ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การสร้างความเชี่ยวชาญกลยุทธ์ระดับบริษัท


การสร้างความเชี่ยวชาญกลยุทธ์ระดับบริษัท (Crafting a corporate strategy) เป็นการวิเคราะห์กลยุทธ์ด้ายความเชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของบริษัทที่มีการกระจายทั้งหมดสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือ
1.บริษัทมีธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ดึงดูดมากเพียงพอหรือไม่
2.มีความแตกต่างระหว่างธุรกิจที่เติบโตเต็มที่และธุรกิจที่ถอดถอยมากหรือไม่
3.ฤดูกาลมีอิทธิพลต่อธุรกิจของบริษัทหรือไม่
4.ภาระของบริษัทที่มีต่อธุรกิจต่าง ๆ มากเกินไป จนทำให้บริษัทมีตำแหน่งการแข่งขันที่อ่อนแอหรือไม่
5.มีความเหมาะสมด้านกลยุทธ์ระหว่างธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทหรือไม่
6.กลุ่มธุรกิจมีธุรกิจซึ่งบริษัทไม่ได้ต้องการอย่างแม้จริงหรือไม่
7.มีความเหมาะสมด้านทรัพยากรระหว่างหน่วยธุรกิจของบริษัทหรือไม่
8.บริษัทมีธุรกิจที่ทำเงิน(Cash cows)เพียงพอกับธุรกิจที่ไม่ทำเงิน (Cash hog)หรือไม่
9.ธุรกิจที่สำคัญของบริษัทหรือธุรกิจหลักสามารถสร้างกำไรและกระแสเงินสดหรือไม่
10.การสร้างกลุ่มธุรกิจทำให้บริษัทอยู่ในตำแหน่งที่ดีในอนาคตหรือไม่
คำตอบของคำถามเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้ว่ากลยุทธ์ระดับบริษัทควรได้รับการพิจารณาว่าควรจะถอนธุรกิจบางธุรกิจ ทำการซื้อธุรกิจใหม่ วางโครงสร้างกลุ่มธุรกิจใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดสรรทรัพยากรของบริษัท หรือเข้มงวดในสายธุรกิจที่มีอยู่ และติดตามโอกาสที่ธุรกิจได้นำเสนอ
1.การทดสอบผลการทำนาย(performance test) การทดสอบที่ดีด้านกลยุทธ์และความดึงดูดด้านการเงินของกลุ่มธุรกิจของบริษัทที่มีการกระจายคือ บริษัทสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานของสายงานปัจจุบันของธุรกิจ และขีดความสามารถด้านทรัพยากร ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ที่สำคัญระดับบริษัท อย่างไรก็ตามถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ดังนี้
1.แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนกลยุทธ์บางส่วน (หรือทั้งหมด) ในกลุ่มธุรกิจ
2.เพิ่มหน่วยธุรกิจใหม่เข้าในกลุ่มธุรกิจ
3.ถอนธุรกิจที่มีการปฏิบัติงานอ่อนแอหรือเป็นการลงทุนที่สุญเปล่า
4.สร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อทำให้เกิดศักยภาพในการปฏิบัติงาน
5.ยกระดับฐานทรัพยากรของบริษัท
6.กำหนดจุดมุ่งหมายการปฏิบัติงานของบริษัทให้ต่ำลง

2.การระบุโอกาสการกระจายธุรกิจเพิ่มเติม (Identifying additional diversification opportunities) บริษัทที่มีการกระจายประกอบด้วย การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated diversification) และการกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification) โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1.การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated diversification) อาจพิจารณาว่าจะกระจายธุรกิจใดเป็นลำดับถัดไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับโอกาสทางการเงินและทรัพยากรทางการเงินที่ดีกว่า การตัดสินใจเพื่อรวมธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน มีพื้นฐานในการพิจารณาดังนี้
1.บริษัทมีความสามารถด้านการเงินเพื่อซื้อธุรกิจใหม่อีกหนึ่งธุรกิจได้หรือไม่
2.ธุรกิจที่ได้มาใหม่จำเป็นต้องมีการผลักดันเพื่อสมรรถนะของบริษัทหรือไม่
3.โอกาสได้ธุรกิจใหม่มาหนึ่งธุรกิจต้องดำเนินก่อนที่บริษัทอื่นจะซื้อไปหรือไม่
4.จังหวะเวลาเหมาะสมสำหรับการซื้ออีกธุรกิจหนึ่งหรือไม่
5.การบริหารของบริษัทมีความเชียวชาญที่จะบริหารธุรกิจที่เพิ่มเข้ามาได้หรือไม่
2.2 การกระจายธุรกิจที่สัมพันธ์กัน (Related diversification) เป็นการแสวงหาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อรวมเข้าสู่ธุรกิจอื่นซึ่งสิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ
1.กิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) มีความเหมาะสมกับเครือข่ายการสร้างคุณต่าของธุรกิจอื่น ๆ ในกลุ่มธุรกิจของบริษัทหรือไม่
2.ความต้องการทรัพยากรจะสอดคล้องกันกับขีดความสามารถด้านทรัพยากรของบริษัทหรือไม่
การรวบรวมโอกาสความเหมาะสมด้านกลยุทธ์ และความเหมาะสมด้านทรัพยากรที่ดึงดูดในอุตสาหรรมใหม่เข้าด้วยกันนั้น ผู้นำกลยุทธ์ระดับบริษัทจะต้องพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างศักยภาพ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีอยู่ ความเหมาะสมด้านกลยุทธ์ และความเหมาะสมด้านทรัพยากร ซึ่งเป็นสิ่งมีคุณ่าที่จะสามารถทำกำไรได้ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสำคัญของการแข่งขัน ต้นทุน และความยากของการเกิดใหม่ หรือความร่วมมือของหน่วยธุรกิจ

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ