ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กรณีศึกษา:การวางแผนเชิงกลยุทธ์ บ.ubc ตอนที่9

8. การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis)

ในการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ จะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1.) ขั้นตอนการนำเข้าปัจจัย (2.) ขั้นตอนการจับคู่ และ (3.) ขั้นตอนการตัดสินใจ

8.1.ขั้นตอนการนำเข้าปัจจัยการผลิต (The Input Stage)

ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยจุดเด่นและจุดด้อย โอกาสและอุปสรรค ในปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโดยอาศัยการวิเคราะห์ในรูปแมทริกซ์ ดังนี้

8.1.1 แมทริกซ์การประเมินปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในที่สำคัญ(Critical Internal Factors)

น้ำหนัก(Weight)

การประเมิน(Rating)

คะแนนถ่วงน้ำหนัก(Weighted Score)

จุดแข็ง

1. มีเทคโนโลยีทันสมัยทำให้ภาพและเสียงคมชัด

0.02

4

0.08

2. สามารถถ่ายทอดรายการตามสั่งเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก

0.01

3

0.03

3. มีเครือข่ายทั่วประเทศ

0.05

4

0.2

4. มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

0.06

4

0.24

5. มีพันธมิตรที่เข็มแข็งทางด้านโทรคมนาคม

0.01

3

0.03

6. ได้รับลิขสิทธ์รายการชั้นนำจากต่างประเทศ

0.06

4

0.24

7. มีรายการทีมีคุณภาพ

0.03

3

0.09

8. มีภาพพจน์ที่ดีบ่งบอกถึงความทันสมัย

0.02

3

0.06

9. บริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม

0.07

4

0.28

10. มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

0.08

4

0.32

11. มีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง

0.09

4

0.36

จุดอ่อน

1. ค่าใช้จ่ายแรกเข้าสูง

0.26

1

0.26

2. ค่าใช้จ่ายรายเดือนสูง

0.16

1

0.16

3. ปัญหาด้านการจัดการบุคลากร

0.07

2

0.14

4. ต้องซื้อรายการเพื่อออกอากาศจำนวนมาก

0.01

2

0.02

รวม

1

2.51

หมายเหตุ; การประเมินตัวเลข 1 = จุดอ่อนหลัก, 2 = จุดอ่อนรอง, 3 = จุดแข็งรอง, 4 = จุดแข็งหลัก

8.1.2 แมทริกซ์การประเมินปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ(Critical Internal Factors)

น้ำหนัก(Weigth)

การประเมิน(Rating)

คะแนนถ่วงน้ำหนัก(Weighted Score)

โอกาส

1.มีอุปสรรค์ในการเข้ามาทำธุรกิจของคู่แข่งขันรายใหม่ ทั้งด้านเงินลงทุน ระบบพื้นฐาน และการตลาด

0.08

4

0.32

2.สามารถต่อรองเรื่องลิขสิทธ์เพื่อให้ได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในประเทศ

0.08

4

0.32

3.ผู้ปกครองเริ่มเห็นและเริ่มให้ความสำคัญของการให้การศึกษาเสริมนอกเหนือจากระบบโรงเรียน

0.1

3

0.3

4.แรงจูงใจในการเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่มีน้อยเนื่องจากขนาดของตลาดค่อนข้างเล็ก ไม่สามารถสร้างกำไรในระยะเวลาอันสั้นได้

0.05

4

0.2

5.สภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น

0.13

4

0.52

6.รัฐส่งเสริมการให้การศึกษาแก่เยาวชนมากขึ้น

0.05

3

0.15

อุปสรรค์

1.มีอุปสรรค์ในการระดมทุนเนื่องจากยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลในหุ้นได้เพราะยังมีการขาดทุนสะสมอยู่ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการเข้าซื้อหุ้นของนักลงทุน

0.01

3

0.03

2.กฎหมายการเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้ลดความยุ่งยากในการเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่

0.03

3

0.09

3.ฟรีทีวี มีการตื่นตัวและพัฒนาอย่างมากทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรู้สึกเพียงพอในการชมฟรีทีวี ไม่จำเป็นต้องติดตั้งยูบีซี

0.12

1

0.12

4.โรงภาพยนตร์มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคนิยมชมภาพยนตร์ที่โรงฉายมากขึ้น

0.1

1

0.1

5.ภาพยนตร์เมื่อออกจากโรงแล้วจะลงแผ่นVCDก่อนแล้วจึงมาถึงUBC

0.08

1

0.08

6.มีคู่แข่งขันเป็นเคเบิ้ลท้องถิ่นซึ่งมีราคาถูกกว่า

0.06

1

0.06

7.เครื่องเล่นVCDและDVDมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จนทำให้เกือบทุกครัวเรือนสามารถตัดสินใจซื้อได้โดยง่าย

0.06

2

0.12

8.ผู้บริโภคนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น

0.05

2

0.1

รวม

1

2.51

หมายเหตุ; การประเมินตัวเลข 1 = จุดอ่อนหลัก, 2 = จุดอ่อนรอง, 3 = จุดแข็งรอง, 4 = จุดแข็งหลัก

8.2 ขั้นตอนการจับคู่ (The Matching Stage)

8.2.1 แมทริกซ์อุปสรรค-โอกาส-จุดอ่อน-จุดแข็ง (Threats-Opportunities-Weakness-Strength Matrix : TOWS Matrix)

ปัจจัยภายนอก


(Internal Factors)

ปัจจัยภายใน

(External Factors)

จุดแข็งภายใน

(Internal Strengths : S)

จุดอ่อนภายใน

(Internal Weaknesses : W)

โอกาสจากภายนอก

(External Opportunities : O)

1. SO : จุดแข็ง-โอกาส

UBC

2. WO : จุดอ่อน-โอกาส

ภยันตรายจากภายนอก

(External Threats : T)

3. TS : จุดแข็ง-ภยันตราย

4. WT : จุดอ่อน-ภยันตราย

จากการวิเคราะห์พบว่าสถานะของ ยูบีซี ตกอยู่ในช่องที่ 1 ซึ่งเป็นจุดแข็ง-และโอกาสในการดำเนินธุรกิจ โดยที่จุดแข็งของ ยูบีซี คือ ยูบีซี เป็นชื่อที่ผู้คนรู้จักเป็นอย่างดี และยังมีเทคโนโลยีในการรับส่งสัญญาณที่ทันสมัย มีพันธมิตรที่เข้มแข็งทั่งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งรายการที่นำเสนอเป็นรายการที่มีคุณภาพและยังมีบริการหลังการขายที่ดี ส่งผลให้สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้

ส่วนผลด้านโอกาส เป็นผลสืบเนื่องสภาพเศรษฐกิจอยู่ในช่วงที่มีการขยายตัว ส่งผลให้เป็นโอกาสเหมาะที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น, ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อไปยังความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นและมีการใช้จ่ายสูงมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งธุรกิจด้านนี้เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาในธุรกิจเสียเปรียบผู้ประกอบการรายเดิมที่ดำเนินธุรกิจมาก่อนแล้ว อีกทั้งการที่จะดำเนินธุรกิจให้ถึงจุดคุ้มทุนต้องอาศัยฐานลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะมีคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจนี้ ส่วนการตลาด สามารถต่อรองเรื่องลิขสิทธ์เพื่อให้ได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในประเทศ และผู้ปกครองเริ่มเห็นและเริ่มให้ความสำคัญของการให้การศึกษาเสริมนอกเหนือจากระบบโรงเรียน รัฐส่งเสริมการให้การศึกษาแก่เยาวชนมากขึ้น

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ