6.1 การวิเคราะห์สายโซ่แห่งคุณค่า (Chain Value Analysis)
ในส่วนของการวิเคราะห์สายโซ่แห่งคุณค่า จะทำการวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง และจุดอ่อนภายในองค์กรของ ยูบีซี โดยจะวิเคราะห์ในกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์กร 2 กิจกรรม คือ (1.)การวิเคราะห์ในกิจกรรมพื้นฐาน และ (2.) การวิเคราะห์ในกิจกรรมสนับสนุน
6.1.1 กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Analysis)
จุดแข็ง
1. มีสินค้าให้เลือกมากมาย ซึ่ง หมายถึงมีรายการหลากหลายแนว ทั้งรายการสำหับเด็ก, รายการบันเทิง, กีฬา,ข่าวสารและสารคดีต่างๆ ทำให้สามารถรองรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
2. รายการที่นำเสนอจัดเป็นหนึ่งในรายการที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ในภูมิภาคนี้ ด้วยราคาค่าบริการที่สมเหตุสมผล และเมื่อเปรียบเทียบบริการของยูบีซีกับทางเลือกอื่น ๆ เช่น การเช่าวีดีโอ หรือการชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ แล้ว จะเห็นได้ว่าบริการของยูบีซีมีความคุ้มค่ามากกว่าด้วยจำนวนช่องรายการมากกว่า 37 ช่อง ในราคาเพียง 42 บาทต่อวัน
3. มีช่องทางการจัดจำหน่ายคลอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่ายกระจายตัวอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
4. สามารถถ่ายทอดรายการตามสั่ง (pay per view) เป็นบริการเสริม สามารถตองสนองความต้องการของสมาชิกได้มากขึ้น
5 มีบริการหลังการขายที่ดี ยูบีซีให้บริการแก่สมาชิกผ่านศูนย์บริการลูกค้าใน 4 จังหวัดหลัก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการเหล่านี้ ใช้ระบบการบริการสมาชิก Mindport IBS หรือ เรียกสั้นๆว่าระบบ IBS ซึ่งเป็นระบบที่ซื้อจาก บริษัท Irdeto B.V. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เอ็มไอเอช จำกัด โดยระบบ IBS นี้จะช่วยในการจัดทำใบแจ้งหนี้ และเป็นฐานข้อมูลหลักของสมาชิกที่จะช่วยให้พนักงานบริการของยูบีซีสามารถเรียกข้อมูลและให้บริการตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างรวดเร็ว
พนักงานรับสายโทรศัพท์ ณ ศูนย์บริการลูกค้าของยูบีซีได้อาศัยระบบ IBS ในการจำแนกสายจากสมาชิกไปยังพนักงานที่ให้บริการด้วยภาษาไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น ซึ่งจะให้บริการตอบข้อซักถามตั้งแต่เรื่องทางเทคนิค การบริการ ตลอดจนถึงการสอบถามเกี่ยวกับรายการ นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับจำนวนสายเรียกเข้าที่พนักงานไม่สามารถรับได้อันเกิดจากการที่สมาชิกที่โทรเข้ามาวางสายก่อนที่พนักงานจะรับเนื่องจากเสียเวลารอนาน และระยะเวลาในการรับสายเรียกเข้าของพนักงานรับสาย ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงบริการแก่สมาชิก โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการบริการอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้มั่นใจว่ายูบีซีเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญและเป็นมิตรกับสมาชิก
จุดอ่อน
1. การดำเนินการผลิต เนื่องจากรายการที่ออกอากาศทาง ยูบีซี ส่วนใหญ่เป็นรายการที่ที่ผู้ประกอบการรายอื่นเป็นผู้ผลิต ยูบีซี เป็นเพียบผู้ที่ซื้อลิขสิทธ์มาทำการถ่ายทอดออกอากาศเท่านั้น
2. ปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากผู้บริโภคมองว่า ยูบีซี ยังเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และราคายังสุงอยู่ ทำให้กลุ่มลูกค้าจำกัดอยู่เฉพาะในครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
6.1.2 กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
จุดแข็ง
1.ยูบีซี มีโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เนื่องจากมีพันธมิตรที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ทั้งภายในและต่างประเทศ โดย ยูบีซีได้รับความสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 รายได้แก่ บริษัท เทเลคอม โฮลดิ้ง จำกัด (ทีเอช) และ บริษัท เอ็มไอเอช จำกัด (เอ็มไอเอช) โดยทีเอช ถือหุ้นทั้งหมดโดยบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยรวมถึงระบบโทรศัพท์พื้นฐาน บริการไร้สาย โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกระบบเคเบิ้ล และบริการมัลติมีเดีย ทรู คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นใหญ่โดยกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัททางด้านอุตสาหกรรมการเกษตรไทย และ Verison บริษัททางด้านโทรคมนาคมระดับโลก ทรู คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2533 และได้รับสัมปทานแบบสร้าง-โอน-ดำเนินงาน ในการสร้าง ติดตั้ง และดำเนินงานร่วมกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ในการให้บริการโทรศัพท์จำนวน 2.6 ล้านเลขหมายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นระยะเวลา 25 ปี นับจากปี 2535 ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ลักซัมเบอร์ก
การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานถือเป็นธุรกิจหลักของทรู คอร์ปอเรชั่น นอกเหนือจากธุรกิจดังกล่าวทรู คอร์ปอเรชั่น ยังมีธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจมัลติมีเดีย อันประกอบด้วยบริการโครงข่ายเคเบิ้ลซึ่งยูบีซีเคเบิ้ลใช้ในการให้บริการ และบริการโครงข่ายมัลติมีเดียความเร็วสูง ดำเนินการโดย บจก. เอเซียมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ทีเอช และ ทศท บริการไร้สาย ดำเนินการโดย บจก. เอเซีย ไวเลส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งให้บริการโทรศัพท์บ้านแบบพกพา ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถนำโทรศัพท์เบอร์เดียวกับโทรศัพท์บ้านไปใช้นอกบ้านได้
MIH ถือหุ้นทั้งหมดโดยบริษัท Naspers Limited ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์โจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg Stock Exchange) และตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq Naspers เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อต่างๆ ในหลายประเทศ โดยธุรกิจหลักคือธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ธุรกิจอินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์ บริการการศึกษาเอกชน และเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีฐานการดำเนินธุรกิจหลักอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ และที่อื่นๆ เช่นทวีปแอฟริกา กรีซ ไซปรัส และทวีปเอเชีย
ตารางที่ 6.1 แสดงสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวและชาวไทย ณ วันที่ 30 มกราคม 2547
ผู้ถือหุ้น จำนวนผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นชาวไทย
นิติบุคคล 167 362,621,504 48.27%
บุคคลธรรมดา 4,622 49,985,307 6.65%
รวม 4,789 412,606,811 54.92%
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว
นิติบุคคล 60 338,539,866 45.06%
1. Myriad Holding
Africa BV 230,474,041 30.68%
2. Morgan Stanley & Co International Limited 21,982,080 2.93%
3. อื่นๆ 86,083,745 11.46%
บุคคลธรรมดา 10 79,493 0.01%
รวม 70 338,619,359 45.08%
รวมทั้งสิ้น 4,859 751,226,170 100.00%
ที่มา:www.ubc.co.th
2. มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีในการรับส่งภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งระบบดาวเทียวและระบบเคเบิ้ลใยแก้ว ทำให้ยูบีซีสามารถนำเสนอบริการด้วยรายการที่มีคุณภาพภายใต้สัญญาณภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบได้ครอบคลุมทั่วประเทศ
จุดอ่อน
1. มีปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เนื่องจากพนังงานที่ดำเนินการติดตั้งและเชื่อมต่อการรับส่งสัญญาณให้กับสมาชิก ยังขาดความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อบริษัท ทำให้มีการลักลอบต่อสัญญาณให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
2. ด้านความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ เนื่องจาก รายการบางรายการเป็นรายการที่ ยูบีซี ไม่สามารถดำเนินการผลิตเองได้เลย เช่น รายการด้านกีฬาประเภทต่างๆ การที่จะได้มาซึ่งรายการดังกล่าว ยูบีซี ต้องซื้อลิขสิทธ์ในการถ่ายทอดออกอากาศเพียงเท่านั้น และรายการดังกล่าวยังเป็นรายการที่ได้รับความนิยมในระดับต้นๆ ของรายการทั้งหมดที่ ยูบีซี ได้แพร่ภาพออกอากาศ ส่งผลให้ อำนาจในการต่อรองต่ำ
ภาพที่ 5.1 แสดงสายโซ่แห่งคุณค่า