ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กรณีศึกษา:การวางแผนเชิงกลยุทธ์ บ.ubc ตอนที่4

5. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก(External Environment Analysis)

5.1 การวิเคราะห์ระดับทั่วไป(General Evironment)

5.1.1 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ

การขยายตัวของธุรกิจโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิก มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าสินค้าที่เกิดจากธุรกิจบอกรับเป็นสมาชิกเป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อย ส่งผลให้การสินใจในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของครอบครัวผู้บริโภคเป็นหลัก

เมื่อทำการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่าหลังจากที่ไทยประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคในช่วงนั้นลดต่ำลงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันพบว่า สภาพเศรษฐกิจของไทยได้เข้าสู่ช่วงฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยสังเกตจากการอัตราการขยายตัวของรายได้ประชาชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น, ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น, มีความมั่นใจมากขึ้น

ผลจากสภาวะทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ มีโอกาสที่จะขยายการผลิตและเพิ่มฐานลูกค้าของตน ซึ่งรวมถึงธุรกิจโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกของ ยูบีซี ซึ่งโดยทั่งไปแล้วกลุ่มเดิมของ ยูบีซี จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงกว่า 20,000 บาท ดังนั้น การที่ระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว จะส่งผลให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ ยูบีซี มีมากขึ้น และมีโอกาสที่จะขยายฐานลูกค้าเพิ่มได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการสมัครเป็นสมาชิกโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกในประเทศไทยยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันที่รุนแรงทำให้มีการนำกลยุทธ์ด้านราคามาใช้ในการแข่งขัน แทนที่จะเป็นการมุ่งเน้นที่บริการที่นำเสนอ นอกจากนั้นการแข่งขันยังทำให้รายการที่มีคุณภาพถูกกระจายอยู่ระหว่างสองบริษัท(ก่อนมีการรวมกิจการระหว่าง ยูบีซี และ ยูบีซีเคเบิ้ล) และด้วยการรวมกิจการนี้เองที่ทำให้รายการที่ดีที่สุดจากทั้งสองค่ายถูกรวมเข้าด้วยกัน ส่งผลให้การสมัครเป็นสมาชิกเพียงบริษัทเดียวก็สามารถรับชมรายการที่ดีที่สุดจากทั้งสองค่ายได้ทั้งหมด

5.1.2 สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม

สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่พยายามส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้ในวิชาการหรือการเรียนรู้ในเรื่องทั่วๆไป ดังสังเกตได้จากรายการโทรทัศน์ของฟรีทีวี โดยทั่วไปได้มีการเปลี่ยนรูปแบบรายการจากที่นำเสนอมาในอดีตซึ่งรายการส่วนใหญ่เป็นรายการเกมโชว์และละครโทรทัศน์ แต่ในปัจจุบันรายการดังกล่าวได้ลดจำนวนลง และมีรายการในรูปแบบของการตอบปัญหาทั่วไป, รายการประเภทข่าวสารและรายการในรูปของสารคดีเพิ่มมากขึ้น ดังเช่น รายการเกมเศรษฐี ซึ่งได้เปิดตัวในประเทศไทยในช่วงปลายปี 2542 และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนในปัจจุบันมีรายการในรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากสภาพสังคมในอดีตที่มองว่าการเรียนรู้ต้องได้มาจากการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเท่านั้น

นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่เน้นกระแสการส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว การที่ขนาดของครอบครัวไทยมีขนาดเล็กลง, ประชากรมีการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น และมีความต้องการบริโภคสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งอยู่ในช่วงทีมีการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวเข้าสู่ยุคโลกภิวัฒน์ ผู้บริโภคมีความต้องการข่าวสารที่รวดเร็วทันเวลา และต้องการดูรายการที่เป็นรายการสดมากขึ้น

จากผลการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมดังกล่าว จึงเป็นผลดีต่อการประกอบธุรกิจของ ยูบีซี ที่ได้เสนอรายการที่มีสาระไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร, สารคดี และกีฬามาโดยตลอด เพียงแต่ว่าผู้บริโภคในอดีตยังไม่ให้ความสนใจในรายการดังกล่าวมากนัก

5.1.3 สภาพแวดล้อมทางด้านการเมือง

ระบบการปกคลองของไทยเป็นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการแบ่งการปกคลองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติผ่านทางสมาชิกวุฒิสภาและฝ่ายบริหารผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตามหลักแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติจะมีความเป็น อิสระและแยกออกจากฝ่ายบริหาร แต่จากสภาพในปัจจุบันไม่สามารถกล่าวได้อย่างบริสุทธิใจได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอำนาจและแยกเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร

ในส่วนของการบริหารประเทศนั้นหลังจากที่ไทยประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ในช่างกลางปี 2540 ซึ่งเป็นยุคที่มี พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นนายยกรัฐมนตรี และหลังจากที่มีการยุบสภาก็เป็นยุคที่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารต่อ ซึ่งสังเกตุได้ว่า ยังไม่มีรัฐบาลชุดใดที่สามารถบริหารประเทศได้ครบตามสมัยสภาได้

การบริหารงานในอดีตนั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ที่จำนานสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคของตนมากที่สุด และการที่จะตั้งเป็นรัฐบาลนั้น จะเป็นจากการรวมกับพรรคอื่นๆ ในการตั้งรัฐบาล อีกทั้งจำนวนสมาชิกของพรรคร่วมรัฐบาล กับพรรคฝ่ายค้านนั้น มีจำนวนไม่แตกต่างกันมากนัก และมีการเปลี่ยนแปลงของพรรคที่อยู่ในขั่วพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การบริหารงานในช่วงดังกล่าว ขาดความมีเสถียรภาพ ดังนั้น นโยบายหรือกฎหมายต่างๆที่เกินขึ้นในยุคของรัฐบาลหนึ่ง อาจถูกเปลี่ยนแปลงและยกเลิกได้ในยุคของรัฐบาลถัดไป

แต่หลังจากที่รัฐบาลโดยการนำของ พ.ต.ต. ดร.ทักษิณ ชิณวัฒน์ เข้ามาบริหารงานก็ดูเหมือนว่ารูปแบบการเมืองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสถานะของพรรครัฐบาลมีความเข้มแข็งขึ้น โดยมีจำนวนสมาชิกในพรรครวมรัฐบาล แตกต่างกับจำนวนสมาชิกของพรรคฝ่ายค้านเป็นจำนวนมาก จนบางท่านมีความเป็นห่วงว่ารัฐบาลชุดนี้ อาจเป็นรัฐบาลเผด็จการ เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านมีจำนวนสมาชิกน้อยจนไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของผู้นำรัฐบาลได้

แต่อย่างไรก็ดี การที่พรรครัฐบาลมีเสถียรภาพในการบริหารงานนั้น ย่อมเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากผู้บริหารสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน และการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวของกับธุรกิจของ ยูบีซี นั้นแนวทางในการบริหารในปัจจุบันนอกจากจะพิจารณาจากความมีเสถียรภาพของรัฐบาลแล้ว ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งการประกอบธุรกิจโทรทัศน์ระบบตอบรับเป็นสมาชิก มีข้อเสียเปรียบในเรื่องของรายได้จากการโฆษณา เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้มีโฆษณาโดยให้เหตุผลว่าธุรกิจโทรทัศน์ระบบตอบรับ มีรายได้จากสมาชิกแล้ว

นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2535 เป็นต้นมา การแพร่ภาพโทรทัศน์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐ 2 หน่วยงานซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี คือ. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. และกรมประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรทัศน์อีกด้วย

ภาพที่ 5.1 แสดงโครงสร้างหน่วยงานที่กำกับดูแล ยูบีซี


5.1.3.1 องการสื่อสารมวลชลแห่งประเทศไทย(อ.ส.ม.ท.)

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนทั้งในและต่างประเทศ

- ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 9

- ให้ใบอนุญาตการดำเนินงานสำหรับสถานีโทรทัศน์ภาคปกติ

- ให้อนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต รวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ สัมปทานแบบ สร้าง โอน - ดำเนินการ (Build-Transfer-Operate)

- กำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ทั้งในเรื่องของการกำหนดราคา ช่องรายการที่จะให้บริการ และการโฆษณา

- ตัดสินใจในเรื่องสำคัญอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงการตีความเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบและข้อบังคับต่างๆ โดยหน่วยงานของรัฐ

5.1.3.2 กรมประชาสัมพันธ์

กรมประชาสัมพันธ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่คล้ายคลึงกับ อ.ส.ม.ท. รวมถึงการให้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างจาก อ.ส.ม.ท. และใบอนุญาตส่วนใหญ่ให้เป็นรายปี

- บริหารงานคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กทช.)

- ให้ใบอนุญาตการดำเนินงานโทรทัศน์ระบบ UHF แก่สถานีโทรทัศน์อิสระ (ไอทีวี)

- ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 11

- เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่างๆ

- ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ

- นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทย ต่อประชาคมโลกเพื่อเสริมสร้างภาพพจน์อันดีของประเทศ

- ช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและให้ความรู้แก่ประชาชนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์และวิทยุ

- ดำเนินงานเครือข่ายวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติภายใต้ชื่อวิทยุแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งสองเครือข่ายข้างต้นรวมเรียกว่า "National Broadcasting Service Thailand" หรือ "NBT"

5.1.3.3 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กทช.)

- กำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ

- ให้ใบอนุญาตการดำเนินงานสำหรับสถานีวิทยุเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงสถานีวิทยุผ่านดาวเทียม

- พิจารณาอนุญาตให้ดำเนินงานวิทยุและโทรทัศน์ทั้งระบบผ่านสายเคเบิ้ลและไม่ผ่านสายเคเบิ้ล

- ออกกฎระเบียบ และควบคุมการดำเนินงานทางด้านเทคนิค

ในส่วนของปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง คือ ความไม่แน่แน่เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กทช.) ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเสรีด้านการประกอบธุรกิจโทรทัศน์ระบบตอบรับและการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าสัมปทานในอัตราใหม่ ทำให้ธุรกิจที่ประกอบการอยู่ก่อนหน้า ดังเช่น ยูบีซี ต้องเสียเปรียบเนื่องจากต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อ.ส.ม.ท.) เจ้าของคลื่นความถี่เป็นจำนวนเงินมากถึง 500 ล้านบาทต่อปี

พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ("พ.ร.บ.") มีผลใช้บังคับเมื่อเดือนมีนาคม 2543 ได้ประกาศห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับกิจการสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ ซึ่งในบทบัญญัติของ พ.ร.บ ฉบับนี้ ได้ยกเว้นให้คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้มาก่อนที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ สามารถขออนุญาตประกอบกิจการต่อไปได้ถ้าประสงค์จะทำต่อไป

กฎหมายที่ใช้มาก่อน พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศใช้คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 (ป.ว.281) ไม่ได้ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับกิจการสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ เช่น กิจการของยูบีซี

5.1.4 สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี

ปัจจุบันโลกเทคโนโลยีได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ดังเช่นเทคโนโลยีในส่วนของอินเตอร์เน็ต ซึ่งถ้าบุคคลใดไม่ให้ความสนใจก็อาจถือได้ว่าก้าวไปไม่ทันความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยี ดังเช่นหลายประเทศที่สามารถแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ยังยึดติดกับเทคโนโลยีสมัยเก่า ทั้งในเรื่องของการสื่อสารและระบบสารสนเทศต่างๆ โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นส่วนมากจะเป็นคนรุ่นเก่า การทำธุรกรรมหรือการติดต่อสื่อสารต่างๆ ยังยึดติดกับรูปแบบเดิมที่เคยปฏิบัติมาในช่วงก่อน ไม่รู้จักอินเตอร์เน็ต หรือการรับส่งข้อมูลทางอีเมล์ รวมถึงการทำพานิชย์อิเล็กทรอนิก(E-Commerce) ซึ่งคนในกลุ่มนี้ บางส่วนไม่ได้มีพฤติกรรมต่อต้าน แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในรายระเอียดของเทคโนโลยีดังกล่าว

กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และสามารถก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังกล่าว โดยคนกลุ่มนี้ให้คำนิยามตนเองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี ซึ่งบางคนสามารถประกอบธุรกิจการค้าโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต ชึ่ง ต่างจากคนกลุ่มแรกที่มองไม่เห็นโอกาสทางด้านนี้เลย

นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อธุรกิจโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิกโดยตรง เช่นการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีของการรับส่งสัญญาณภาพผ่านดาวเทียม ซึ่งแต่เดิมใช้ระบบ MMDS ซึ่งเป็นระบบที่ง่ายต่อการลักลอบการใช้สัญญาณ ต่อมามีการพัฒนามาใช้ระบบ DStv ซึ่งเป็นระบบที่มีการลักลอบการใช้สัญญาณได้ดีกว่า ในส่วนของการรับส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิ้ล ก็มีการพัฒนาจาก CAtv Analog มาเป็นระบบการส่งสัญญาณแบบ CAtv Digital ชึ่งเป็นระบบที่สามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงได้ดีกว่า

ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลดีต่อธุรกิจโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิก แต่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีก็เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเพียงผลกระทบเพียงด้านบวกเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบในด้านลบด้วย ดังเช่นการพัฒนาในเทคโนโลยีด้านการผลิตจานรับสัญญาณดาวเทียม ทำให้ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันมีการติดตั้งอย่างแพร่หลาย อีกทั้งกลุ่มลูกค้ายังเป็นกลุ่มลูกค้าเดียวกันกับกลุ่มลูกค้าของธุรกิจโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิก ซึ่งถ้าไม่มีการตระเตรียมมาตรการสำหรับรองรับที่ดีพอ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อฐานลูกค้าของธุรกิจโทรทัศน์แบบตอบรับเป็นสมาชิกอย่างแน่นนอน

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ