ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การชักนำในกระบวนการปฏิบัติการ


การชักนำในกระบวนการปฏิบัติการ (Leading the implementation process) มีสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องกำหนดให้การปฏิบัติการตามกลยุทธ์ประสบความสำเร็จก็คือ การสร้างกระบวนการนำการบริหารที่ดี ผู้บริหารสามารถใช้รูปแบบของความเป็นผู้นำในหลาย ๆ รูปแบบ ในการผลักดันกระบวนการปฏิบัติการ โดยต้องแสดงความกระตือรือร้น มีวิสัยทัศน์ แสดงบทบาทตามหน้าที่ หรือไม่แสดงบทบาทแต่คอยควบคุมอยู่เบื้องหลัง ผู้บริหารสามารถทำการตัดสินใจตามอำนาจหน้าที่ หรือใช้การเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) กระจายงานมากหรือน้อย เข้าไปมีส่วนร่วมในรายละเอียดของการปฏิบัติงาน หรือเฝ้าดูอยู่ห่าง ๆ และเป็นผู้สอนงานเพื่อให้การทำงานก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว หรือไตร่ตรองด้วยความสุขุมรอบคอบด้วยการดำเนินงานที่ต้องใช้เวลานาน คุณสมบัติของผู้นำการปฏิบัติการอาจต้องพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
1.เป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับธุรกิจหรือไม่
2.เป็นผู้ใหญ่ต่องานหรือเป็นอาสาสมัครหรือไม่
3.เครือข่ายความสัมพันธ์ของเขากับบุคคลอื่นในองค์การดีหรือไม่
4.การวิเคราะห์ การบริหารงาน การติดต่อระหว่างบุคคล และความชำนาญในการแก้ปัญหาของเขาดีหรือไม่
5.เขาได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่หรือไม่
6.เข้ามีรูปแบบความเป็นผู้นำเฉพาะตัวหรือไม่
7.เขามีทัศนะอย่างไรต่อบทบาทที่เขาจำเป็นต้องทำเพื่อให้งานสำเร็จ
ความคิดริเริ่มเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริหารระดับสูง(CEO) และพนักงานระดับสูง แต่ผู้บริหารระดับสูงก็ยังคงต้องให้ความช่วยเหลืออย่างกระตือรือร้นและให้ความร่วมมือกับผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ และดูว่ากิจกรรมที่สำคัญได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดี และเป็นประจำหรือไม่ ผู้บริหารระดับกลางและระดับล่างไม่เพียงแต่รับผิดชอบการเริ่มต้น และควบคุมดูแลกระบวนการปฏิบัติงานในขอบข่ายของตนตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น แต่ยังคงต้องเป็นเครื่องมือที่จะให้ลูกน้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในการใช้กลยุทธ์การวิเคราะห์กิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) เพื่อสร้างและผลิตผลผลิตให้ออกมาอยู่แนวหน้า ซึ่งจะทำให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างสามารถประสบความสำเร็จได้จากการบริหารกลยุทธ์พื้นฐานประจำวันที่มีประสิทธ์ภาพ เช่น ความสามารถในการปฏิบัติการเป็นทีม
รายการกระทำของผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์ระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์การใหญ่ ๆ ที่มีหน่วยปฏิบัติการกระจายอยู่ตามเขตภูมิศาสตร์ ต้องอาศัยการสื่อสารในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างการเห็นพ้องต้องกัน สร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งให้สามารถผลักดันหน่วยขององค์การที่สำคัญ กระตุ้นและมอบอำนาจให้ลูกน้อง ทำกระบวนการให้มีการเคลื่อนไหว สร้างกระบวนการวัดและกำหนดเวลา ให้การยอมรับและให้รางวัลผู้ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ถึงขีดที่กำหนด มีการพิจารณาการจัดสรรทรัพยากรใหม่ และเป็นประธานในกระบวนการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้วยตนเอง ดังนั้นยิ่งองค์การใหญ่มาก ความสำเร็จในกลยุทธ์หลังของผู้ปฏิบัติการจะยิ่งมีมาก และขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ตลอดจนทักษะในการปฏิบัติการของผู้บริหารที่ดำเนินงานซึ่งจะสามารถผลักดันให้เกิดความต้องการเปลี่ยนแปลงในระดับล่างที่สุดขององค์การ ในองค์การขนาดเล็ก ผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์หลักไม่จำเป็นต้องทำงานผ่านผู้บริหารระดับกลาง แต่สามารถติดต่อกับผู้บริหารสายงานและพนักงานได้โดยตรง ผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์หลักสามารถแสดงขั้นตอนการกระทำและการปฏิบัติการตามลำดับด้วยตนเอง ได้แก่ การสั่งเกตุว่าการปฏิบัติการมีความก้าวหน้าอย่างไร ตัดสินใจว่าจะทำงานให้หนัก และเร็วเท่าไรในการผลักดันกระบวนการ คุณลักษณะความเป็นผู้นำมีความสำคัญมากที่สุดคือ ต้องเข็มแข็ง มีความมั่นใจในลักษณะว่า ไม่ว่าทำอะไรก็ตามจะต้องบรรลุผลสำเร็จตามต้องการ (What to do to achieve the desired results) การรู้ว่า อะไรที่ต้องทำ (what to do) จะต้องมาจากความเข้าใจอย่างแท้จริงในธุรกิจและสภาพขององค์การ ซื้อในตอนต่อไปจะกล่าวถึงงานของการบริหารเพื่อสร้างองค์การให้มีความสามารถ

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ