ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (Inbound logistics)

เป็นกิจกรรมในการรับ การเก็บรักษา และการจัดการปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้ายและการรับคืนจากผู้ขาย การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลต่อการลดต้นทุน และการเพิ่มขึ้นในผลผลิต

การปฏิบัติการ(Operations)หรือการผลิต(Production)

จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องการเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย(Final product) ประกอบด้วยกิจการต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล การบรรจุภัณฑ์ สายการผลิต การรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การปรับปรุงกิจกรรม เหล่านี้จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธ์ภาพดีขึ้น ซึ่งมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อสภาพการณ์ใช้ของตลาด

กิจกรรมสนับสนุน

กิจกรรมสนับสนุน (Supporting activities) เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) การพัฒนาเทคโนโลยี(Techonology development) การจัดหาวัตถุดิบ(Procurement) และโครงสร้างพื้นฐานกิจการ (Firm infrastructure) ประกอบด้วย การจัดการทั้งไป การเงิน บัญชี ระบบข้อมูล กฏหมาย และความสัมพันธ์กับรัฐบาล นอกจากนี้ การจัดหากิจกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมพื้นฐานเพื่อให้เป็นกิจกรรมให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันกับกิจกรรมพื้นฐาน ตัวอย่าง ธุรกิจจะต้องมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผล โดยการสรรหา การคัดเลือก การให้รางวัล และการพัฒนาพนักงาน ตลอดจนมีการวิจัยพัฒนา (R&D) เพื่้อค้นหาถึงกิจกรรมเทคโนโลยีที่ จำเป็น
ประกอบด้วย
1.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
2.การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology development)
3.การจัดหาวัตถุดิบ (Procurement)
4.โครงสร้างพื้นฐานของกิจการ (Firm infrastucture)

กิจกรรมพื้นฐาน

กิจกรรมพื้นฐาน (Primary activities) เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ยอดขาย และส่งมอบไปยังผู้ซื้อและบริการภายหลังการขาย กิจกรรมเบื้องต้นประกอบด้วย
1.การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (inbound logistics)
2.การปฏิบัติการ (Operations) หรือการผลิต (Production)
3.การจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป (Outbound logistics)
4.การตลาดและการขาย (Marketing and sales)
5.บริการ (Services)

การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (Inbound logistics)

เป็นกิจกรรมในการรับ การเก็บรักษา และการจัดการปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้ายและการรับคืนจากผู้ขาย การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลต่อการลดต้นทุน และการเพิ่มขึ้นในผลผลิต

การปฏิบัติการ (Operations)หรือการผลิต (Production)
จะเกียวข้องกับกิิจกรรมที่ต้องการเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (final product) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล การบรรจุภัณฑ์ สายการผลิต การรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การปรับปรุงกิจกรรม เหล่านี้จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธ์ภาพดีขึ้น ซืังมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อสภาพการณ์ใช้ ของตลาด

การจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป (Outbound logistic)
เป็นการจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปออกสู่ตลาดซึ่งเป็นลูกค้าของธุรกิจ งานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการขนส่ง และกระบวนการปฎิบัติการตามคำสั่งซื้อ การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและระดับการให้บริการแก่ลูกคัาที่ดีขึ้น

การตลาดและการขาย (Marketing and sales)
กิจกรรมการตลาดและการขายของธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับปัญหา 4 ประการ คือ ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product mix) ราคา(Price) การส่งเสริมการตลาด(Promotion) และช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of distribution) โดยมุ่งที่ส่วนของตลาด ซึ่งธุรกิจกำหนดเป็นเป้าหมาย ตลอดจนความสลับซับซ้อนของกระบวนการผลิต ธุรกิจจะต้องตัดสินใจผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างแคบ หรืออย่างกว้าง ราคาซึ่งสามารถที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในสายตาของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีการวางแผนการโฆษณา และการใช้สื่อ ข้อสุดท้ายมีปัญหาที่สำคัญหลายประการ ในการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ควรจะจำหน่ายไปยังลูกค้าที่เป็นเป้าหมายอย่างไร ซื่งประกอบด้วยการประเมินความสำคัญที่เกี่ยวข้องกันของผู้จัดจำหน่ายเปรียบเทียบกับการขายโดยตรงโดยใช้ หน่วยงานขายและการพิจารณาทำเลที่ตั้งของช่องทางการค้าปลีก

การบริการ(services)
ผุ้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการให้บริการลูกค้า ซึ่่๋งถือว่าเป็นกิจกรรมสร้างคุณค่าที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ การให้บริการลูกค้าประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การติดตั้งการซ่อมแซม การฝึ่กอบรมลูกค้า การนำเสนออะไหล่และชิ้นส่วน การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ การให้คำแนะนำที่รวดเร็วสามารถตอบสนองการติชมของลูกค้า ในขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ ต้องการการฝึกอบรมลูกค้าให้ใช้สินค้าเป็น ดังนั้นจึงเกิดความจำเป็นในบริการ ให้คำบริการลูกค้าที่เหนื่อกว่า ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของบริษัท


วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างงานเพื่อการศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ

เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain analysis) เป็นโครงสร้างงานที่มีประโยชน์ในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างมีระบบ เพื่อฉวยโอกาสและกำจัดอุปสรรคในสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้บริหารต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนภายใจธุรกิจอย่างระมัดระวังในการวิเคราะห์ะเครื่อข่ายการสร้างคุณค่า สมมุติว่าธุรกิจมีจุดมุ่งหมายด้านเศรฐกิจพื้นฐานของธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่า (Value) ซึ่งวัดโดยรายได้รวมของธุรกิจ การวิเคราะห์เครือข่ายคุณค่า (Value chain analysis) ผู้บริหารจะต้องแบ่งกิจกรรมของธุรกิจออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าเพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรมที่จำเป็นเพื่อการออกแบบ การผลิต การหาตลาด การส่งมอบ และการให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ แต่ละกิจกรรมจะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ สนับสนุนผลิตภัณฑ์แต่ละกิจกรรม จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ละกิจกรรมเป็นแหล่งของการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
ซึ่งเครือข่ายการสร้างคุณค่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.กิจกรรมพื้นฐาน
2.กิจกรรมสนับสนุน

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน

สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน (Sings of competitive weakness)
ประกอบด้วย
1.เผชิญกับข้อเสียเปรียบทางการแข่งขัน
2.สูญเสียตลาดให้กับคู่แข่งขัน
3.ความเจริญเติบโตของรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
4.ขาดแคลนทรัพยากรทางการเงิน
5.ชื่อเสียงบริษัท(ผลิตภัณฑ์) ไม่ดีในสายตาลูกค้า
6.ไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และความสามารถในนวัตกรรมด้ายผลิตภัฒฑ์
7.กลยุทธ์ต่าง ๆ ใชัไม่ได้ผล
8.มีปัญหาในพื้นที่ที่เป็นตลาดส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพ
9.ผู้ผลิตใชัต้นทุนในการผลิตสูง
10.ธุรกิจขนาดเล็กเกินไปที่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในตลาด
11.ไม่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมที่จะขจัดอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
12.ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
13.ขาดทักษะด้านทรัพยากรและความสามารถทางการแข่งขันในเขตพื้นที่สำคัญ
14.ความสามารถในการจัดจำหน่ายอ่อนแอกว่าคู่แข่ง

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณของจุดแข็งทางการแข่งขัน

สัญญาณของจุดแข็งทางการแข่งขัน (Sign of competitive strength) ประกอบด้วย
1.จุดแข็งด้านทรัพยากรที่สำคัญ ความสามารถหลัก และความสามารถทางการแข่งขัน
2.ความสามารถที่โดดเด่นในกิจกรรมเครือข่ายการร้างในคุณค่าที่สำคัญทางการแข่งขัน
3.ส่วนครองตลาดแข็งแกร่ง หรือเป็นผู้นำตลาด
4.มีกลยุทธ์เหนื่อกว่าคู่แข่งขัน
5.มีฐานข้อมูลลูกค้าที่ดี ลูกค้ามีความภักดีต่อตราสินค้ามากขึ้น
6.ผลิตภัณฑ์,บริษัทเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในตลาด
7.กลุ่มกลยุทธ์ที่กำหนดเป็นที่น่าพอใจ
8.มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ดีในส่วนตลาดที่น่าสนใจ
9.มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างอย่างแข็งแกร่งและเหนือกว่าคู่แข่งขัน
10.มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน
11.มีกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
12.มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
13.มีการประกอบการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการที่ทันสมัย
14.มีตำแหน่งที่จะฉวยโอกาสทางการตลาดที่ดีขึ้นได้ทัน

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ลักษณะเชิงเศรษฐกิจที่มีผลต่อกลยุทธ์

1.ขนาดของตลาด (Market size) - ตลาดขนาดเล็กจะไม่จูงใจคู่แข่งขันรายใหญ่ หรือรายใหม่ ส่วนตลาดขนาดใหญ่จะดึงความสนใจของคู่แข่งขันให้เข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรม

2.อัตราความเจริญเติบโตของตลาด (Market growth rate) - ความเจริญเติมโตของตลาดที่รวดเร็ว จะจูงใจให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดใหม่ ความเจริญเติมโตที่ล่าช้าจะไม่จูงใจให้คูแข่งขันเข้าสู่ตลาด

3.สมรรถภาพส่วนเกินหรือความขาดแคลน (Capacity surpluses or shortage) - สมรรถภาพส่วนเกินจะดึงราคาและกำไรให้ลดลง ส่วนความขาดแคลนจะดึงราคาและกำไรให้สูงขึ้น

4.ความสามารถในการสร้างกำไรของอุตสาหกรรม (Industry profitability) - อุตสาหกรรมที่มีกำไรสูง จะจูงใจคู่แข่งขันใหม่ให้เข้าสู่ตลาด อุตสาหกรรมที่ตกต่ำจะทำให้คู่แข่งขันออกจากตลาด

5.อุปสรรคการเข้า/ออก (Entry/exit) barriers) - อุปสรรคระดับสูงจะป้องกันตำแหน่งและกำไรของธุรกิจที่ทำอยู่ อุปสรรคระดับต่ำจะทำให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดได้ง่าย

6.ผลิตภัณฑ์เป็นรายการที่ยิ่งใหญ่สำหรับผุ้ซื้้อ (Product is a big-ticket item for buyers) - ผู้ซื้อส่วนมากจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาต่ำที่สุด

7.ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Standardized products) - ผู้ซื้อจะมีอำนาจมากขื้น เนื่องจากจะเป็นการง่ายที่ผู้ซื้อจะเปลื่ยนการซื้อจากผู้ขายรายหนึ่งไปยังอีกรายหนึ่ง

8.การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว (Rapid technological change) - ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวก หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีแบบเก่าจะเปลี่ยนเป็นความล้าสมัย

9.ความต้องการเงินลงทุน (Capital requirements) - เงินทุนก้อนใหญ่ ต้องการการตัดสินใจในการลงทุนที่สำคัญ ต้องใช้ระยะเวลาซื่งเป็นอุปสรรคในการจะเข้าและออกจากธุรกิจ

10.การผสมผสานในแนวดิ่ง (Vertical integtaion) - จะเพิ่มความต้องการเงินทุน ซึ่่งสามารถสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน และความแตกต่างด้านต้นทุน

11.ความประหยัดจากขนาดการผลิต (Economies of scale) - จะเพิ่มยอดขายและส่วนครองตลาด เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านต้นทุน

12.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็ว (Rapid product innovation) - ทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น และเป็นการเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพยากรณ์สภาพแวดล้อม

การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และการพยากรณ์ด้านเทคนิค (Making use of infotmation analytical and forecasting techniques) เนื่องจากข้อมูลมีการสับสนมากขึ้นจึงต้องเปลี่ยนข้อมูลเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ และตัดสินใจในทางเลือกที่เหมาะสม การตัดสินใจเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอนาคตเรียกว่า เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting techniques) อาจใช้วิธีที่เรียกว่า เทคนิคเชิงพรรณา (Descriptive techniques) เป็นการจัดการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งผู้ตัดสินใจจะต้องดึงปัจจัยเกี่ยวกับอนาคตภายหลังการสำรวจข้อมูล การสำรวจข้อมูลโดยใช้เทคนิค วิธีการพยากรณ์ประกอบด้วย การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ (Correlation) เทคนิค Delphi (Delphi techniques) โมเดล Box-Jenkins การวิเคราะห์แนวโน้มฤดูการ(Seasonal trend) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Export opinion) สถานการณ์จำลอง (Simulation) เหล่านี้เป็นเทคนิคการพยากรณ์ที่สำคัญ

ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์(Strategic Infotmation System (SISs)) เป็นระบบซึ่งจัดหาปัจจัยนำเข้าเพื่อใช้ในการบวนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยจัดหาข้อมูลที่สำคัญ ถูกต้องด้านเวลาเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีระบบการจัดการข้อมูล (Management infotmation system (MIS)) หมายถึง ระบบข้อมูลข่าวสารซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้บริหารในการค้นหาข้อมุลเพื่อผลิดรายงานของงานประจำ และสามารถส่งข้อมูลตามความต้องการของผุ้บริหารเพื่อใช้ในการจัดการ โดยออกแบบและดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมุลดิบ (Data) เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) เพื่อการจัดการ

ตัวอย่าง
ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์เริ่มต้นจากธนาคาร ข้อมูลที่เป็นทางการจะเก็บข้อมูลที่จำเป็น และนำเสนอรายงานประจำและไม่ประจำเกียวกับเหตุการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยแสดงถึงสายงานของข้อมูลภายใน โดยถือเกณฑ์หน้าที่ ซึ่งแยกตามหน้าที่ แผนก หรือเกณฑ์อื่นที่จำเป็น ข้อมุลเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ซึ่งจัดหาข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ เช่น งบการเงิน รายงานการควบคุมต้นทุน รายงานการควบคุมคุณภาพ รายงานระดับสินค้าคงเหลือ รายงานการทำงานของแผน รายงานการขาดงาน และการหมุนเวียนเข้าออก

ขั้นตอนระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์ (Strategic infotmation sustem) มีขั้นตอนดังนี้
1.การวิเคราะห์และการพยากรณ์ โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารข้อมุ,ที่เป็นทางการ และแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ
2.การกำหนดจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งเป็นข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในและข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก
3.เสนอรายงานประจำและไม่ประจำ แก่ผู้กำหนดกลยุทธ์องค์การ
4.ผุ้กำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ใช้ข้อมูลเพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์มกำหนดภาระกิจ เป้าหมาย และนโยบาย

ความสัำคัญของการพยากรณ์ในการบริหารเชิงกลยุทธ์คือ ลดความไม่แน่นอนและช่วยการตัดสินใจสถานการณ์ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนบางประการ ซึ่งผุ้ตัดสินใจจะต้องพยายามระบุความไม่แน่นอน ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการความเสี่ยง (Risk analysis)

ปัญหาของการลดความไม่แน่นอน ประกอบด้วย การค้นหาความไม่แน่นอนในสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีผลกระทบ เพราะ ของเขตของกลยุทธ์ในระยะยาว มีความสับสนกันระหว่างแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่ และการตลาดปฏิบัติจริง หรือระหว่างการตัดสินใจ หรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์และการซื้อขาย ในช่วงเวลานี้การสมมุติหือข้อสมมุติซึ่งกลยุทธ์จะถือเกณฑ์ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์รวดเร็วประกอบอยุ่ในเวลาต่าง ๆ ความไม่แน่นอนจะสามารถลดลงได้ ผุ้บริหารเชิงกลยุทธ์จะต้องคุ้นเคยกับเทคนิคนี้ การพยากรณืในสิ่งสำคัญ ซึ่งในขณะที่โมเดลการวางแผนส่วนใหญ่จะสมมุติการพยากรณ์ที่เป็นไปได้

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวแปรสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโอกาสและอุปสรรค

1.อัตราโครงสร้างของอายุเด็ก (Childbearing rates)
2.จำนวนของกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ (Number of special interest groups)
3.อัตราการแต่งงาน (Number of marriages)
4.อัตราการหย่า (Number of divorces)
5.อัตราการเกิด (Number of dirths)
6.อัตราการตาย (Number of desths)
7.อัตรการย้ายเข้าและย้ายออกในเขตใดเขตหนึ่่ง (Immigration rates)
8.โปรแกรมความมั่นคงด้านสังคม (Social security programs)
9.อัตราความคาดหวังในชีวิต (Life expectancy rates)
10.รายได้ต่อหัว (Per capita income)
11.ทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีก การผลิต และธุรกิจบริการ (Location of retailing, manufacturing, and service businesses)
12.ทัศนคติต่อธุรกิจ (Attitudes toward business)
13.รูปแบบการดำรงชีวิต (Life-styles)
14.ปัญหาการจราจร (Traffic congestion)
15.สภาพแวดล้อมภายในประเทศ (Inner-city environments)
16.รายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ย (Average disposable income)
17.ค่านิยมที่มีต่อการใช้เวลาว่าง (Value placed on leisure time)
18.ความไว้วางใจในรัฐบาล (Trust in government)
19.ทัศนคติที่มีต่อรัฐบาล (Attitudes toward goverment)
20.ทัศนคติที่มีต่องาน (Attitudes toward work)
21.อุปนิสัยในการซื้อ (Buying habits)
22.ความคิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณ (Ethical concerns)
23.ทัศนคติที่มีต่อการออม (Attitudes toward saving)
24.บทบาททางเพศ (Sex roles)
25.ทัศนคติที่มีต่อการลงทุน (Attitudes toward investing)
26.ความเท่าเทียมกันด้านเชื้อชาติ (Racial equality)
27.การควลคุมอัตราการเกิด (Use of birth control)
28.ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ย (Average level of education)
29.การควบคุมของรัฐบาล (Goverment regulaiton)
30.ทัศนคติต่อการให้ออกจากงาน (Attitudes toward retirement)
31.ทัศนคติต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Attitudes toward product quality)
32.ทัศนคติด่อการใช้เวลาว่าง (Attitudes toward leisure time)
33.ทัศนคติต่อการให้บริการลูกค้า (Attitudes toward custumers service)
34.การควบคุมมลภาวะ (Pollution control)
35.ทัศนคติต่อชาวต่างประเทศ (Attitudes toward foreign peoples)
36.การประหยัดพลังงาน (Energy concervation)
37.โปรแกรมด้านสังคม (Social programs)
38.จำนวนของวัดและโบสถ์ (Number of temples and church)
39.จำนวนคนที่ไปวัดและโบสถ์ (Number of temples and chrch member)
40.ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility)
41.ทัศนคติที่มีต่ออำนาจหน้าที่ (Attitudes toward authority)
42.ทัศนคติที่มีต่ออาชีพ (Attitudes toward authority)
43.การเปลี่ยนแปลงของประชากรทางด้านเชื้อชาติ อายุ เพศ และระดับความมั่งคั่ง (Population changes by race,age,sex,and level of affluence)
44.การเปลี่ยนแปลงของประชากรทางด้าน เมืองหลวง จังหวัด รัฐ ภาค และประเทศ (Population changes by city,country,state.region,and country)
45.การเปลี่ยนแปลงในภาคต่าง ๆ ทางด้านรสนิยมและความพึงพอใจ (Regional changes in tastes and preferences)
46.จำนวนของแรงงานสตรีและผุ้เยาว์ (Number of women and minority workes)
47.จำนวนของโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ในแต่ละเขตภูมิศาสตร์ (Number of high school and college graduates by geographic area)
48.การหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพได้ (Recycling)
49.การจัดการลดความสูญเปล่า (Waste management)
50.การลดมลภาวะอากาศ (Air pollution)
51.ปัญหาน้ำเสีย (Water pollution)
52.ปัญหาการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ (Ozone depletion)

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม (Key economic variables to be monitored)
1.การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ (Changing economy)
2.ความสามารถในการจัดหาสินเชื่อ (Availablity of credit)
3.ระดับของรายได้บุคคล(propensity of credit)
4.อำนาจในการใช้จ่ายของบุคคล (Propensity of people to spend)
5.อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
6.อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
7.การประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economies of scale)
8.อัตราดอกเบี้ยของตลาดเงิน (Money market rates)
9.งบประมาณขาดดุลของรัฐบาล (Federal government budget feficits)
10.แนวโน้มผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross national product trend)
11.รูปแบบการบริโภค (Consumption patterns)
12.แนวโน้มการว่างงาน (Unemployment trends)
13.ระดับผลผลิตของแรงงาน (Worker productivity levels)
14.ค่าของเงินบาทและดอลล่าร์ในตลาดโลก (Value of the bath and dollar in world markets)
15.แนวโน้มของตลากหลักทรัพย์ (Srock market trends)
16.สภาพเศรษฐกิจของต่างประเทศ(Foreign countrie's econmic conditions)
17.ปัจจัยนำเข้าและส่งออก (Import/export factors)
18.การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสำหรับสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ (Demand shifts for different categories of goods and services)
19.ความแตกต่างของรายได้ในภาคค่าง ๆ และกลุ่มผุ้บริโภค (Income difference by region and consumer groups)
20.การเคลื่อนไหวของราคาสินค้า (Price fluctuations)
21.การส่งออกแรงงาน และเงินทุนเข้าในประเทศ หรือออกต่างประเทศ (Exportation of labor and capital from the U.S.)
22.นโยบายการเงิน (monetary policies)
23.นโยบายการคลัง (Fiscal policies)
24.อัตราภาษี (Tax rates)
25.นโยบายการรวมตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป (European Economic Community (ECC) policies)
26.นโยบายของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) policies)
27.การรวมกันของนโยบายประเทศที่ด้อยพัฒนา (Coalitions of Lesser Developed Countries (LDC) policies)

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมด้านสังคม วัฒนธรรม จรรยาบรรณ ประชากรศาสตร์ และส่งแวดล้อม

สภาพแวดล้อมด้านสังคมศาสตร์ วัฒนธรรม จรรยาบรรณ ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม(Social,cultural ,ethics,demographic,environmental) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมมีผลกระทบที่สำคัญต่อ ผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด และลูกค้า องค์การทั้งขนาดใหญ่เล็ก ทั้งที่มุ่งหวังกำไรและที่ไม่มุ่งหวังกำไรในทุกอุตสาหกรรมจะต้องได้รับอัทธิพล โดยอาจจะเกิดโอกาสและอุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าว

แนวโน้มของสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม จะกำหนดรูปแบบการดำรงชีวิต การทำงาน การผลิต และการบริโภค แนวโน้มใหม่ ๆ ทำให้เกิดรูปแบบของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่ความต้องการผลิตภัณฑ์และการบริการที่ต่างกัน ตลอดจนสร้างให้เกิดโอกาสและอุปสรรคต่อธุรกิจซึ่งนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ที่แตกต่างกันด้วย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจระดับโลกมีการแข่งขันและมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยทัศนะการจักการเชิงกลยุทธ์ใหม่ การรวมตัวกันของยุโรป ในปี 1992 ทำให้เกิดการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอำนาจทางการเงินสูงสุด

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดขึ้นในเม็กซิโก บราซิล ตะวันออกกลาง รัสเซีย จีน และเยอรมณี ลักษณะการเปลี่ยนแปลงหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมภายใน โดยใช้ความพยายามที่จะสร้างความมั่งคั่ง การพิจารณาเหตุการณ์ภายในประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมปัจจุบันและวิวัฒนาการด้านเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออก ตัวอย่าง ธุรกิจสหรัฐอเมริกาจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ความสามารถของธุรกิจสหรัฐที่ทำการค้ากับประเทศเหล่านี้มีขอบเขตจำกัด เพราะว่าการค้ากับประเทศเหล่านี้เป็นสิ่งที่ลดอัตราแลกเปลี่ยนสภาพคล่อง ซึ่งไม่มีค่านิยมภายนอกขอบเขต ดังนั้นส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ขาดโครงสร้างที่จะให้การสนับสนุนความประหยัดในตลาด ปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดลูกค้าที่ศักยภาพและแหล่งวัตถุดิบของสหรัฐอเมริการ จึงมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในการค้าต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจเกิดจากการบริหารประเทศของคณะรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง การใช้งบประมาณขาดดุลเหล่านี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากเกินไปนในระบบเศรฐกิจ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ นโยบายการเงินของรัฐอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการว่างงาน ตัวอย่าง ในช่วงกลางปี 2539 รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาจะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยงแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมการกระจายธุรกิจ นโยบายการผลิต การเงิน การตลาด เป็นต้น

การเป็นธุรกิจระดับโลกเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ปัญหาที่ธุรกิจจะต้องเผชิญในการเพิ่มอิสระให้กับต่างประเทศ ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ความแตกต่างด้ายความต้องการของผู้บริโภค ระบบภาษี การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อุปสรรคด้านภาษี อุปสรรคทางการค้า ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีปัญหาเดือนร้อนจากการจัดการที่มีจำกัด และการขาดโครงสร้างสาธารณูปโภค ความลำบากเหล่านี้จะนำไปสู่ธุรกิจที่จะพัฒนาประเทศ

สภาพแวดล้อมระดับโลก

สภาพแวดล้อมระดับโลก(The global environment) ในปัจจุบันองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมีการขยายของเขตการปฏิบัติงานสู่ตลาดต่างประเทศ ความพยายามด้านการผลิต และการตลาดของบริษัทขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นระดับโลก (Golbalized) แนวโน้มนี้ทำให้เกิดการค้นหาวิธีการขนส่งที่ถูกกว่าและรวดเร็วกว่า การติดต่อสื่อสารที่มีอำนาจมากว่าและความคล้ายคลึงกันในรสชาด และการบริโภคของบุคคลในประเทศต่าง ๆ ดังนั้นจึงงายสำหรับบริษัทที่จะทำให้ได้ทุนคืนจากการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในตลาดระดับโลก ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันที่มีศักยภาพจากภายในประเทศและคู่แข่งขันระหว่างประเทศ การศึกษาถึงแนวโน้มเหล่านี้มีผลกระทบต่อองค์การซึ่งมีตลาดระหว่างประเทศ แนวโน้มซึ่งมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกก็คือการเกิดขึ้นของกลุ่มที่ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่นประชาคมเศรษฐกิจยุโรป กลุ่มประเทศOPEC สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ASEAN เป็นต้น

การร่วมมือเชิงกลยุทธ์จะเป็นสิ่งที่นิยมในระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียง โดยการสร้างการร่วมมือกันเชิงกลยุทธ์ได้กลายเป็นที่นิยมของบริษัทข้ามชาติ ที่มีชื่อเสียงเพื่อที่จะประเมินตลาดในประเทศอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการรับศิลปะและเทคโนโลยีต่าง ๆ

การประเมินสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี

เราจะต้องรู้และเข้าใจองค์ประกอบเหล่านี้ก่อน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
1.เทคโนโลยี่ภายในบริษัทคืออะไร
2.เทคโนโลยีซึ่งมีประโยชน์สำหรับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ วัสดุ ส่วนประกอบ และอะไหล่ ต่าง ๆ คืออะไร
3.ความสำคัญของเทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจแต่ละผลิตภัณฑ์ คืออะไร
4.เทคโนโลยีอะไรบ้างที่ใช้ในอะไหล่และวัตถุดิบ
5.เทคโนดลยีภายนอกที่สำคัญคืออะไร
6.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในช่วงเวลาหนึ่งเป็นอย่างไร บริษัทใดมีความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอะไรบ้าง
7.แนวโนม้วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในอนาคตคืออะไร
8.การลงทุนในเทคโนโลยีในช่วงเวลาหนึ่งเป็นอย่างไร บริษัทใดมีความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบ้าง
9.การลงทุนและรูปแบบการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีของคุ่แข่งขันคืออะไร
10.การลงทุนในผลิตภัณฑ์และกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ สำหรับธุรกิจและคู่แข่งขัน การออกแบบ การผลิต การปฎิบัติและการให้บริการควรทำอย่างไร
11.การจัดลำดับของธุรกิจต่าง ๆ ที่ใช้แต่ละเทคโนโลยีเป็นอย่างไร
12.ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจคืออะไร
13.ส่วนที่เป็นอะไหล่และส่วนประกอบของผลิลภัณคืออะไร
14.ต้นทุนและโครงสร้างมูลค่าเพิ่มของอะไหล่ ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ และธุรกิจคืออะไร
15.การทำงานด้านการเงินและการบริหารเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีการประยุกต์ใช้แนวโน้มนี้หรือไม่ การสร้างเงินสดและลักษณะการแสวงหาผลประโยชน์ ความต้องการด้านการลงทุน ความเจริญเติมโต ตำแหน่งของตลาด และส่วนครองตลาดเป็นอย่างไร
16.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจคืออะไร
17.ในปัจจุบันธุรกิจใดมีส่วนร่วมในเทคโนโลยีแบบใดบ้างและเพราะเหตุใด ธุรกิจใดที่ไม่มีส่วนร่วม และเพราะเหตุใดจึงไม่มีส่วนร่วม
18.สิ่งจูงใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นโอกาสในการลงทุนเพื่อทำให้เกิดความเจริญเติมโตด้านตลาด ศักยภาพในการปรับปรุงกำไร และศักยภาพในการเพิ่มความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เป็นอย่างไร
-ถือเกณฑ์ลักษณะความเจริญเติมโต
-วิวัฒนาการความต้องการของลุกค้า
-ส่วนของตลาดในปัจจุบันที่เกิดขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตของตลาด
-ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ทางการแข่งขันและกลยุทธ์ของคู่แข่งขันที่สำคัญ
19.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สำคัญของธุรกิจต่าง ๆ เป็นอย่างไร
20.เทคโนโลยีอะไรบ้างที่มีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้
21.เทคโนโลยีจะแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละการประยุกต์ใช้
22.การแข่งขันในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างไร การพิจารณาการทดแทนกันเป็นอย่างไร
23.ระดับของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเทคโนโลยีต่าง ๆ คืออะไร
24.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจควรพิจารณาอะไรบ้าง
25.ความสำคัญในการลงทุนในการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีคืออะไร
26.ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีที่ต้องการสำหรับธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
27.ระดับและอัตราการลงทุนด้านเทคโนโลยีของบริษัทเป็นอย่างไร
28.การลงทุนด้านเทคโนโลยีควรมีการจำกัดหรือไม่ อย่างไร
29.เทคโนโลยีที่ต้องการใช้เพิ่มเติมมีอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจในปัจจุบัน
30.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการจัดสรรทรัพยากรสำหรับธุรกิจ สำหรับกลยุทธ์ของบริษัทคืออะไร

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี

เทคโนโลยีและนวกรรม(Technology and innovation) ธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขาย วิธีการบริโภคของคนล่าสุดอาจจะต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เนื่องจากธุรกิจขึ้นอยุ่กับเทคโนโลยีอย่างมากจึงต้องคอยติดตามสิ่งใหม่ ๆ ทางด้านเทคโนโลยีจากคู่แข่งขัน ความไม่ต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดปัญหาสำหรับผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ดังนั้นธุรกิจจะต้องจัดระบบ คอยติดตามสภาพแวลล้อมทางเทคโนโลยี

อุตสาหกรรมที่สำคัญในประเทศที่ขึ้นกับเทคโนโลยี ได้แก่ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข เครื่องบิน โรงงาน เครื่องเลเซอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เครื่องจักรถ่ายภาพ เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญจะสามารถสร้างอุตสาหกรรมใหม่ด้วย เช่น อุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมถ่ายภาพ ธุรกิจจะต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีของคู่แข่งขัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความพยายามของธุรกิจในการพยากรณ์เทคโนโลยี กระบวนการนี้จะเกี่ยวข้องกับวิจารณญาณในการพยากรณ์เทคนิคต่าง ๆ การพยากรณ์เทคโนโลยีเป็นสิ่งยากที่จะถูกต้อง ผู้บริหารการจัดการเชิงกลยุทธ์จะต้องทำให้ดีที่สุดนี่คือเหตุผลที่ว่าการกลั่นกรองสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ Apple ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในระบบ Macimtosh เทคโนโลยีนี้ทำให้ Apple มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลอดระยะเวลา 5 ปี คอมพิวเตอร์สามารถที่จะสร้างลักษณะเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์ในระยะสั้นและมีนวกรรมมากขึ้นในช่วงระยะยาว

เทคโนโลยีและความรับผิดชอบต่อสังคม(Technology and social responsibility) ในขณะที่เทคโนโลยีมีความสำคัญในความสำเร็จของธุรกิจทำให้เกิดปัญหาหลายบริษัทเช่นกัน ผลลัพธ์จากเทคโนโลยีใหม่บางครั้งจะทำลายสภาพแวดล้อม ทุกองค์การซึ่งไม่ใช่เฉพาะธุรกิจจะต้องประเมืินผลกระทบของธุรกิจต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ผลกระทบจากนิวเคลียร์ทั้งด้านรัฐบาลและเศรษฐกิจ มลพิษจากน้ำมันที่มีสารตะกั่ว มลพิษจากอาหาร วัสดุเคมี ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านสุขภาพซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบต่อบุคคล เช่นโรคมะเร็งและโรคต่าง ๆ ในอัตราสูงขึ้นกว่าปกติซึ่งเกิดจากปัญหาขยะมูลฝอย กลยุทธ์อุตสาหกรรมจะต้องตอบสนอง และแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ด้วย ต้องศึกษาความต้องการของสังคมและคุณภาพชีวิต ถ้าธุรกิจล้มเหลวปัญหานี้จะทำให้เกิดปัญหาต่อสังคมในภายหลัง

บทบาทของธุรกิจมีมากกว่าการผลิตหรือการขายสินค้า นอกเหนื่อจากการปฎิบิติตามกฎหมายแล้วธุรกิจจะต้องมีความมุ่งหมายด้านศีลธรรมและจรรยาบรรณ ตลอดจนมีส่วนร่วมในโครงการมนุษยชาติ เพื่อที่จะเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม(socialy responsibly corporate systems) ธุรกิจต้องเรียนรู้ว่าจะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะกลุ่มสำคัญที่มีอิทธิพล ผู้ที่มีผลประโยชน์ในองค์การและกลุ่มที่มีความกดดันที่สำคัญต่อธุรกิจ

การคำนึงถึงค่านิยมด้านศีลธรรม(Moral values) อิทธิพลด้านสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งเป็นข้อจำกัดของธุรกิจ ธุรกิจจะต้องมีกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง กับความรับผิดชอบทางด้านสังคม ได้ร่วมพัฒนาสังคมและหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ต้องพัฒนาการทำงานด้านสังคม การตอบสนองต่อสังคม โดยอาจจะมีรองประธานฝ่ายนโยบายด้านสภาพแวดล้อม

การวิเคราะห์คู่แข่ง

ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์เราจำเป็นต้องรู้จักคู่แข่งขันด้วย ซึ่งหลักในการวิเคราะห์คู่แข่งต้องทราบถึง
1.จุดแข็งของคุ่แข่ง
2.จุดอ่อนของคุ่แข่ง
3.วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของคู่แข่ง
4.คู่แข่งที่สำคัญมีการตอบสนองต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง รัฐบาล เทคโนโลยี และแนวโน้มการแข่งขันที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเป็นอย่างไร
5.จุดอ่อนของคู่แข่งขันเป็นโอกาสต่อกลยุทธ์บริษัทคืออะไร
6.จุดอ่อนของกลยุทธ์บริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันคืออะไร
7.ตำแหน่งผลิตภัณฑ์หรือบริการเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งคืออะไร
8.ของเขตของธุรกิจใหม่ที่เข้ามาในอุตสหกรรมและที่ออกจากอุตสาหกรรมคืออะไร
9.ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อตำแหน่งทางการแข่งขันในปัจจุบันในอุตสาหกรรมคืออะไร
10.การจัดลำดับยอดขายและกำไรของคู่แข่งขันที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมคืออะไร สาเหตุซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในการจัดลำดับเหล่านี้
11.ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผุ้ขายและผู้จัดจำหน่ายในอุตสาหกรรมคืออะไร
12.ขอบเขตของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทดแทนได้ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคในอุตสาหกรรมคืออะไร

ข้อมูลที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การแข่งขัน

1.การออกแบบแนวความคิด
ประกอบด้วย
ทรัพยากรด้านเทคนิค-แนวความคิด สิทธิบัตรและลิขสิทธ์ต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยี การประสมประสานด้านเทคนิค
ทรัพยากรมนุษย์-พนักงานที่สำคัญและความชำนาญเฉพาะด้าน การใช้กลุ่มเทคนิคภายนอก
เงินทุน-ยอดรวม เปอร์เซนต์ของยอดขาย ความสม่ำเสมอของแต่ละช่วงเวลา เงินทุนภายใน การนำเสนอโดยรัฐบาล

2.ทรัพยากรทางกายภาพ
ประกอบด้วย
โรงงาน-สมรรถภาพ ขนาด ที่ตั้ง อายุ
อุปกรณ์-ความเป็นอัตโนมัติ การบำรุงรักษา ความยึดหยุ่นได้
กระบวนการ-ความเป็นเอกลักษณ์ ความยืดหยุ่นได้
ระดับการประสมประสานทรัพยากรมนุษย์-บุคคลที่สำคัญและทักษะ สหภาพแรงงาน การหมุนเวียนเข้าออก

3.การตลาด
ประกอบด้วย
หน่วยงานขาย-ทักษะ ขนาด รูปแบบ ทำเลที่ตั้ง
การวิจัยเครือข่ายในการจัดจำหน่าย-ทักษะ รูปแบบ
นโยบายการให้บริการและการขาย-การโฆษณา รุปแบบ ทักษะ
ทรัพยากรมนุษย์-บุคคลที่สำคัญและทักษะ การหมุนเวียนเข้าออก
การทำเงิน-ยอดขายรวม ความสม่ำเสมอในแต่ละช่วงเวลา เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ระบบการให้รางวัล

4.การเงิน
ประกอบด้วย
การเงินระยะยาว-อัตราส่วนหนี้สิน/ทุน ต้นทุนของหนี้
การเงินระยะสั้น-ชนิดของสินเชื่อ-รูปแบบของหนี้ ต้นทุนของหนี้ การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ การบันทึกทางบัญชี
ทรัพยากรมนุษย์-พนักงานสำคัญและทักษะ การหมุนเวียนเข้าออก
ระบบ-งบประมาณ การพยากรณ์ การควบคุม

5.การบริหาร
ประกอบด้วย
พนักงานสำคัญ-วัตถุประสงค์และลำดับความสำคัญ ค่านิยม ระบบการให้รางวัล
การตัดสินใจ-ทำเลที่ตั้ง รุปแบบ อัตราความเร็ว
การวางแผน-รูปแบบ การมุ่งความสำคัญ ช่วงเวลา
การจัดบุคคลเข้าทำงาน-อายุงานและการหมุนเวียนเข้าออก ประสบการณ์ นโยบายที่ทดแทน
การจัดองค์การ-การรวมอำนาจ หน้าที่ การใช้พนักงาน

ลักษณะการเกี่ยวข้องกันของสภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน

สภาพแวดล้อมทั่วไป(General environment) มีหลายด้าน
1.ประชากรศาสตร์
2.การเมืองและกฎหมาย
3.เศรษฐกิจ
4.เทคโนโลยี
5.สังคมวัฒนธรรม
6.ความเคลือนไหวหรือกระแสโลก

ทั่งหกประการที่กล่าวมาข้างต้นจะมีผลซึ่่งกันและกันต่อสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน(Competitive environment) ซึ่งประกอบด้วย
1.อุปสรรคจากคู่แข่งขันใหม่
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
4.อุปสรรคของผลิตภัณฑ์
5.การชิงดีชิงเด่นในการแข่งขัน

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมการแข่งขัน

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมการแข่งขัน (Interrelationships between the general and competitive environments) มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง ตัวอย่าง ในการพัฒนาเศรษฐกิจจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและกาเคลื่อนไหวของสภาพทางการเงิน จะมีผลกระทบที่สำคัญต่อลักษณะของความต้องการซื้อ และความสามารถในการสร้างกำไรของหลายอุตสาหกรรม กิจกรรมการรวมกลุ่มของธุรกิจภายในอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อตัวชี้ด้านภาวะเศรษฐกิจมหภาค

แต่ละส่วนของสภาพแวดล้อมทั่วไปจะมีผลกระทบที่รุ่นแรงต่อแรงกดดัน 5 ประการ ซึ่งพิจารณาลักษณะของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ตัวอย่าง
1.การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน - การลดลงของกลุ่มวัยรุ่นในตลาดแรงงาน เช่น สวนหย่อม สวนสนุก ห้างสรรพสินค้า และภัตตาคารธุรกิจฟาสต์ฟู้ด จะเผชิญในการขาดแคลนแรงงาน ดังนั้นกลุ่มวัยรุ่น วัยเด็ก และวัยทำงานช่วงต้น จะสามารถต่อรองงานที่จูงใจได้มากขึ้นและมีค่าจ้างที่ดีขึ้น
2.การพัฒนาด้านเทคโนโลยีภายนอกอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบต่อศักยภาพความเจริญเติบโตการปรับปรุงทางการทำงานและการลดลงของต้นทุน
3.การพัฒนาระดับโลกเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อการกำหนดการบริหารเชิงกลยุทธ์ของบริษัท การประยุกต์ใช้โมเดลแรงกดดัน 5 ประการ ขึ้นกับอิทธิพลของสภาวะแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน

สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน

สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน(The competitive environment) ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงานหรืออุตสาหกรรม (Task or industry environment) ความสามารถในการสร้างกำไรของธุรกิจและลักษณะของการแข่งขันในอุตสาหกรรมมีทิศทางโดยตรงต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ประกอบด้วย ปัจจัยที่มึความสำคัญต่อกลยุทธ์ของธุรกิจประกอบด้วยคู่แข่งขัน(ที่มีอยุ่เดิมและที่มีศักยภาพ) ลูกค้า และผู้ขายปัจจัยการผลิต ตัวอย่าง ประกอบด้วยความคิดในการประสมประสานไปข้างหน้า (Forward integration) เช่น ผู้ผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ต้องการขยายตัวโดยขยายสาขาจำหน่ายรถยนต์หรือบริษัทที่ให้เช่ารถยนต์หรือธุรกิจที่แตกต่างกันในอุตสาหกรรมอย่างสิ้นเชิงในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันซึ่งใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมทั่วไป

สภาพแวดล้อมทั่วไป (General environment) ประกอบด้วยปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบที่สำคัญต่อกลยุทธ์ของธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมทั่วไปได้ ดังนี้นการพัฒนาด้วยตัวเองในสภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นสิ่งลำบากที่จะพยากรณ์ถูกต้อง สภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วย ส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ 1.ประชากรศาสตร์ 2.สังคมวัฒนธรรม 3.การเมืองและกฎหมาย 4.เทคโนโลยี 5.เศรษฐกิจมหภาค 6.ระดับโลก

การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวลล้อมทั่วไป จะทำให้เกิดอุปสรรคในการทำธุรกิจได้ ตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อความต้องการซื้อบ้านและรถยนต์ สภาพแวดล้อมจากคู่แข่งขันจะพิจารณาถึงลักษณะการแข่งขันระหว่างธุรกิจในอุตสาหกรรม ผู้บริหารจะอิทธิพลเหนือสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน การพัฒนาแนวโน้มในสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันจะใช้ในการคาดคะเนเกี่ยวกับระดับความถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงจะแตกต่างกันอย่างมาก

สภาพแวดล้อมทั่วไปจะเปลี่นแปลงขอบเขตของอุตสาหกรรม เงื่อนไขข้อกำหนดด้านการเงิน การติดต่อสือสารและอุตส่าหกรรมการเงินต่าง ๆ สภาพแวดล้อมซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นโอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาจจะนำไปสู่ผลกระทบด้านด้านตรงกันข้ามในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง แม้ว่าภายในอุตสาหรรมเดียวกันการพัฒนาสภาพแวดล้อมของแต่ละธุรกิจที่ธุรกิจเผชิญอยู่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่ออีกธุรกิจหนึ่งได้ ตัวอย่าง การพยากรณ์ การลดลงของประชากรอายุ 18-24 เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ซึ่งมองเห็นการลดลงของตลาด อย่างไรก็ตามธุรกิจซึ่งมีอุปสรรคจะสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้โดยการนำเสนอโปรแกรมอื่นที่ประสบความสำเร็จ เช่น การศึกษาที่ต่อเนื่องกันสำหรับโปรแกรมสำหรับนักศึกษาในวัยที่สูงขึ้นลักษณะสภาพแวดล้อมทั่วไป มีดังนี้

1.แนวโน้มของสภาพแวดล้อมจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแตกต่างกัน (The same environmental trend may have very different effects on various industries) การเพิ่มขึ้นของการคำนึงถึงสุขภาพและรูปร่างลักษณะซึ่งทีผลทำให้เกิดกระทบต่อโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกายรองเท้าเพื่อสุขภาพและโยเกิร์ต อย่างไรก็ตามจะเป็นอุปสรรคต่อทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างอาหารพวกฟาสต์ฟู้ดซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันและเนี้อสัตว์จะได้ผลกระทบ จะได้รับอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมนี้

2.ผลกระทบจากแนวโนม้สภาพแวดล้อมต่อธุรกิจที่ต่างกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน(The impact of an environmental trend often differs significantly for different firms within the same industry) การควบคุมด้านกฎหมายของอุตสาหกรรมสายการบินได้ทำให้เกิดการแข่งขั้นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้ธุรกิจที่มีอยู่เดิมมีกำไรลดลง ในขณะเดียวกันธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นคู่แข่งขันใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

3.แนวโน้มของสภาพแวดล้อมไม่จำเป็นที่จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง(All environmental trends may not necessarily have much impact on a specific industry) ตัวอย่างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมยา แต่จะไม่มีผลกระทบอย่างรุ่นแรงในอุตสาหกรรมอาหารเช้าหรืออาหารสำหรับเด็กในอานาคต

สภาพแวดล้อมภายนอก

ผุ้บริหารในปัจจุบันจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยกำหนดโอกาสและอุปสรรค์ที่สำคัญ การวิเคราะห์สภาพแวดแล้วจะช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และกระตุ้นความคิดเชิงกลยุทธ์ในองค์การ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ติดตามแนวโน้มสภาพแวดล้อมและการประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอก ธุรกิจต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม แนวโน้มสภาพแวดล้อมที่สำคัญ และรายละเอียดกลยุทธ์ต่าง ๆ และคู่แข่งขัน ข้อมูลนี้จะเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ในการพยากรณ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย การเมือง กฎหมาย ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ประกอบด้ายปัจจัยที่สัมพันธ์กับอุตสาหกรรม เช่น การเข้ามาขอคู่แข่งใหม่ที่มีศักยภาพ และการแข่งขันที่รุนแรง

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กลยุทธ์ระดับระหว่างประเทศ

กลยุทธ์ระดับระหว่างประเทศ (international level strategy) องค์การที่มีความสลับซับซ้อนจะต้องประสมประสานการกำหนดกลยุทธ์ในตลาดต่างประเทศ กับกลยุทธ์ระดับบริษัท ระดับหน่วยธุรกิจ และระดับหน้าที่ การเผชิญกับการแข่งขันของตลาดในประเทศ องค์การเหล่านี้จะต้องสร้างความแตกต่างจะต้องเผชิญกับความแตกต่างทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจแต่ละประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กลยุทธ์ระดับหน้าที่

กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional level strategy) เป็นการสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive advantage) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ธุรกิจประสลความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณค่า (Value) ซึ่งองค์การสามารถสร้างลูกค้าได้ งานของการสร้างคุณค่าเกิดขึ้นภายในจากหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายในธุรกิจ หน้าที่เหล่านี้จะต้องเชื่อมโยง จะต้องสอดคล้องกันเป็นโครงสร้างงาน ซึ่งเรียกว่าเครือข่ายในการสร้างคุณค่า (value chain) โครงร่างนี้สมมุติว่าทุกหน้าที่ภายในธุรกิจสามารถที่จะผลิตมูลค่าสำหนับลูกค้า

ทุกหน้าที่มีส่วนสร้างคุณค่าสำหรับลูกค้า (Customer value) และข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive advantage) โดยคำนึงถึงคุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และการส่งมองคุณค่า (Value delivery) ให้กับลูกค้า มีดังนี้
1.การตลาด(marketing) การใช้เครื่่องมือการตลาด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า โดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้ทันเวลา
2.การปฎิบัติการ (Operations) หรือ การผลิต (production) มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุด และมีความรวดเร็วในการปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได้
3.การวิจัยและพัฒนา (research and development) เป็นการประสมประสานความต้องการของลูกค้ากับความสามารถในการผลิต เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
4.การบัญชี (Accounting) โดยการจัดหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ สร้างความเรียบง่ายและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเพื่อนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ทันท่วงที
5.การเงิน (Financial) การใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโตและความคล่องต้วทางด้านการเงินเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด (Profit maximization) และความมั่งคั่งสูงสุด(Wealth maximization)
6.การจัดซื้อ (Purchasing) การคัดเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพ เจรจาต่อรองด้านราคาที่เหมาะสม การส่งมอบทันท่วงที ป้องกันไม่ให้เกิดสินค้าเกินความจำเป็นและไม่ให้เกิดการขาดแคลน
7.การบริหารงานบุคคล (Human resource management) การจัดหา และการฝึกอบรมกำลังคนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ(Business level strategy) หมายถึง กลยุทธ์ซึ่งมองหาวิธีการว่าจะแข่งขันอย่างไรในแต่ละหน่วยธุรกิจซึ่งบริษัทต้องพยายามที่จะสร้างสิ่งต่อไปนี้

1.ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน(Compititive advantages) หรือการสร้างความแตกต่างให้เหนื่อกว่าคู่แข่งขัน (competitive differentiation) เป็นกลยุทธ์ซึ่งมุ่งที่การผลิตสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงความเป็นเอกลักษณ์ในอุตสาหกรรม มุ่งที่ผู้บริโภคโดยไม่คำนึงถึงราคา (Price-insensitive) มากนัก

2.ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership) กลยุทธ์ซึ่่งมุ่งที่การผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน(Standardized products)ด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ โดยมีเป้าหมายสำหรับผู้บริโภคที่อ่อนไหวต่อราคา(Price-sensitive)

3.การปรับตัวที่รวดเร็ว (Quick-reponse) ในระดับธุรกิจนี้ ธุรกิจจะเผชิญกับคู่แข่งขัน เผชิญการแข่งขันในด้านการแสวงหาลุกค้า และยอดขาย บริษัทจะแข่งขันกับบริษัทอื่น ซึ่งมีธุรกิจคล้ายคลึงกัน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ในตลาดที่คล้ายกันด้วย

4.การมุ่งที่ลูกคัากลุ่มเล็ก (Focus) เป็นกลยุทธ์ซึ่งมุ่งที่การผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มแล็ก

กลยุทธ์ระดับบริษัท

กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate level strategy) เป็นกระบวนการกำหนดลักษณะทั้งหมด และจุดมุ่งหมายขององค์การ กำหนดผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่จะเตอมเข้ามา หรือเลิกกระทำ แล้วกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท(Croporate level strategy) หรือหมานถึงระดับกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่าบริษัททำธุรกิจอะไรอยุ่ องค์การทั้งหมาดควรเป็นอย่างไร ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหน่ายธุรกิจและสายการผลิตที่มีอยุ่

ตัวอย่างกลยุทธ์การขยายตัวของธุรกิจประกอบด้วย
การขยายตลาดด้านภูมิศาสตร์(Geographic expansion)
การกระจายธุรกิจ (Diversification)
การจัดซื้อ (Acquisition)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development)
การเจาะตลาด (Market penetration)
การตัดทอน(Retrencchment)
การเลิกกิจการ (Divestiture)
การร่วมทุน (joint venture)

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนเชิงกลยุทธ์,การกำหนดกลยุทธ์

การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic planning),การกำหนดกลยุทธ์(Strategy formulation)
กลยุทธ์(Strategy) เป็นวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาว การกำหนดกลยุทธ์ทางเลือก และเลือกจากทางเลือกซึงสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เป็นแผนที่สำคัญ โดยทั่วไปจะเป็นแผนระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เลิงกลยุทธ์ และตอบสนองวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การ กลยุทธ์จะระบุถึงรูปแบบการตัดสินใจที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสอดคล้องกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ การจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ในระดับธุรกิจ (Bisiness level) การรับรู้ของธุรกิจเกี่ยวกับข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน การกำหนดวัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ และการกำหนดกลยุทธ์ ผู้กำหนดกลยุทธ์ขององค์การจะสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับภาระกิจ(Mission) วิสัยทัศน์ (Vision) เป้าหมาย (Goals) นโยบาย (Policy) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (Internal and external environment) การกำหนดกลยุทธ์ อยาจหมายถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning)

นโยบายขององค์การ(Policy)

นโยบายขององค์การ(Organizational policy) นโยบายองค์การประกอบด้วยข้อเสนอแนะอย่างกว่างขวางที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้บริหารการพิจารณาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และวัตถุประส่งตลอดจนกำหนดการปฏิบัติการปละกลยุทธ์ในการควบคุม

คำถามที่สำคัญ 3 ประการในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายซึ่งใช้ในสถานการณ์ทั่วไปก็คือ
1.ธุรกิจในปัจจุบันอยู่ที่ไหน(Where are we now?)
2.ธุรกิจต้องการไปที่ไหน(Where do we went to be?)
3.ธุรกิจจะไปถึงสิ่งนั้นได้อย่างไร(How do we get there?)

นโยบายจะระบุถึงลักษณะอย่างกว่างขวางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ตลอดจนการกำหนดการปฏิบัติการและการควบคุมกลยุทธ์ที่ประสบผลสำเร็จ นโยบายส่วนใหญ่มีลักษณะกว้าง และมีผลกระทบที่สำคัญในองค์การ แต่จะไม่มีขอบเขตผลกระทบ ภายในองค์การมีการออกแบบเพื่อช่วยตัดสินใจ ตลอดจนมีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง นโยบายจะช่วยให้สมาชิกองค์การ ผู้บริหาร ผู้จัดการขั้นต้น ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
ตัวอย่างของนโยบายมีดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์ซึ่งให้ผลตอบแทนจากการลงทุน(Return on investment (ROI)) อย่างต่ำ 15% จะได้รับการพิจารณาให้เป็นสายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
2.ผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถผลิตให้มีคุณภาพสูงจะได้รับเลือกเพื่อกำหนดในสายผลิตภัณฑ์ เนื่องจากนโยบายผู้บริหารในระดับบริษัท ระดับธุรกิจ หรือระดับฝ่ายผลิตภัณฑ์จะเลือกผลิตภัณฑ์โดยไม่ระบุผลตอบแทน และไม่มีคุณภาพสูง เพราะว่าผู้บริหารจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของ ROI หรือระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะช่วยรักษาเวลาและความพยายามได้

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วัตถุประสงค์(Objectives)

วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายในระยะสั้นที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ ลักษณะวัตถุประสงค์จะเกี่ยวข้องในประเด็นต่อไปนี้
1.อาจเป็นได้ทั้งวัตถุประสงค์การเงินและไม่ใช่การเงิน
2.เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้ความพยายาม
3.การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องเกี่ยวข้องกับเวลา
4.วัตถุประสงค์จะเป็นทางเลื่องที่มีเหตุผล
5.วัตถุประสงค์จะลดข้อขัดแย้ง
6.วัตถุประสงค์สามารถวัดได้

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์(Strategic objectives)
การจัดการตามเป้าหมาย ซึ่งกำหนดความแข็งแกร่งของตำแหน่งธุรกิจโดยส่วนรวมขององค์การ และ ความแข็งแกร่งทางการแข่งขัน

วัตถุประส่งค์ทางการเงิน(Financial objectives)
การจัดการตามเป้าหมาย ซึ่งกำหนดการทำงานทางการเงินขององค์การ

วัตถุประสงค์ระยะสั้น(Short-range objectives)
เป็นเป้าหมายการทำงานในระยะสั้นขององค์การ เป็นการปรับปรุงการบริหารเชิงกลยุทธ์ ในการจัดการเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาวได้

วัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-range objectives)
เป็นผลลัพธ์ที่่ต้องการซึ่งอาจจะเป็น 3-5 ปี โดยระบุเป็นวัตถุปะรสงค์ในแต่ละปี วัตถุประสงค์สามารถกำหนดว่าเป็นผลลัพธ์เฉพาะอย่างที่องค์การต้องการในการบรรลุภาระกิจพื้นฐาน คำว่าระยะยาว(long-term) หมายถึง ระยะเวลาที่มากกว่า 1 ปี วัตถุประสงค์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จขององค์การ เพราะว่าจะกำหนดทิศทาง ช่วยการประเมินการยอมรับ และการสัดสรรค์ความร่วมมือ การจัดหาเกณฑ์เพื่อการวางแผนที่มีประสิทธิผล การจัดองค์การ การจูงใจ และการควบคุมกิจกรรม วัตถุประสงค์เป็นสิ่งท้าทาย สามารถวัดได้ มีความสอดคล้องกัน สมเหตุสมผล ชัดเจน ธุรกิจมีหลายฝ่าย(Multidivisional firm) ควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย วัตถุประสงค์ระยะยาวของ Minnesota Power คือให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน(Return on equity (ROE))

เป้าหมาย(Goal)

เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์(Opjectives) วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุผล เป้าหมายโดยทั่วไปเป้นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย

ตัวอย่างเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
-เพื่อบรรลุกำไรที่พอเพียงด้ายการเงินของบริษัท มีความเจริญเติบโตด้านการเงิน และจัดหาทรัพยากรที่ต้องการลรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
-เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงสุดและค่านิยมที่มีคุณค่าทางลูกค้าสูงสุด โดยยึดหลักความเชื่อมั่น ควยามภักดี ความซื่อสัตย์
-เพื่อมีส่วนร่วมในความสนใจโดยถึอเกณฑ์เทคโนโลยี ลูกค้านำเสนอโอกาสซึ่งทำให้เกิดการเจริญเติมโตที่ต่อเนื่องและสามารถที่จะให้ผลกำไรที่ต้องการได้

ภารกิจ(Mission)

ภารกิจ(Mission) หรือ ภารกิจของธุรกิจ (Business mission) เป็นพื้นฐานของการกำหนดการจัดลำดับกลยุทธ์ แผน และการออกแบบงาน ในจุดเริ่มต้นของการออกแบบงานการบริหารการออกแบบโครงสร้างการบริหารไม่มีสิ่งใดง่าย หรือปรากฎชัดเจนที่จะทราบว่าธุรกิจของบริษัทคืออะไร

ภารกิจองค์การ(Prganizational mission) เป็นข้องความที่เกี่่ยวกับการกำหนดกิจกรรมขององค์การ และลักษณะงานของธุรกิจ

ข้อความภารกิจ(Mission statement) จะเป็นการระบุจุดมุ่งหมายซึ่งแสดงความแตกต่างของธุรกิจหนึ่ง จากอีกธุรกิจหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน หรือทำธุรกิจเดียวกัน ข้อความภารกิจจะระบุขอบเขตการปฏิบัติการของธุรกิจเกียวกับผลิตภัณฑ์และตลาด คำถามพื้นฐานซึ่งผู้กำหนดกลยุทธ์ต้องเผชิญคือ ธุรกิจของเราคืออะไร ข้อความภารกิจที่ชัดเจนจะอธิบายถึ่งค่านิยมและลำดับความสำคัญต่าง ๆ ขององค์การ การพัฒนาข้อความภารกิจขึ้นอยุ่กับผู้กำหนดกลยุทธ์ เพราะต้องคิดเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการปฏิบัติการในปัจจุบันเพืือประเมนการจูงใจที่มีศักยภาพของตลาดและกิจกรรมใจอนาคต ข้อความภารกิจจะกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ

ตัวอย่างข้อความภารกิจของบริษัทต่าง ๆ มีดังนี้
-เราต้องประสบความสำเร็จอย่างสูง
-เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมและเป็นธุรกิจที่เอาตัวรอดได้
-เป็นผู้นำด้านเทคโนโยลี
-มีเคมีภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เหนือกว่า
-เรามุ่งที่ความเจริญเติมโตและกำไร
-พัฒนาธุรกิจใหม่จากเทคโนโลยีและการจัดหาปัจจัยการผลิต
-ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักในด้านคุณภาพ
-พนักงานมีชีวิตการทำงานที่ท้าทาย มีความกระตือรือร้น ได้รับรางวัลจากบรรยากาศที่เป้นเมิตรจากการทำงานเป็นทีม และการยอมรับนวัตกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างประโยชน์ต่อสังคม


วิสัยทัศน์(Vision)

วิสัยทัศน์และการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ (Organization's vision)
วิสัยทัศน์ หมายถึง เป้าหมายที่มีลักษณะกว้างขวางซึ่งเป็นความต้องการในอนาคต โดยไม่ได้กำหนดวิธีการไว้ วิสัยทัศน์เป็นการสร้างความคิดโดยการใช้คำถาม ซึ่งมักจะเป็นคำถามที่ถามถึงสิ่งดีที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด บริการดีที่สุด ฯลฯ ส่วนการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การจะเป็นข้อความทั่วไปซึ่งกำหนดทิศทาง ของความภารกิจ เป็นข้อความซึ่งกำหนดส่วนประกอบของวิสัยทัศน์ ควรจะอธิบายรายละเอียดขององค์การ ขอบเขตการปฏิบัติ ความต้องการ(Needs) ของตลาด และค่านิยม(Values) เบื้องต้นขององค์การ

ตัวอย่างวิสัยทัศน์
บริษัท McDonald's - ความโดดเด่นในอุตสาหกรรมการให้บริการด้านอาหารระดับโลก ความโดดเด่นระดับโลก
บริษัท Microsoft - เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์สำหรับทุกสำนักงาน และทุกบ้านที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นเครื่องมือ
บริษัท The Body Shop - การบรรลุความสำเร็จเชิงธุรกิจ ที่สามรถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยจัดหาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง มีคุณค่าที่ดี และให้บริการพิเศษ ตลอดจนข้อมูลที่สำคัญที่จะแจ้งข่าวสารและเสนอทางเลือกให้ลูกค้า

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จุดมุ่งหมาย(Purpose)

หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องการในอนาคต จุดมุ่งหมายสามารถกำหนดได้ 4 ประการ คือ
1.วิสัยทัศน์(Vision)
2.ภารกิจ(Mission)
3.เป้าหมาย(Goals)
4.วัตถุประสงค์(Objectives)

ลำดับขั้นตอนของการกำหนดจุดมุ่งหมาย(Hierarchy of purposes)
เป็นรูปแบบจุดมุ่งหมายขององค์การ 4 ประการ คือ วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย 4 ประการนี้จะช่วยเป็นแนวคิดอย่างกว้างในการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง วัตถุประสงคเหล่านี้จะช่วยธุรกิจในการกำหนดแนวทางปฎิบัติการ และควบคุม

ลำดับขั้นตอนของกลยุทธ์(Hierarchy of strategies)
มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ กลยุทธ์ระดับบริษัท กลยุทธ์ระดับธุรกิจ กลยุทธ์ระดับหน้าที่

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic analysis) เป็นพื้นฐานของกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนในการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ ข้อความภารกิจ และวัตถุประสงค์ (Formulation of purpose,vision,mission statement,goals and objective)

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขั้นตอนในการบริหารเชิงกลยุทธ์-ขั้นที่3

การปฎิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation) และการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strateing control)
-การประสมประสาน (Integration)
-โครงสร้างองค์การ (Oranization structure)
-การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic comtrols)
-ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership)

ขั้นตอนในการบริหารเชิงกลยุทธ์-ขั้นที่2

การวางแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic planning) และ การกำหนดกลยุทธ์(Strategy formulation)

ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate level strategy) ประกอบด้วย
ขั้นตอนปัจจัยนำเข้า(The input stage)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน (Internal Factor Evaluation (IFE) matrix)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก(Extermal Factor Evaluation (EFE) matrix)
-แมททริกซ์โครงร่างการแข่งขัน(The Competitive Profile Matrix (CPM))

ขั้นตอนการจับคู่ (The matching stage)
-แมททริกซ์อุปสรรค-โอกาศ-จุดอ่อน-จุดแข็ง (Threats-Opportunities-Weaknesses-Strengths (TOWS matrix)
-แมททริกซ์ตำแหน่งกลยุทธ์และการประเมินการปฏิบัติ (Strengths Position and Action Evaluation (SPACE) matrix)
-กลยุทธ์การจัดสรรทรัพยากร-แมททริกซ์กลุ่มที่ปรึกษาบอสตัน (Boston Consult Group (BCG) matrix)
-แมททริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน-การประเมินปัจจัยภายนอก (Internal External (IE) matrix)
-แมททริกซ์กลยุทธ์หลัก (Grand Strategic (GS) matrix)

ขั้นตอนการตัดสินใจ (The decision stage)
-แมททริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ (Quantitative Strategic Planing Matrix (QSPM))
นอกจากการวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัทด้วยเครื่องมือดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะใช้แมททริกซ์ความดึงดูดของอุตสาหกรรม,ตำแหน่งธุรกิจ (The industry attractiveness-businesss position matrix) และแมททริกซ์วงจรชีวิตตลาด-จุดแข็งการแข่งขัน (The market life cycle-competitive strength matrix) มาใช้ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน

ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business level strategy) การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
ประกอบด้วย
-ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantages) หรือ การสร้างความแตกต่าง(Differentiation)
-ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน(Cost leadership)
-การปรับตัวที่รวดเร็ว (Quick-response)
-การมุ่งที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก (Focus)

ระดับที่่ 3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional level strategy) การสร้างคุณค่าในสายตาของลูกค้า
ประกอบด้วย
-การตลาด (marketing)
-การปฎิบัติการ (Opetations) หรือ การผลิต (Production)
-การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
-การบัญชี (Accounting)
-การเงิน (Financial)
-การจัดซื้อ(Purchasing)
-การบริหารงานบุคคล (Human resource management)

ขั้นตอนในการบริหารเชิงกลยุทธ์-ขั้นที่1

ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์(Conduct a situation analysis)
สามารถแบ่งเป็น
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(Strategic analysis) เป็นพื้นฐานของกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
-การกำหนดจุดมุ่งหมาย(Purpose)
-วิสัยทัศน์(vision)
-ข้อความภารกิจ(Mission)
-วัตถุประสงค์(Objective)
-นโยบายขององค์การ(Organizational policy)

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis) ประกอบด้วย
-โอกาสและอุปสรรคภายนอก (External opportunities and threats)
-จุดแข็งและจุดอ่อนภายใน (Internal strengths and weaknesses)

ลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์-ความหมายที่3

การบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) เป็นศาสตร์และศิลป์ในการกำหนด
1.กลยุทธ์(Strategy formulation)
2.การปฎิบัติการตามกลยุทธ์(Strategiy implementation)
3.การประเมินผลกลยุทธ์ (Strategy evaluation) (David.1997:5)
ในการบริหารเชิงกลยุทธ์จะมุ่งที่การประสมประสาน การจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต การดำเนินงาน การวิจัยและการพัฒนาระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้บรรลุความสำเร็จขององค์การ การบริหารเชิงกลยุทธ์อาจเรียกว่า นโยบายธุรกิจ (Business policy)

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์-ความหมายที่ 2

กระบวนการเชิงกลยุทธ์ (Straegic management process) หมายถึง ขั้นตอนการบริหารเพื่อให้บรรลุภารกิจ(Mission) ขององค์กร โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม(Higgins and Vincze.1993:5) โดยเฉพาะผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากองค์การ(Stakeholders) ซึ่งเป็นปัจจัยในสถานการณ์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการตัวสินใจ และกำหนดนโยบายขององค์การ ประกอบด้วย ลูกค้า(Customer) พนักงาน (employee) ชุมชนในท้องที่ (Community) และผู้ถือหุ้น (Stockholder)

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์-ความหมายที่1

การบริหารเชิืงกลยุทธ์ (Strategic management) เป็นกระบวนการซึ่่งรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการ คือ 1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(strategic analysis)
2.การกำหนดกลยุทธ์(strategy fotmulation)
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม(strategy implementation and control)
โดยทั่วไป การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์เป็นงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้าและต้องมีการพัฒนา จึงจะเป็นการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม การกำหนดกลยุทธ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้า ให้เป็นแผนซึ่งได้ผลลัพธ์ คือ กลยุทธ์ที่กำหนด
ส่วนการปฎิบัติตามกลยุทธ์ เป็นกระบวนการกำหนดแนวความคิดพื้นฐาน ซึ่่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ
2.การกำหนดกลยุทธ์
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ