สินค้าที่ตอบสนองด้านเวลาที่รวดเร็วกว่า จะมีอิทธ์พลต่อความสามารถของบริษัทในการเผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันของสภาพแวดล้อมได้
1.บริษัทที่ใช้เวลาตอบสนองต่อลูกค้าในตลาดต่ำที่สุด สามารถเหลี่กเลียงการต่อสู้แบบตัวต่อตัวได้
บริษัทที่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุ่งสินค้สใหม่ได้อย่างรวดเร็วมากว่าคุู่แข่งขัน มีส่วนช่วยทไให้คู่แข่งขันไม่มีสินค้าออกมาเทียบได้ ตัวอย่าง บริษัท Motoroia ได้ผลิตโทรศัพท์ขนาดกระเป๋าออกมาขายก่อนคู่แข่งขัน ซึ่งทำให้ Motorola สามารถผูกขาดตลาดโทรศัพท์ขนาดเล็ก (Miniature telephone)ในขณะที่คู่แข่งขันยังตามไม่ทัน
2.บริษัทที่รวดเร็วที่สุดสามารถกำหนดราคาสินค้าได้สูงกวาคู่แข่ง
ความรวดเร็วของ Mototola ในการผลิตสินค้าที่ใช้นวกรรม (Innovation) เป็นวิถีทางของการตลาดนั้นโดยปกติการคิดค้นประดิษฐ์สินค้าต้องทำให้ล้ำหน้ากว่าสิ่งที่คู่แข่่งขันใช้ดำเนินการอยุ่ บริษัทได้คาดหวังการกำหนดราคาสิค้าที่สูงสำหรับสินค้ารู่นใหม่และได้ปรับปรุ่งแล้ว (New and improved) สำหรับในตลาดอื่น บริษัทที่มีความรวดเร็วกว่าบริษัททั้งหลายอาจใช้สิทธิในการกำหนดราคาสินค้าที่สู่งได้โดยไม่ใช้วิธีการแนะนำสินค้ารูปแบบใหม่ (New types of product) แต่เลื่อกใช้วิธีการส่งมอบที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากกว่าคู่แข่งขัน
3.บริษัทที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วจะกระตุ้นให้ผู้ขายปัจจัยการผลิตตอบสนองเร็วขึ้นด้วย
การประสารงานระหว่างผุ้ผลิตกับผุ้ขาย ปัจจัยการผลิตมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็วและกลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดอำนาจต่อรองที่สูงกว่า (More bargaining power)ให่้แก่ผุ้เสนอขายปัจจัยการผลิต อย่างไรก็ตาม ในทางปฎิบัติ ผุ้เสนอการปัจจัยการผลิตที่ก้าวร้าว (Aggressive supplier) ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้โดยการตำเนินการด้วยการตอบสนองอย่างรวดเร็วในด้านสิ้งใหม่ ๆ ให้แก่บริษัททั้งหลาย และผู้เสนอขายปัจจัยการผลิตสามารถคงสิ่งใหม่ ๆ ของตนไว้ได้อย่างมากมาย ซึ่งการตอบสนองอย่างรวดเร็วไปยังลูกค้าด้วยวิธีนี้เป็นการสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ให้กับบริษัทตนเอง เป็นการสร้างความต้องการสินค้า (Demand) ที่เพิ่มขั้นโดยทางอ้อมให้แก่ลูกค้าของบริษัท
4.ผู้ตอบสนองอย่างรวดเร็วสามารถดำเนินการเกี่ยวข้องกับการคุกคามของบริษัทคู่แข่งขันรายใหม่
และสินค้าที่เข้ามาทดแทนได้โดยการเป็นผุ้นำด้านสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ด้วยบริษัทของตนเอง คู่แข่งขันที่มีความรวดเร็วต้องสามารถพัฒนาสินค้าได้อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งการคงความเป็นผุ้นำด้านสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถล้ำหน้าคู่แข่งขันรายใหม่และอยู่เหนือกว่าสินค้าทั้งหลายที่จะเข้ามาทดแทน
ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลจาก
การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ