition) เช่น ในช่วงเวลา 2 ปี บริษัทหนึ่งยุบหน่วยธุรกิจออกไป 4 หน่วย ปิดการดำเนินงานอีก 4 หน่วย และเพิ่มธุรกิจเข้ามาใหม่ในสายธุรกิจอีก 25 หน่วย
กลยุทธ์การปรับโครงสร้างใหม่สามารถทำได้ในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
1)เมื่อกลยุทธ์การปฏิบัติงานของบริษัทในระยะยาว กลายเป็นสิ่งไม่ดึงดุด เนื่องจากกลุ่มธุรกิจมีการเติบโตถดถอยหรือช้า และมีจุดอ่อนทางการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
2)เมื่อธุรกิจหลักหนึ่งธุรกิจขึ้นไปตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก
3)เมื่อประธานกรรมการบริหารระดับสูงคนใหม่เข้ามาบริหารและตัดสินใจที่จะปรับปรุงทิศทางใหม่
4)เมื่อมีเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นมา ทำให้กลุ่มธุรกิจต้องให้ความสำคัญเพื่อสร้างตำแหน่งในอุตสาหกรรมใหม่ที่ใหญ่กว่า
5)เมื่อบริษัทมีโอกาสที่ดีที่จะได้บริษัทใหญ่มา จึงทำให้ต้องขายหน่วยธุรกิจหลาย ๆ หน่วยที่มีอยู่เพื่อให้ได้เงินมาใช้ในบริษัทใหม่
6)เมื่อธุรกิจที่สำคัญ ๆ ในกลุ่มธุรกิจมีความไม่ดึงดูดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะผลักดันให้กลุ่มธุรกิจต้องปรับโครงสร้างใหม่เพื่อให้สามารถสร้างผลการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นที่พอใจในระยะยาว
7)เมื่อมีการเปลี่ยแปลงในตลาดและเทคโนโลยีของธุรกิจในทิศทางที่ดีขึ้น

6.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจเป็นบริษัทนานาชาติ (Multinational diversification strategies) เป็นการกระจายธุรกิจและกระจายตลาดต่างประเทศ ซึ่งผุ้จัดการบริษัทจะต้องมีการกระจายธุรกิจเป็นบริษัทนานาชาติเท่านั้น (Diversified Multinational Corporation (DMNC)) แต่จะต้องมีความคิดเห็นและบริหารงานด้วยกลยุทธ์มากมายหลายอย่าง อย่างน้อยที่สุดสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมจะมีสภาวะตลาดที่แตกต่างกันแต่ละประเทศหลาย ๆ ประเทศ และจะต้องมีความคิดท้าทาย ในการใช้กลยุทธ์ความร่วมมือของบริษัทข้ามอุตสาหกรรมและข้ามประเทศ จะสร้างความแข็งแกร่งในทรัพยากรและขีดความสามารถของบริษัท เพื่อฉวยโอกาสทางการแข่งขันและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในแต่ละธุรกิจและในตลาดต่างประเทศ
6.1)การเกิดขึ้นของการกระจายไปสู่นานาประเทศ (The emergence of multinational diversification) บริษัทนานาชาติ (Multinational Corporations (MNCs) เป็นบริษัทซึ่งผลิตสินค้าและบริการในหลายประเทศ และมีการจัดการใจกิจกรรมระดับโลกแยกจากสำนักงานใหญ่ (Bovee and others.1993:G-10) หรือหมายถึงบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศหนึ่งและมีการดำเนินงานในประเทศอื่นอีกหลายประเทศ (Weihrich and Koontz.1993:716) งานด้านการบริหารที่สำนักงานใหญ่จะรวมถึงหน้าที่ด้านการเงิน การถ่ายโอนเทคโนโลยี และการร่วมมือด้านการส่งออก กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การแข่งขันจะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพตลาดในแต่ละประเทศ และสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการเรียนรู้ ให้เกิดทักษะการถ่ายโอนความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้านการผลิต การสร้างชื่อตราสินค้า การตลาด และการบริหารจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะวิธีการบริหารที่มีมาตรฐานจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงได้
ระหว่างช่วงทศวรรษที่
1970 บริษัทของญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้ขยายเข้าสู่การค้าระหว่างประเทศ และเปิดตลาดทั้งในประเทศอุตสาหกรรม ประเทศพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา เนื่องจากมีการแข่งยันระดับโลก ดังนั้น อุตสาหกรรมที่ผลิตในประเทศจึงได้เปลี่ยนเข้าสู่การผลิตระหว่าประเทศและระดับโลก ซึ่งผลักดันให้เกิดการดำเนินงานข้ามประเทศเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการผลิตด้วยต้นทุนต่ำ ซึ่งการผลิตต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมากขึ้นเพื่อเพิ่มการประหยัดในระยะยาว และมีการใช้อุปกรณ์ที่สามารถทำงานด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนการเข้าไปตั้งโรงงานในประเทศที่ค่าแรงถูก เนื่องจากกลยุทธ์ระดับโลกจะมีการกำหนดราคาถ่ายโอนในการรวมการดำเนินงานสู่การผลิตที่มีกำไรสูงในประเทศที่มีภาษีต่ำ และกำไรน้อยในประเทศที่มีภาษีสูง นอกจากนี้ กลยุทธ์ระดับโลกยังทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ระยะเวลาการได้รับสินเชื่อ การช่วยเหลือจากรัฐบาล และการประกันการส่งออกของแต่ละประเทศน้อยกว่าบริษัทที่ผลิตและขายผลิตภัณฑ์ในประเทศเดียว ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจากการกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification) เพื่อสร้างตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกร่งขึ้น จากการกระจายธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมระดับโลก (Global industry) โดยใช้เทคโนโลยี เครือข่ายการสร้างคุณค่าที่สัมพันธ์กันจะทำให้เกิดการประหยัดจากขอบเขต (Economics of scope)
6.2)
แหล่งข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของ DMNC (Sources of competitive advantage for a DMNC) กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กันสู่อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันระดับโลก สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังต่อไปนี้
1)-การกระจายบริษัทนานาชาติสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยการถ่ายโอนความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลักสู่สายธุรกิจอื่นให้ได้รับความรู้และความสามารถด้านเทคนิคด้วย
2)-การกระจายบริษัทนานาชาติด้วยความเชี่ยวชาญ ในเทคโนโลยีหลักและธุรกิจครอบครัว โดยการใช้เทคโนโลยีนี้สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ในธุรกิจที่สัมพันธ์กัน

3)-การกระจายบริษัทนานาชาติด้วยธุรกิจซึ่งใช้ผู้จัดจำหน่าย ตัวแทนค้าปลีกระดับทั่วโลกเดียวกันจะทำให้
3.1)สามารถกระจายเข้าสู่ธุรกิจใหม่โดยการใช้ขีดความสามารถในการจัดจำหน่ายทั่วโลกด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
3.2)การใช้การจัดจำหน่ายที่สัมพันธ์กันกับการประหยัดจากขอบเขตซึ่งเป็นข้อได้เปรียบด้านต้นทุน หรือการกระจายของคู่แข่งที่มีน้อย
3.3)สามารถแสวงหาประโยชน์จากความสามารถในกาจัดจำหน่ายได้ทั่วโลก การกระจายเข้าสู่ธุรกิจที่มีโอกาสในการขายซึ่งจะทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตเป็นที่ดึงดูดในตลาดต่างประเทศ
3.4)สามารถเพิ่มการต่อรองกับผู้ค้าปลีกได้

4)-การกระจายบริษัทนานาชาติสามารถใช้ทรัพยากรด้านการเงินขององค์การจากการดำเนินงานในประเทศอื่น ซึ่งมีผลต่อตำแหน่งของตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น
5)-การกระจายบริษัทนานาชาติสามารถใช้ทรัพยากรด้านการเงินขององค์การจากการดำเนินงานในประเทศอื่น ซึ่งมีผลต่อตำแหน่งของตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น
6)-การกระจายบริษัทนานาชาติสามารถดึงทรัพยากรด้านการเงินในสายธุรกิจอื่นข้ามสาขาเพื่อการแข่งขันแบบรุกกับบริษัทนานาชาติในธุรกิจอื่น

ข้อได้เปรียบของ DMNC ที่ทำให้เกิดผลตอบแทนสูงและมีความเสี่ยงต่ำ ดังนี้
1)อำนาจการแข่งขันด้านการร่วมมือกันด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายโอนเทคโนโลยี (The competitive power of a collaborative R&D effort and technology transfer) ด้วยการร่วมมือกันในการใช้ทรัพยากรเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา/เทคโนโลยี จะทำให้หน่วยธุรกิจมีเงินทุนในการทำวิจัยและพัฒนาด้วยตนเอง DMNC สามารถรวมความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีหนัง ที่ก้าวหน้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้หากมีการกระจายอำนาจและลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาแล้ว จะทำให้บริษัทได้รับโอกาสที่ดีในตลาดผลิตภัณฑ์ของตนเอง

2)อำนาจการแข่งขันที่สัมพันธ์กับการจัดจำหน่ายและ การใช้ชื่อตราสินค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับ (The competitive power of related distribution and common brand name usage) DMNC มีกรกระจายเข่าสู่อุตสาหกรรมระดับโลก โดยมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่สัมพันธ์กัน และจะใช้ชื่อตราสินค้าที่มีชื่อเสียง ซึ่งสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้

3)อำนาจการแข่งขันโดยข้ามสาขาเพื่อทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ในบริษัทหนึ่ง (The competitive power of using cross-subsidization to outcomplete a one-business company) ธุรกิจครอบครัวที่มีการกระจายธุรกิจและใช้เกณฑ์ตลาดแบบบริษัทนานาชาติโดยใช้หลัก DMNC ในการสร้างจุดแข็ง อำนาจ และทรัพยากร เพื่อสร้างอำนาจใจระยะยาว จะสามารถต่อสู่กับคู่แข่งขันซึ่งมีเพียงธุรกิจเดียวได้ เพราะ ได้ประโยชน์ (กำไร) จากตลาดในประเทศต่าง ๆ และธุรกิจต่าง ๆ บริษัทภายในประเทศหนึ่งธุรกิจและบริษัทนานาชาติอีกหนึ่ง ธุรกิจทั้งคู่มีตำแหน่งที่อ่อนแอ เพื่อป้องกันตำแหน่งตลาดที่มีต่อ DMNC จึงจัดสินในสร้างตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกร่งระยะยาว

4)ผลกระทบของข้อได้เปรียบคืออำนาจ (The combined effects of these advantages is potent) บริษัทที่มีกลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน และธุรกิจแข่งขันทั่วโลกในแต่ละอุตสาหกรรมจะสามารถสร้างโอกาสจากข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ทำให้เอาชนะคู่แข่งขันภายในประเทศหรือคู่แข่งขันจากธุรกิจเดียวได้ ศักยภาพของข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดของ DMNC เกิดจากมาจากการรวมความพยายามในอุตสาหกรรมการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน การถ่ายโอนเทคโนโลยี การประหยัดจากขอบเขต และผลประโยชน์ของตราสินค้า

การรวมกลยุทธ์การกระจายแบบสัมพันธ์และไม่สัมพันธ์
การรวมกลยุทธ์การกระจายแบบสัมพันธ์และไม่สัมพันธ์
(Combination related-unrelated diversification strategies) การปฏิบัติที่แท้จริงของธุรกิจ ทำให้การกระจายบริษัทมีความแตกต่างกัน บริษัทที่มีการกระจายบางบริษัทเป็นองค์การธุรกิจที่มีลักษณะเด่น (Dominant-business enterprises) บริษัทที่กระจายธุรกิจบางบริษัทเป็นการกระจายแบบแคบ (Narrowly diversified) เพียง 2-5 บริษัท บริษัทที่กระจายบางบริษัทเป็นการกระจายอย่างกว้าง และมีช่วงกว้างทั้งธุรกิจที่สัมพันธ์และไม่สัมพันธ์ (Bradly diversified) และสถานประกอบการธุรกิจหลาย ๆ ชนิดมีการกระจายสู่เขตที่ไม่สัมพันธ์ แต่มีการรวมธุรกิจที่สัมพันธ์กันภายในแต่ละขอบเขต นอกจากนี้ ตลาดภูมิศาสตร์ของบริษัทที่มีการกระจายมีขอบเขตจากท้องถิ่นสู่เขต ประเทศ นานาประเทศและระดับโลก ดังนั้นบริษัทที่กระจายธุรกิจอาจจะมีการแข่งขันกันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประทศจนถึงระดับโลก

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ