ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่อ่อนแอ

กลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่อ่อนแอ (Strategies for weak businesses) เป็นธุรกิจที่อยู่ในตำแหน่งทางการแข่งขันตกต่ำ มีทางเลือกกลยุทธ์พื้นฐาน 4 อย่าง ดังนี้คือ
1.ถ้าบริษัทมีทรัพยากรทางการเงินเพียงพอ บริษัทจะใช้กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนเชิงรุก (Offensive turnaround strategy) ซึ่งอาจจะเป็นแนวคิดต้นทุนต่ำ (Low-cost) หรือสร้างความแตกต่างใหม่ (New differentiation)
2
.ใช้กลยุทธ์ทำให้แข็งแกร่งด้วยการสร้างและปกป้อง (Fortify and defend strategy) การใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันหลาย ๆ อย่าง และมีการต่อสู้เพื่อรักษายอดขาย ส่วนครองตลาด กำไร และตำแหน่งการแข่งขันในปัจจุบัน
3.ใช้กลยุทธ์เลิกทันที (Immediate abandonment strategy) ดัวยการออกจากธุรกิจทั้งหมดโดยการขายให้บริษัทอื่น หรือ ปิดกิจการในกรณีที่หาผู้ซื้อไม่ได้
4.บริษัทอาจใช้กลยุทธ์เก็บเกี่ยว (Harvest strategy)

กลยุทธ์การเก็บเกี่ยว (A harvest strategy)
เป็นกลยุทธ์การคงสภาพเดิม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนให้ต่ำที่สุดและพยายามทำกำไรระยะสั้นให้สูงที่สุด กลยุทธ์การเก็บเกี่ยวใช้สำหรับธุรกิจที่มีความอ่อนแอภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้
1.เมื่อกลุ่มลูกค้ามุ่งหวังในระยะยาวของอุตสาหกรรมไม่เป็นที่ดึงดูดใจ
2.เมื่อการทำให้ธุรกิจฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ จะต้องลงทุนมากเกินไป
3.เมื่อส่วนครองตลาดของบริษัทจะต้องใช้การลงทุนมากขึ้นเพื่อรักษาตำแหน่งหรือป้องกันคู่แข่งขัน
4.เมื่อลดความพยายามทางการแข่งขันแล้วไม่ทำให้ยอดขายตก
5.เมื่อธุรกิจไม่มีความสำคัญ หรือเป็นธุรกิจที่ไม่เจริญเติมโตสำหรับบริษัทที่มีการขยายตัว
6.เมื่อธุรกิจไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่ต้องการ เช่น ความมั่นคงของยอดขาย ความภูมิใจ

กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนสำหรับธุรกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤต (Turnaround strategies for business in crisis)
กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนจำเป็นต้องใช้เมื่อธุรกิจกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด การจัดการประการแรกก็คือ วิเคราะห์ว่าอะไรบ้างเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลการปฏิบัติงานตกต่ำ สาเหตุทั่วไปของปัญหาที่ทำให้เกิดความลำบากหรือภาวะวิกฤตจะรวมถึง
1.การมีหนี้สินมาก
2.การประเมินศักยภาพการเจริญเติบโตด้ายยอดขายสูงเกินไป
3.การไม่มีกำไร
4.ใช้ความพยายามเชิงรุกมากเกินไป ตัวอย่าง การแย่งส่วนครองตลาดด้วยการตัดราคา ทำให้มีภาระด้านต้นทุนคงที่หนัก เนื่องจากไม่สามารถที่จะทำให้โรงงานมีขีดความสามารถที่จะทำประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
5.หลีกเลี่ยงการลงทุน
6.ความพยายามผลักดันตำแหน่งการแข่งขันเพื่อความสามารถในการทำกำไร
7.ความล้มเหลวในนวัตกรรม
8.มีความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี
9.มองการเข้าสู่ตลาดใหม่ในแง่ดีเกินไป
10.ใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงบ่อย เพราะกลยุทธ์เก่าใช้ไม่ได้ผล
11.ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสู้คู่แข่งขันไม่ได้

การแก้ปัญหาเหล่านี้และการผลักดันบริษัทให้กลับสู่สภาพที่ดีขั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1.การขายสินทรัพย์เพื่อให้ได้เงินสดมารักษาส่วนของธุรกิจที่ยังคงเหลืออยู่
การขายสินทรัพย์
(Selling of assets) การลดสินทรัพย์ หรือการใช้กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment strategies) เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อกระแสเงินสดอยู่ใจภาวะวิกฤติ ซึ่งอาจทำได้โดย
1.การขายสินทรัพย์บางอย่าง
2.การตัดทอน เช่น ตัดผลิตภัณฑ์บางรายการในสายผลิตภัณฑ์ ปิดหรือขายโรงงานที่เก่า ลดกำลังแรงงาน ถอนทำเลตลาดที่อยู่ห่างไกล ตัดการให้บริการลูกค้า เป็นต้น บางครั้งบริษัทที่อยู่ในสภาวะวิกฤตจะขายสินทรัพย์บางส่วน เพื่อไม่ให้ต้องปิดกิจการ มีการเพิ่มทุนเพื่อรักษาธุรกิจไว้ และทำให้จุดแข็งของธุรกิจยังคงอยู่

2.ทบทวนกลยุทธ์ที่กำลังใช้อยู่
ทบทวนกลยุทธ์ที่กำลังใช้อยู่
(Strategy revision) ผลการปฏิบัติงานที่อ่อนแอ จะมีสาเหตุมาจากกลยุทธ์ที่ไม่ดี งานปรับปรุงกลยุทธ์อาจต้องทำหลายอย่าง คือ
1.ใช้วิธีเปลี่ยนการแข่งขันใหม่เพื่อสร้างตำแหน่งตลาดของบริษัท
2.ปรับปรุงกลยุทธ์ดำเนินงานภายในใหม่ สร้างขีดความสามารถด้านทรัพยากรและใช้กลยุทธ์ด้านหน้าที่
3.การรวมบริษัทอื่นและสร้างกลยุทธ์ใหม่
4.ตัดทอนรายจ่ายในการผลิตให้สอดคล้องกันทรัพยากรของบริษัท

3.เปิดตัวธุรกิจใหม่ (ผลิตภัณฑ์ใหม่) เพิ่มรายได้
เป็ดตัวธุรกิจใหม่ (ผลิตภัณฑ์ใหม่) เพิ่มรายได้
(Launching) : กระตุ้นยอดขาย (Boosting revenues) ความพยายามเพิ่มรายได้ก็คือ การสร้างเป้าหมายเพิ่มปริมาณยอดขาย ซึ่งมีทางเลือกหลายทางได้แก่
1.ตัดราคา
2.เพิ่มการส่งเสริมการตลาด
3.เพิ่มหน่วยงานขายให้มากขึ้น
4.เพิ่มการบริการลูกค้า
5.ปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว
ความพยายามที่จะเพิ่มรายได้และปริมาณการขายเป็นสิ่งจำเป็น วิธีการที่รวดเร็วที่สุดคือ พยายามเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาที่สั้น

4.ใช้วิธีลดต้นทุน
ใช้วิธีลดต้นทุน
(Cost reduction) และการตัดต้นทุน (Cutting cost) กลยุทธ์การลดต้นทุนเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เมื่อเครือข่ายสร้างคุณค่าและโครงสร้างต้นทุนของบริษัทที่อ่อนแอมีความยืดหยุ่นพอที่จะแก้ไขได้

5.ใช้ความพยายามหลายประการข้างต้นร่วมกัน
การใช้ความพยายามหลาย ๆ วิธี
(Combination efforts) วิธีนี้จะใช้ในสถานการณ์ที่ร้ายแรง ซึ่งต้องการการปฏิบัติการแบบเร่งด่วน

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ