ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การจัดอันดับหน่วยธุรกิจโดยถือเกณฑ์การทำงานในอดีตและความมุ่งหวังในอนาคต


การจัดอันดับหน่วยธุรกิจโดยถือเกณฑ์การทำงานในอดีตและความมุ่งหวังในอนาคต (Ranking the business units on the basis of past performance and future prospects) ขั้นแรกของธุรกิจที่มีการกระจายจะมีการจัดระดับด้วยปัจจัยต่อไปนี้ คือ ความดึงดูดด้านอุตสาหกรรม (Industry attractiveness) จุดแข็งทางการแข่งขัน (competitive strength) ความเหมาะสมเชิงกลยุทธ์ (strategic fit) และความเหมาะสมด้านทรัพยากร (Resource fit) ขั้นต่อไปจะประเมินว่าธุรกิจใดมีผลการปฏิบัติงานดีที่สุด และธุรกิจใดมีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดี โดยใช้ปัจจัยที่สำคัญต่อไปนี้ในการพิจารณา คือ การเติบโตของยอดขาย (Sales growth) การเติบโตด้านกำไร (Profit growth) การกระจายสู่การมีรายได้ของบริษัท (Contribution to company earnings) และผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจ (Return on capital invested in the business) บางครั้งธุรกิจอาจใช้กระแสเงินสดเป็นปัจจัยในการพิจารณาศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจด้วย
การปฏิบัติงานในอดีตของธุรกิจสามารถพิจารณาได้จากข้อมูลทางการเงิน (Financial records) ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เครื่องชี้ที่ดีของผลการปฏิบัติงานในอนาคต แต่ก็เป็นสัญญาณว่าธุรกิจใดมีการปฏิบัติงานที่แข็งแกร่งและธุรกิจใดมีผลการปฏิบัติงานที่อ่อนแอ ดังนั้นอุตสาหกรรมที่มีความดึงดูด ควรมีพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อการแข่งขันในอนาคต
การเจริญเติบโตและผลกำไรของธุรกิจที่มีการกระจาย หรือธุรกิจที่สำคัญ โดยปกติจะพิจารณาว่ากลุ่มธุรกิจใดมีผลการปฏิบัติงานที่ดี ปานกลาง หรือไม่ดี เพื่อบริษัทจะได้จัดสรร หรือช่วยเหลือด้านทรัพยากรให้กับสาขาธุรกิจที่มีกำไรดีที่สุด และคาดหวังว่าจะเติบโตมากเป็นอันดับแรก
การตัดสินใจด้านการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการจัดสรรทรัพยากร และทิศทางกลยุทธ์ของแต่ละหน่วยธุรกิจ
การตัดสินใจด้านการจัดลำดับก่อนหลังในการจัดสรรทรัพยากร และทิศทางกลยุทธ์ของแต่ละหน่วยธุรกิจ
(Deciding on resource allocation priorities and a general strategic direction for each business unit) การใช้ข้อมูลและผลของขั้นตอนการประเมินที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วางกลยุทธ์ระดับบริษัทสามารถตัดสินใจว่าธุรกิจควรได้รับการจัดสรรทรัพยากรเป็นอันดับต้น ๆ และวางทิศทางกลยุทธ์ทั่วไปสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อสรุปว่าหน่วยธุรกิจใดควรอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านทรัพยากรของบริษัทและการลงทุนใหม่ และธุรกิจใดควรได้รับหลังสุด ดังนั้นในการจัดอันดับ (Ranking) จึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษว่าจะใช้ทรัพยากรของบริษัทและขีดความสามารถอย่างไรเพื่อเพิ่มการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ
การจัดระดับธุรกิจจากสูงสุดสู่ต่ำสุด ควรมีการบริหารที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับหน่วยธุรกิจแต่ละหน่วยที่ควรจะเป็น ได้แก่
1.การลงทุนและการเจริญเติบโต (Invest-and grow) เป็นการขยายเชิงรุก
2.การสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจ และการป้องกัน (Fortify-and-defend) เป็นการปกป้องตำแหน่งปัจจุบันโดยการทำให้แข็งและเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรในขอบข่ายที่จำเป็น
3.การปรับเปลี่ยนและกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจ) ใหม่ (Overhaul-and-reposition) เป็นการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การแข่งขันที่สำคัญเพื่อผลักดันธุรกิจเข้าสู่ตำแหน่งอุตสาหกรรมที่แข็งแรงกว่า
4.การเก็บเกี่ยวและการถอนธุรกิจ (Harvest-divest) ในการตัดสินใจว่าจะถอนธุรกิจใด ผู้จัดการบริษัทควรต้องใช้เกณฑ์ต่อไปนี้คือ ความดึงดูดในอุตสาหกรรม (Industry attractiveness) จุดแข็งทางการแข่งขัน (Competitive strength) กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจอื่น (Strategic fit with other businesses) ความเหมาะสมด้านทรัพยากร (Resource fit) ศักยภาพในการทำงาน (Performance potential) ความเข้ากันได้กับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ และทิศทางในระยะยาว (Compatibility with the companies strategic vision and long-term direction) และความสามารถที่จะสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้น (Ability to contribute to enhanced shareholder value)
การทำให้ได้ผลการปฏิบัติในระดับสูงขึ้นของกลุ่มธุรกิจที่มีการกระจาย ผู้จัดการบริษัทต้องทำงานที่มีประสิทธิผล เพื่อเพิ่มการใช้ทรัพยากรให้มีคุณค่ามากที่สุด ดังนั้นการถอนธุรกิจจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเพื่อทำให้สินทรัพย์ที่ไม่มีการผลิตมีอิสระสำหรับการขยายตัดใหม่ ทุนจากธุรกิจที่มีกำไรและธุรกิจที่กำลังเติบโตจะเป็นส่วนเพิ่มเข้าเป็นทรัพย์สินของบริษัท ทางเลือกสำหรับการจัดสรรทรัพยากรการเงินของบริษัทที่กระจาย มีดังนี้
1.การลงทุนเพื่อทำให้ธุรกิจแข็งขึ้น หรือขยายธุรกิจที่มีอยู่
2.ซื้อธุรกิจใหม่เพื่อสร้างตำแหน่งในอุตสากรรมใหม่
3.จัดเงินทุนระยะยาวในแผนก R&D
4.ชำระหนี้ที่มีอยู่ออกไป
5.เพิ่มเงินปันผล
6.ซื้อหุ้นของบริษัทกลับมาใหม่
โดย
3 ข้อแรกเป็นกลยุทธ์ที่เพิ่มคุณค่าผู้ถือหุ้น ส่วน 3 ข้อหลัง เป็นการเคลื่อนย้ายด้านการเงินเพื่อเพิ่มคุณค่าผู้ถือหุ้น

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ