ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประเมินกลยุทธ์

การวางแผนและการปฏิบัติตามแผนเพื่อปรับปรุงความดึงดูดและจุดแข็งในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นกลยุทธ์สำคัญของผู้จัดการระดับบริษัท การวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทมีการกระจายธุรกิจจะต้องเริ่มสร้างแนวความคิด และวิธีการสำหรับบริษัทธุรกิจเดียว (Single-business) วิธีดำเนินงานสำหรับการวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัทที่มีการกระจายธุรกิจคือ ต้องใช้การประเมินความดึงดูดของอุตสาหกรรม (Evaluating the attractiveness) ของบริษัทที่กระจายเข้าไป การประเมินจุดแข็งด้านการแข่งขัน (Evaluating the competitive strength) ศักยภาพการทำงานของธุรกิจ (performance potential) ตลอดจนการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ในการดำเนินการ ซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัทในปัจจุบัน (Identifying the present corporate strategy) บริษัทใช้การกระจายแบบสัมพันธ์กันหรือไม่สัมพันธ์กัน หรือประสม ลักษณะและจุดมุ่งหมายของการซื้อบริษัทตลอดจนการถอนตัวของบริษัท
2.การประยุกต์ใช้การทดสอบความดึงดูดในอุตสาหกรรม (Applying the industry attractiveness test) เป็นการประเมินสิ่งดึงดูดของอุสาหกรรมในระยะยาว
3.การประยุกต์ใช้การทดสอบจุดแข็งในการแข่งขัน (Applying the competitive strength test) เป็นการประเมินจุดแข็งด้านการแข่งขันของหน่วยธุรกิจของบริษัท เพื่อพิจารณาว่าหน่วยธุรกิจใดมีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมใดบ้าง
4.การประยุกต์ใช้การทดสอบกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Applying the strategic fit test) เพื่อพิจารณาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) และกลยุทธ์ที่เหมาะสมระหว่างธุรกิจที่มีอยู่
5.การประยุกต์ใช้การทดสอบทรัพยากรที่เหมาะสม (Applying the resource fit test) เพื่อพิจารณาจุดแข้งด้านทรัพยากรของบริษัท เปรียบเทียบกับความต้องการทรัพยากรในสายธุรกิจในปัจจุบันว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
6.การจัดลำดับธุรกิจจากสูงที่สุดสู่ธุรกิจต่ำที่สุด โดยพิจารณาจากพื้นฐานทั้งด้านประวัติผลการทำงาน และการคาดหวังในอนาคต (Ranking the business from highest to lowest on the basis of both historical performance and future prospects)
7
.การจัดลำดับหน่วยธุรกิจในรูปของความสำคัญก่อนหลังในการจัดการทรัพยากร (Ranking the business units in terms of priority for resourse allocation) เป็นการพิจารณาลักษณะของกลยุทธ์สำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจว่าควรขยายตัวเชิงรุก มีความแข็งแรง มีการป้องกัน ต้องการปรับปรุง ต้องเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความเจริญก้าวหน้า หรือการถอนตัวหรือไม่
8.การใช้ความชำนาญในกลยุทธ์ใหม่เพื่อปรับปรุงการทำงานทั้งหมดของบริษัท (Crafiting new strategic moves to improve overall corporate performance) การเปลี่ยนแลงกลุ่มธุรกิจ การซื้อธุรกิจใหม่ และ/หรือ การเลิกดำเนินงาน การปรับปรุงความร่วมมือระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ หรือหน่วยธุรกิจที่สัมพันธ์กันนั้น มีจุดมุ่งหมายคือ ต้องการบรรลุความสำเร็จ โดยมีการแบ่งปันต้นทุนมากขึ้น มีการถ่ายโอนทักษะและนำทรัพยากรของบริษัทเข้าสู่ขอบเขตที่ทำให้เกิดโอกาสมากที่สุด

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ