ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม (Key economic variables to be monitored)
1.การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ (Changing economy)
2.ความสามารถในการจัดหาสินเชื่อ (Availablity of credit)
3.ระดับของรายได้บุคคล(propensity of credit)
4.อำนาจในการใช้จ่ายของบุคคล (Propensity of people to spend)
5.อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
6.อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
7.การประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economies of scale)
8.อัตราดอกเบี้ยของตลาดเงิน (Money market rates)
9.งบประมาณขาดดุลของรัฐบาล (Federal government budget feficits)
10.แนวโน้มผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross national product trend)
11.รูปแบบการบริโภค (Consumption patterns)
12.แนวโน้มการว่างงาน (Unemployment trends)
13.ระดับผลผลิตของแรงงาน (Worker productivity levels)
14.ค่าของเงินบาทและดอลล่าร์ในตลาดโลก (Value of the bath and dollar in world markets)
15.แนวโน้มของตลากหลักทรัพย์ (Srock market trends)
16.สภาพเศรษฐกิจของต่างประเทศ(Foreign countrie's econmic conditions)
17.ปัจจัยนำเข้าและส่งออก (Import/export factors)
18.การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสำหรับสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ (Demand shifts for different categories of goods and services)
19.ความแตกต่างของรายได้ในภาคค่าง ๆ และกลุ่มผุ้บริโภค (Income difference by region and consumer groups)
20.การเคลื่อนไหวของราคาสินค้า (Price fluctuations)
21.การส่งออกแรงงาน และเงินทุนเข้าในประเทศ หรือออกต่างประเทศ (Exportation of labor and capital from the U.S.)
22.นโยบายการเงิน (monetary policies)
23.นโยบายการคลัง (Fiscal policies)
24.อัตราภาษี (Tax rates)
25.นโยบายการรวมตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป (European Economic Community (ECC) policies)
26.นโยบายของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) policies)
27.การรวมกันของนโยบายประเทศที่ด้อยพัฒนา (Coalitions of Lesser Developed Countries (LDC) policies)

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ