ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์สำหรับผู้นำอุตสาหกรรม

กลยุทธ์สำหรับผู้นำอุตสาหกรรม (Strategies for industry leaders) ตำแหน่งการแข่งขันของผู้นำอุตสาหกรรมโดยทั่วไปจะมีช่วงที่แข็งแกร่งกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ผู้นำที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจะใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Low-cost leadership) หรือการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ผู้นำอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงคือ Anheurser-Busch (เบียร์) Intel (Microprocessors) McDonald’s (Fast food) Gillette (ใบมีดโกน) เป็นต้น กลยุทธ์หลักที่เกี่ยวข้องกับผู้นำคือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำไว้ได้ กลยุทธ์ที่สำคัญของผู้นำอุตสาหกรรมมี 3 ประการ ดังนี้

1.การมุ่งที่กลยุทธ์เชิงรุก (stay-on-the-offensive strategy) กลยุทธ์นี้ยึดหลักที่ว่า การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรุกรานที่ดี ผู้นำที่ยึดกลยุทธ์เชิงรุกจะมุ่งที่การเคลื่อนไหวสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (ต้นทุนต่ำหรือการสร้างความแตกต่าง) เป็นอันดับแรกเพื่อทำให้เกิดทำให้เกิดโอกาสทางการแข่งขัน (ต้นทุนที่ต่ำกว่าหรือมีความแตกต่าง) และเพื่อเสริมแรงการมีชื่อเสียงในความเป็นผู้นำ ผู้นำในอุตสาหกรรมจะต้องสร้างความแข็งแกร่งในตำแหน่งทางการแข่งขันใสระยะยาวให้ได้ด้วยกลยุทธ์ที่มุ่งที่การรุกอย่างเข้มข้น (Aggressive offense) หรือการป้องกันอย่างเข้มข้น (Aggressive defense) และทำให้คู่แข่งขันรายย่อยเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้เลียนแบบผู้นำ

2.กลยุทธ์การทำให้แข็งแกร่งและการป้องกัน (Fortify-and-defend strategy) เนื่องจากธุรกิจใหม่ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อเข้าสู่การเป็นผู้ท้าชิง เป้าหมายของกลยุทธ์การป้องกันอย่างเข้มแข็งคือ ป้องกันส่วนครองตลาดเอาไว้ให้ได้ด้วยการสร้างความแข็งแกร่งของตลาดในปัจจุบัน และการป้องกันข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน กลยุทธ์การป้องกันมีดังนี้
1.การพยายามเพิ่มข้อได้เปรียบให้สูงกว่าผู้ท้าชิงโดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านการโฆษณา บริหารลูกค้าให้มีระดับสูงขึ้น และมีการทำการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น
2.นำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้าให้มากขึ้น เพื่อปิดช่องว่างของความต้องการของผุ้ที่บริโภคในผลิตภัณฑ์ของผู้ท้าชิงในตลาด แม้ว่าจะเป็นช่องว่าในตลาดส่วนเล็กก็ตาม
3.เพิ่มการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะตัวและสิ่งพิเศษอื่น ๆ ซึ่งทำให้ลุกค้ามีความจงรักภักดี(Loyalty) และทำให้ลูกค้ายากลำบากต่อการที่จะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน
4.รักษาระดับราคาให้สมเหตุสมผลและดึงดูดด้วยคุณภาพสินค้า
5.การสร้างความสามารถใหม่ ๆ สำหรับความต้องการซื้อในตลาดเพื่อป้องกันคู่แข่งขันรายย่อยไม่ให้เข้ามาแข่งขัน
6.มีการลงทุนที่เพียงพอสร้างข้อได้เปรียบด้านต้นทุนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
7.การให้สิทธิบัตรที่เป็นไปได้ในด้านเทคโนโลยี
8.เซ็นต์สัญญาผูกขาดกับผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้จัดจำหน่าย และตัวแทนจำหน่ายที่ดีที่สุด

3.กลยุทธ์การติดตามผู้นำ (Follow-the-leader strategy) ด้วยกลยุทธ์นี้ ผู้นำจะสามารถใช้กำลังการแข่งขันของตนเองเพื่อกระตุ้นบริษัทผู้แข่งขันให้เป็นผู้ตามมากกว่าผู้ท้าชิงเชิงรุก บริษัทผู้นำจะทำการแข่งขันอย่างมากเมื่อคู่แข่งขันรายเล็ก ๆ ตัดราคาหรือทำการรุกรานตลาดใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการถูกคุกคามตำแหน่งผู้นำ การโต้ตอบจำเพาะจะรวมถึงการจับคู่อย่างรวดเร็ว และบางทีใช้กลยุทธ์ตัดราคามากกว่าผู้ท้าชิง มีการรณรงค์ส่งเสริมอย่างกว้างขวางเพื่อขัดขวางการเคลื่อนไหวของผู้ท้าชิงที่จะมาแย่งส่วยครองตลาด โดยการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และนำเสนอช่องทางการจำหน่ายที่ดีกว่าสู่ลูกค้ารายสำคัญ นอกจากนี้ผู้นำยังสามารถเสาะหาผู้จัดจำหน่ายเพื่อเปลี่ยนความมุ่งหมายจากการจัดนำหน่ายผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันอีกด้วย สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ บริษัทต้องจัดหาข้อมูลที่สำคัญ ๆ ให้แก่พนักงานขาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ของผู้รุกราน หรือพยายามทำให้บริษัทของตนเองเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำ โดยนำเสนอความประทับในเพื่อเป็นคู่แข่งขันที่ดีกว่า

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ