ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพยากรณ์สภาพแวดล้อม

การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และการพยากรณ์ด้านเทคนิค (Making use of infotmation analytical and forecasting techniques) เนื่องจากข้อมูลมีการสับสนมากขึ้นจึงต้องเปลี่ยนข้อมูลเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ และตัดสินใจในทางเลือกที่เหมาะสม การตัดสินใจเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอนาคตเรียกว่า เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting techniques) อาจใช้วิธีที่เรียกว่า เทคนิคเชิงพรรณา (Descriptive techniques) เป็นการจัดการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งผู้ตัดสินใจจะต้องดึงปัจจัยเกี่ยวกับอนาคตภายหลังการสำรวจข้อมูล การสำรวจข้อมูลโดยใช้เทคนิค วิธีการพยากรณ์ประกอบด้วย การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ (Correlation) เทคนิค Delphi (Delphi techniques) โมเดล Box-Jenkins การวิเคราะห์แนวโน้มฤดูการ(Seasonal trend) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Export opinion) สถานการณ์จำลอง (Simulation) เหล่านี้เป็นเทคนิคการพยากรณ์ที่สำคัญ

ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์(Strategic Infotmation System (SISs)) เป็นระบบซึ่งจัดหาปัจจัยนำเข้าเพื่อใช้ในการบวนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยจัดหาข้อมูลที่สำคัญ ถูกต้องด้านเวลาเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีระบบการจัดการข้อมูล (Management infotmation system (MIS)) หมายถึง ระบบข้อมูลข่าวสารซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้บริหารในการค้นหาข้อมุลเพื่อผลิดรายงานของงานประจำ และสามารถส่งข้อมูลตามความต้องการของผุ้บริหารเพื่อใช้ในการจัดการ โดยออกแบบและดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมุลดิบ (Data) เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) เพื่อการจัดการ

ตัวอย่าง
ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์เริ่มต้นจากธนาคาร ข้อมูลที่เป็นทางการจะเก็บข้อมูลที่จำเป็น และนำเสนอรายงานประจำและไม่ประจำเกียวกับเหตุการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยแสดงถึงสายงานของข้อมูลภายใน โดยถือเกณฑ์หน้าที่ ซึ่งแยกตามหน้าที่ แผนก หรือเกณฑ์อื่นที่จำเป็น ข้อมุลเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ซึ่งจัดหาข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ เช่น งบการเงิน รายงานการควบคุมต้นทุน รายงานการควบคุมคุณภาพ รายงานระดับสินค้าคงเหลือ รายงานการทำงานของแผน รายงานการขาดงาน และการหมุนเวียนเข้าออก

ขั้นตอนระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์ (Strategic infotmation sustem) มีขั้นตอนดังนี้
1.การวิเคราะห์และการพยากรณ์ โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารข้อมุ,ที่เป็นทางการ และแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ
2.การกำหนดจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งเป็นข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในและข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก
3.เสนอรายงานประจำและไม่ประจำ แก่ผู้กำหนดกลยุทธ์องค์การ
4.ผุ้กำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ใช้ข้อมูลเพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์มกำหนดภาระกิจ เป้าหมาย และนโยบาย

ความสัำคัญของการพยากรณ์ในการบริหารเชิงกลยุทธ์คือ ลดความไม่แน่นอนและช่วยการตัดสินใจสถานการณ์ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนบางประการ ซึ่งผุ้ตัดสินใจจะต้องพยายามระบุความไม่แน่นอน ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการความเสี่ยง (Risk analysis)

ปัญหาของการลดความไม่แน่นอน ประกอบด้วย การค้นหาความไม่แน่นอนในสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีผลกระทบ เพราะ ของเขตของกลยุทธ์ในระยะยาว มีความสับสนกันระหว่างแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่ และการตลาดปฏิบัติจริง หรือระหว่างการตัดสินใจ หรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์และการซื้อขาย ในช่วงเวลานี้การสมมุติหือข้อสมมุติซึ่งกลยุทธ์จะถือเกณฑ์ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์รวดเร็วประกอบอยุ่ในเวลาต่าง ๆ ความไม่แน่นอนจะสามารถลดลงได้ ผุ้บริหารเชิงกลยุทธ์จะต้องคุ้นเคยกับเทคนิคนี้ การพยากรณืในสิ่งสำคัญ ซึ่งในขณะที่โมเดลการวางแผนส่วนใหญ่จะสมมุติการพยากรณ์ที่เป็นไปได้

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ