ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์-ความหมายที่1

การบริหารเชิืงกลยุทธ์ (Strategic management) เป็นกระบวนการซึ่่งรวมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน 3 ประการ คือ 1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์(strategic analysis)
2.การกำหนดกลยุทธ์(strategy fotmulation)
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม(strategy implementation and control)
โดยทั่วไป การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์เป็นงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้าและต้องมีการพัฒนา จึงจะเป็นการพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม การกำหนดกลยุทธ์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงงานที่ต้องทำไว้ล่วงหน้า ให้เป็นแผนซึ่งได้ผลลัพธ์ คือ กลยุทธ์ที่กำหนด
ส่วนการปฎิบัติตามกลยุทธ์ เป็นกระบวนการกำหนดแนวความคิดพื้นฐาน ซึ่่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ
2.การกำหนดกลยุทธ์
3.การปฎิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ