ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุป ลักษณะการกระจายธุรกิจ


ลักษณะกระจายธุรกิจ มีส่วนสำคัญ 4 ประการดังนี้
1.ทำการเคลื่อนที่เพื่อเข้าสู่ธุรกิจใหม่ (Marking the moves to enter new businesses)
2
.ริเริ่มการปฏิบัติเพื่อรวมการทำงานของธุรกิจที่กระจายธุรกิจเข้าไป (Initiating actions to boost the combined the combined performance of the businesses the firm has diversified into)
3
.หาวิธีที่จะสร้างพลังระหว่างหน่วยธุรกิจที่สัมพันธ์กันและเปลี่ยนเป็นการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Finding ways to capture the synergy among related business units and turn it into competitive advantage)
4
.จัดลำดับความสำคัญในการลงทุดและดึงทรัพยากรบริษัทเข้าสู่หน่วยธุรกิจที่ดึงดูดมาที่สุด (Establishing investment priorities and steering corporate resources into most attractive business units)
การทดสอบ
3 ประการสำหรับการตัดสินใจกระจายธุรกิจ (Three tests for judging a diversification move) ดังนี้
1.การทดสอบความดึงดูดใจ (Attractiveness test)
2
.การทดสอบต้นทุนของการเข้าสู่ธุรกิจ (The cost-of-entry test)
3
.การทดสอบสิ่งที่ดีกว่า (The better-off test)
กลยุทธ์การกระจายธุรกิจ (Diversification strategies) แนวทางของบริษัทสามารถเคลื่อนจากธุรกิจเดียวสู่ธุรกิจที่กระจาย การรวมตัวในแนวดิ่งอาจจะใช้การรวมตัวไปข้างหน้าหรือการรวมตัวไปข้างหลัง เพื่อสร้างตำแหน่งทางการแข่งขันที่แข็งแกร่งของธุรกิจ โดยมีทางเลือกกลยุทธ์การกระจายขั้นสุดท้าย 6 ประการดังนี้
1.การซื้อกิจการ (Acquisition) การเริ่มต้นใหม่ (Start-up) และการร่วมลงทุน (Joint ventures)
2
.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related businesses)
3.กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated businesses)
4
.กลยุทธ์การถอนตัว (Divestiture) และกลยุทธ์การเลิกดำเนินงาน (Liquidation)
5
.กลยุทธ์การปรับโครงสร้างใหม่ (Restructuring)
6
.กลยุทธ์การกระจายเป็นบริษัทนานาชาติ (Multinational)
กลยุทธ์ที่เหมาะสม การประหยัดจากขอบเขต และข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (strategic fit economies of scope and competitive advantage) กลยุทธ์ที่เหมาะสม (Strategic fit) สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันดังนี้
1.ลดต้นทุน
2.ส่งมอบทักษะ เทคโนโลยี ความชำนาญ และความรู้ด้านการบริหารจากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง
3.ใช้ชื่อตราสินค้าร่วมกัน
4.มีจุดแข็งด้านทรัพยากร และความสามารถทางการแข่งขัน ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Strategic  fit) จะใช้เครือข่ายการสร้างคุณค่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Technology fits) การดำเนินงานที่เหมาะสม (operating firs) การจัดจำหน่ายและความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหมาะสม (Distribution and customer-related fits) การบริหารที่เหมาะสม (Managerial firs)
การประเมินความดึงดูดของอุตสาหกรรม : โดยแบบทดสอบ 3 แบบ (Evaluating industry attractiveness : three tests) การประเมินความดึงดูดในอุตสาหกรรมมี 3 ด้าน คือ
1
.ความดึงดูดของแต่ละอุตสาหกรรมในกลุ่มธุรกิจ (The attractiveness of each industry represented in the business portfolio)
2
.ความดึงดูดของแต่ละอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับอุตสาหกรรมอื่น (Each industry’s attractiveness relative to the others)
3
.จัดอุตสาหกรรมที่ดึงดูดทั้งหมดเข้าเป็นกลุ่ม (The attractiveness of all the industries as a group)
การประเมินความดึงดูดของแต่ละอุตสาหกรรมที่บริษัทจะมีการกระจายธุรกิจเข้าไป (Evaluating the attractiveness of each industry the company has diversified into) มีลักษณะดังนี้
1.ขนาดของตลาดและอัตราการเจริญเติบโตที่พยากรณ์ (Market size and projected growth rate)
2
.ความเข้มข้นในการแข่งขัน (The intensity of competition)
3
.การเกิดโอกาสและอุปสรรค (Emerging opportunities and threats)
4
.ปัจจัยด้านฤดูการและวัฏจักรธุรกิจ (Seasonal and cyclical factors)
5
.ความต้องการการลงทุน และความต้องการทรัพยากรพิเศษอื่น ๆ (Capital requirement and other special resource requirements)
6
.กลยุทธ์และทรัพยากรที่เหมาะสมในปัจจุบันของธุรกิจ (Strategic fits and resource fits with the firm’s present businesses)
7
.ความสามารถในการหากำไรจากอุตสาหกรรม (Industry profitability)
8
.ปัจจัยด้านสังคม การเมือง ข้อบังคับ และสภาพแวดล้อม (social, political, regulatory and environmental factors)
9
.ระดับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Degree of risk and uncertainty)
การประเมินจุดแข็งใจการแข่งขันของหน่อยธุรกิจของบริษัท ควรมีพื้นฐานจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบ (Relative market share)
2
.ความสามารถที่จะแข่งขันด้านต้นทุน (Ability to compete on cost)
3
.ความสามารถที่จะแข่งขันด้านคุณภาพและ/หรือบริการ (Ability to match industry rivals on quality and/or service)
4
.ความสามารถในการมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือลูกค้าที่สำคัญ (Ability to exercise bargaining leverage with key suppliers of costomers)
5
.ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัติกรรม (Technology and innovation capabilities)
6
.สินทรัพย์และความสามารถทางการแข่งขันของหน่วยธุรกิจซึ่งใช้เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นอย่างไร (How well the business unit’s competitive assets and competencies match the industry key success factors)
7
.การยอมรับและความมีชื่อเสียงในซื่อตราสินค้า (Brand-name recognition and reputation)
8
.ความสามารถในการสร้างกำไรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน (Profitability relative to competitors)
การวิเคราะห์ทรัพยากรที่เหมาะสม : การตัดสินใจว่าทรัพยากรของบริษัทมีความเหมาะสมอย่างไรกับความต้องการของหน่วยธุรกิจ (Resource fit analysis : determining how well the firm’s resources match business unit requirements) มีดังนี้
1.การตรวจสอบความเหมาะสมด้านทรัพยากรการเงิน : ธุรกิจที่ไม่ทำเงินและทำเงิน (Checking financial resource fit : cash hog and cash cow businesses)
2
.ตรวจสอบความเหมาะสมด้านการแข่งขันและทรัพยากรการบริหาร (Checking competitive and managerial resource fits)
การสร้างความเชี่ยวชาญกลยุทธ์ระดับบริษัท (Crafiting a corporate strategy) มีดังนี้
1.การทดสอบผลการทำงาน (Performance test)
2
.การระบุโอกาสการกระจายธุรกิจเพิ่มเติม (Identifying additional diversification opportunities)

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ