ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบยุทธวิธีของกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติ

รูปแบบยุทธวิธีของกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ (Tactical aspects of strategy implementation) วิธีที่จะนำความต้องการหรือความปารรถนาขององค์การอย่างกว้าง ๆ มาปรับเปลี่ยนเป็นการกระทำที่มีความต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันโดยจะดูที่ลักษณะของเป้าหมายระยะสั้นและการกำหนดเป้าหมาย แต่องค์การจะใช้นโยบายและกลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้เป้าหมายระยะสั้นบรรลุผลสำเร็จ
เป้าหมายและกลยุทธ์ทั่วไป (Goals and general strategies)
กลยุทธเฉพาะและยุทธวิธีทั่วไป (Specific strategies and general tactics)
ยุทธวิธีเฉพาะ(Specific tactics)
การแปลภารกิจขององค์การให้เป็นการกระทำ (Transtating a firm’s mission into action) แม้ว่ากรรมวิธีในการปฏฺบัติจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกันจากแผนของบริษัทอื่นที่ประสบความสำเร็จของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

บริษัทโบอิ้ง





บริษัทฟอร์ดมอเตอร์





แผนกลยุทธ์ (Strategic plan) ของบริษัทฟอร์ดเหมือนกับแผนระยะยาว (Long-range plan) ของบริษัทโบอิ้ง และแผนธุรกิจ (Business plan) ของบริษัทฟอร์ด ก็คล้ายกับแผนแผนก (Division plan) ของบริษัทโบอิ้ง และงบประมาณของบริษัทฟอร์ดก็คล้ายกับแผนปฏิบัติ (Operating plan) ของบริษัทโบอิ้ง แม้ว่าชื่อของแผนจะแตกต่างกัน แต่การปฏิบัติเหมือนกัน พิจารณาได้จากขั้นตอนของงานในระดับต่าง ๆ ซื้อ สัมพันกับเรื่องเวลา
บริษัทฟอร์ด มั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหมดในบริษัทจะยึดติดกับกลยุทธ์หลัก ดังนั้นการพัฒนาการปฏิบัติจึงแปลงมาจากกลยุทธ์อย่างกว้าง ๆ และมีเหตุผล และความสำเร็จสามารถเห็นได้จากบริษัทใหญ่ที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน เช่น MSA ผู้ผลิตเครื่องบินมีโรงงานตั้งอยู่ที่ San Antonio Texas แสดงให้เห็นถึงการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ และแผนการปฏิบัติ ซึ่งทำให้บริษัทเล็กประสบความสำเร็จ
การพัฒนาวัตถุประสงค์ระยะสั้นที่มีความหมาย (Developing meaningful short-term objective) การพัฒนาแผนระยะสั้นมีผลต่อความสำเร็จหรือลมเหลวของกลยุทธ์ขององค์การ วัตถุประสงค์ระยะสั้นเปรียบเสมือยพื้นฐานเพื่อให้วัตถุประสงค์ระยะยาวประสบความสำเร็จ วัตถุประสงค์ระยะสั้นที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.เฉพาะเจาะจงและสามารถวัดได้
2.มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการทำให้งานสำเร็จ
3.สามารถบรรลุเป้าหมาย และมีความท้าทายเพียงพอที่จะทำให้เกิดความสนใจและจูงใจให้ผู้บริหารต้องการกระทำให้บรรลุเป้าหมาย ผลงานจะเพิ่มขึ้น ถ้าผู้บริหารได้รับการกระตุ้นให้บรรลุเป้าหมายที่เจาะจงและยากที่จะบรรลุแต่สามารถทำให้สำเร็จได้
วัตถุประสงค์ระยะสั้นต้องมีทิศทางที่เหมาะสม แต่องค์การจะต้องมีความยึดหยุ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายนอกอานจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้า ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้รวมถึง
1
.คู่แข่งขันที่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อมาทดแทนผลิตภัณฑ์เก่า
2.กฏหมายใหม่ซึ่งออกโดยรัฐบาล
3.การเปลี่ยนแปลงรถนิยมของผู้บริโภค
4.เหตุการณ์ทีไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
5.การลาออกหรือการเสียชีวิตของผู้บริหารระดับหลัก
6
.การทิ้งงาน
7.อุบัติเหตุในการผลิต
การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ องค์การจะต้องปรับเปลี่ยนวัตถุประสงระยะสั้นและระยะยาว เช่น
กรณีรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปะอาชา ได้ออกมาตรการควบคุมเงินเฟ้อกันสินค้าบางประเภท หรือออกกฤหมายควบคุมตลาดเงินตลาดทุนย่อมมีผลกระทบกับบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้นก็ได้รับผลกระทบ จึงทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ โดยการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว
แม้ว่าวัตถุประสงค์ระยะสั้นขององค์การจะคิดมารอบคอบเพียงใดก็ตาม ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ผู้บริหารจะต้องจัดสรรเวลาและความเอาใจใส่ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจนมีผลกระทบที่สำคัญต่อธุรกิจ
วัตถุประสงค์ระยะสั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้
1.มีประโยชน์ต่อกลยุทธ์โดยรวม
2.ต้องยึดติดหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระยะยาว และกลยุทธ์รวมขององค์การ ผู้บริหารจะต้องเอาแนวคิดระยะสั้นเป็นเสมือนกองหน้าของกิจกรรม แต่อยู่ภายในแผนงานระยะขององค์การ ผู้บริหารจะต้องเอาแนวคิดระยะสั้นเป็นเสมือนกองหน้าของกิจกรรม แต่อยู่ภายในแผนงานระยะยาวขององค์การ การรวมกลยุทธ์ขององค์การ การรวมกลยุทธ์ระยะสั้นและระยะยาว เป็นกลยุทธ์หนึ่งเดียวเป็นสิ่งที่จำเป็น การที่องค์การจะบรรลุความสำเร็จดังกล่าวจะต้องตระหนักในหลาย ๆ เรื่องที่สำคัญ และจะต้องคำนึงถึงความมีเหตุผลขององค์การ จึงจะเชื่องกลยุทธ์ทั้งสองเข้าด้วยกันได้
การยึดติดอย่างมีเหตุผล (Logical consistency) การยึดติดอย่างมีเหตุผลจะอ้างถึงความสามารถของวัตถุประสงค์ระยะสั้นให้วัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.ทำให้วัตถุประสงค์ระยะยาวเป็นตัวชี้นำวัตถุประสงค์ระยะสั้น
2.มั่นใจว่ามาตรการในระยะสั้นยังยึดติดกับวัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ ตัวอย่างของการแปลวัตถุประสงค์ระยะยาวเป็นระยะสั้น มีความสัมพันธ์กันระหว่างปลายของกลยุทธ์ระยะยาวกับความต้องการทางการเงินของแผนระยะสั้น การบรรลุเป้าหมายระยะยาว (Long-term goal) ในการขยายและการเจาะตลาด (Market penetration) การลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญ การหาทุนเป็นค่าใช้จ่ายอาจจะหาโดยการกู้หรือจากผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ตามการหาทุนก็ขึ้นอยู่กับผลปฏิบัติการในระยะสั้น หากผลกำไรต่อหุ้นสูง (Earning-per-share) จะทำให้การหาทุนจากภายนอกทำได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ