ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตรวจสอบศักยภาพข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน


การวิเคราะห์กลยุทธ์ที่เหมาะสม : การตรวจสอบศักยภาพข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Strategic-fit analysis) การวิเคราะห์ลำดับถัดไปก็คือการพิจารณาถึงศักยภาพโอกาสการแข่งขัน ความสัมพันธ์ในกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) และกลยุทธ์ที่เหมาะสม ระหว่างธุรกิจที่มีอยู่ของบริษัท ความเหมาะสม (Fit) จะต้องพิจารณา 2 ด้านคือ (1) หน่วยธุรกิจหนึ่งหน่วยหรือหลายหน่วยมีกลยุทธ์ความเหมาะสมที่มีคุณค่ากับธุรกิจอื่นของบริษัทที่มีการกระจายหรือไม่ (2) แต่ละหน่วยธุรกิจอยู่ในขอบข่ายที่ดีกับทิศทางกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทหรือไม่
เมื่อกลุ่มธุรกิจของบริษัทรวมทั้งสาขาทีเทคโนโลยีสัมพันธ์กันมีกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) ที่คล้ายกัน มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหลื่อมกัน มีลูกค้าธรรมดา หรือมีความสัมพันธ์ด้านคุณค่าการแข่งขันอื่น ๆ บางอย่าง ธุรกิจเหล่านี้จะสามารถเพิ่มศักยภาพโอกาสการแข่งขันโดยไม่เข้าสู่การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง หากธุรกิจมีการใช้กลยุทธ์ความเหมาะสมคุณค่าทางการแข่งขันโดยไม่เข้าสู่การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิง หากธุรกิจมีการใช้กลยุทธ์ความเหมาะสมคุณค่าทางการแข่งขันมากขึ้นก็จะมีศักยภาพในการกระจายมากขึ้น สำหรับการคำนึงถึงการประหยัดจากขอบเขต (Economies of scope) จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของหน่วยธุรกิจเฉพาะ สร้างจุดแข็งทางการแข่งขันในสายธุรกิจและผลิตภัณฑ์ และสร้างความสมดุลในทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานให้เพิ่มขึ้นได้
ส่วนที่จำเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินกลยุทธ์ของบริษัทที่มีการกระจาย คือตรวจสอบกลุ่มธุรกิจสำหรับการแข่งขันเพื่อเปรียบเทียบการสร้างเครือข่ายคุณค่ากับธุรกิจต่าง ๆ ในประเด็นต่อไปนี้
1.หน่วยธุรกิจใดสามารถเปรียบเทียบการสร้างเครือข่ายคุณค่า (Value chain) ซึ่งให้โอกาสเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมที่สัมพันธ์กันของผลการปฏิบัติงานและลดต้นทุน
2.หน่วยธุรกิจใดสามารถเปรียบเทียบกับกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) ซึ่งให้โอกาสการถ่ายโอนทักษะหรือเทคโนโลยีจากธุรกิจหนึ่งสู่ธุรกิจหนึ่ง
3.หน่วยธุรกิจใดให้โอกาสใช้ชื่อตราสินค้าเพื่อเพิ่มความสมดุลกับผู้จัดจำหน่าย / ตัวแทนจำหน่าย เป็นการสร้างความพอในใจผลิตภัณฑ์ของบริษัท
4.หน่วยธุรกิจใดสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายการสร้างคุณค่าซึ่งให้โอกาสสร้างขีดความสามารถ การแข่งขันใหม่ที่มีคุณค่าหรือถ่วงดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ