ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กรณีศึกษา:การวางแผนเชิงกลยุทธ์ บ.ubc ตอนที่ึ7

6.2 การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรพื้นฐาน (Resource-base Approach)
การวิเคราะห์ในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ถึงคุณภาพของทรัพยากรด้านต่างๆ ที่ ยูบีซี มี ว่า ทรัพยากรส่วนเป็นจุดแข่งและทรัพยากรส่วนใดเป็นจุดอ่อนขององค์กรโดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ส่วน คือ การวิเคราะห์ทรัพยากรด้านกายภาพ, ด้านทรัพยากรมนุษย์, ทรัพยากรทางการเงิน และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้
1.ทรัพยากรด้านกายภาพ(Physical Resource) ยูบีซี มีทรัพยากรในด้านนี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากทรัพย์กรประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรที่เกิดจากการลงทุนในด้านต้นทุนคงที่ และการประกอบธุรกิจด้านโทรทัศน์ ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่ในใช้ต้นทุนขั้นต้นสำหรับการดำเนินงานในอัตราที่สูง โดยเฉพาะการลงทุนในอุปกรณ์สำหรับการรับส่งสัญญาณ
2.ทรัพยากรมนุษย์(Human Resource) ปัจจุบัน ยูบีซี ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากบุคคล เนื่องจากพนังงานที่ดำเนินการติดตั้งและเชื่อมต่อการรับส่งสัญญาณให้กับสมาชิก ยังขาดความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อบริษัท ทำให้มีการลักลอบต่อสัญญาณให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
3.ทรัพยากรทางการเงิน (Financial Resource) ถือได้ว่า ยูบีซี มีฐานะทางการเงินอยู่ในขั้นดี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สภาพคล่องทางการเงิน, อัตราสภาพคล่องหมุนเร็ว, อัตราหมุนเวียนลูกหนี้, อัตรากำไรขั้นต้น, อัตรากำไรสุทธิ, อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยนับตั้งแต่มีการรวมกิจการกัน ส่วนระยะเวลาการเก็บหนี้เฉลี่ยก็มีแนวโน้มที่ลดลงเนื่องจากได้เปลี่ยนโยบายการให้สินเชื่อแก่สมาชิกให้เหมือนกับที่ยูบีซีใช้อยู่ เป็นผลให้สมาชิกที่ค้างชำระค่าบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดถูกตัดสัญญาณ กระบวนการดังกล่าวแล้วเสร็จในปลายปี 2541 ทำให้อายุลูกหนี้เฉลี่ยลดลงเป็นต่ำกว่า 30 วัน และสมาชิกที่เหลืออยู่เป็นสมาชิกที่บริษัทสามารถเก็บเงินได้ซึ่งเป็นตัวสะท้อนถึงศักยภาพในการหารายได้ของกลุ่มยูบีซีอย่างแท้จริง
4.ทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Resource) ยูบีซี ถือว่ามีข้อได้เปรียบสำหรับทรัพยากรในด้านนี้ เนื่องจาก ชื่อ ยูบีซี เป็นชื่อที่ติดตลาด มีผู้คนรู้จักและให้ความสนใจทั่วทั้งประเทศ ทำให้การดำเนินการประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆของ ยูบีซี สามารถทำได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายกว่า
ดังนั้น จึงสารถสรุปได้ว่า ยูบีซี มีข้อได้เปรียบค่อนข้างมากในด้านทรัพยากรพื้นฐานที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรด้านเทคโนโลยี, ทรัพยากรด้านการเงิน และชื่อเสียงขององค์กร อย่างไรก็ตาม ยูบีซี ยังคงมีจุดอ่อนในส่วนของทรัพยากรมนุษย์ ที่พนักงานยังขาดความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อบริษัท ส่งผลให้มีการทุจริตในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ การลักลอบติดตั้งสัญญาณ
6.3 การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน (Financial Issues)
การวิเคราะห์ในส่วนนี้ จะทำการวิเคราะห์ถึงอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ที่มีความสำคัญ เช่น สภาพคล่องทางการเงิน, อัตราสภาพคล่องหมุนเร็ว, อัตราหมุนเวียนลูกหนี้, อัตรากำไรขั้นต้น, อัตรากำไรสุทธิ, อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น เป็นต้น เนื่องจากการที่จะประกอบธุรกิจทุกอย่าง สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ คือ จะต้องมองถึงฐานะทางการเงินของตนเองว่ามีความแข็งแกร่งมากพอที่จะดำเนินการในด้านต่างๆ หรือไม่ ธุรกิจของ ยูบีซี ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งรายละเอียด อัตราส่วนทางด้านการเงินที่สำคัญของ ยูบีซี สรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 5.2 แสดงอัตราส่วนทางการเงิน
2546
2545
2544
ตัวเลขแสดงฐานะทางการเงิน
หน่วย
2003
2002
2001
สินทรัพย์รวม
ล้านบาท
7,817
7,856
8,145
หนี้สินรวม
ล้านบาท
6,390
6,619
6,673
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ล้านบาท
1,427
1,237
1,472
จำนวนหุ้นเฉลี่ย
ล้านหุ้น
744
742
741
รายได้รวม
ล้านบาท
7,178
6,779
5,858
ค่าใช้จ่ายรวม
ล้านบาท
6,689
6,588
6,750
กำไร(ขาดทุน) สุทธิ
ล้านบาท
131
-259
-1,437
อัตราส่วนสภาพคล่อง
อัตราส่วนสภาพคล่อง
เท่า
1.00
0.84
0.71
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว
เท่า
0.84
0.71
0.55
อัตราหมุนเวียนลูกหนี้
เท่า
22.57
18.48
15.65
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย
วัน
15.95
19.48
23.00
อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร
อัตรากำไรขั้นต้น
%
46.80%
43.55%
34.37%
อัตรากำไรสุทธิ
%
1.83%
-3.82%
-24.53%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
%
9.83%
-19.11%
-63.85%
อัตราส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม
%
2.00%
3.00%
17.00%
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์
เท่า
0.92
0.85
0.69
อัตราส่วนนโยบายทางการเงิน
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
เท่า
4.48
5.35
4.53
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย
เท่า
3.83
3.73
2.12
ข้อมูลต่อหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น
บาท/หุ้น
10
10
10
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
บาท/หุ้น
1.92
1.67
1.99
ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น
บาท/หุ้น
0.18
-0.35
-1.94
ขาดทุนเฉลี่ยสุทธิต่อหุ้น
บาท/หุ้น
0.18
-0.35
-1.94
เงินปันผลต่อหุ้น
บาท/หุ้น
0
0
0
อัตราส่วนการขยายตัว
รายได้จากการขายและบริการ
%
5.58%
17.75%
18.00%
ต้นทุนขายและบริการ
%
-0.50%
1.29%
18.15%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
%
13.74%
-3.06%
22.23%
กำไร(ขาดทุน) สุทธิ
%
150.60%
81.98%
30.96%
สินทรัพย์รวม
%
-0.49%
3.55%
-7.12%
หนี้สินรวม
%
-3.46%
-0.81%
16.22%
ที่มา:www.ubc.co.th
เมื่อพิจารณาจากตารางแสดงอัตราส่วนทางการเงินในข้างต้น พบว่า ในส่วนของอัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วและ อัตราหมุนเวียนลูกหนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้น การหมุนเวียนของเงินในส่วนดังกล่าวสามารถหมุนเวียนเร็วขึ้น ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับอัตราส่วนในการทำกำไรและอัตราส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ที่ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สามารถที่จะทำกำไรได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในส่วนของนโยบายการเงินที่ทาง ยูบีซี ใช้ในการดำเนินงานนั้น เป็นนโยบายการเงินแบบเงินลงทุนส่วนใหญ่ที่ใช้ในการดำเนินงานได้มาจากการขายตราสารทุนในตลาดทุน และบางส่วนเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งถึงแม้อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยจะยังอยู่ในสระดับต่ำ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต ก็พบว่า อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนในด้านของการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ลงทุนในตราสารทุนนั้น ถึงแม้ว่า การประกอบการในปีที่ผ่านมาจะมีกำไรจากการดำเนินการเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่การขาดทุนสะสมยังคงอยู่ในระดับสูง ปัจจุบันจึงยังไม่มีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผล

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ