ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลยุทธ์การประสมประสานกัน


กลยุทธ์การประสมประสานกันต้องพิจารณา 3 ประการ คือ
1
.การประสานงานข้ามระหว่างหน้าที่ (Cross-function coordination)
2
.การรวมกิจกรรมข้าวระหว่างหน่วยธุรกิจ (Integrating activities across business units)
3
.การรวมปฏิบัติการของบริษัทระหว่างประเทศ (Integrating a firm is international operations) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.การประสานงานข้ามระหว่างหน้าที่ (Cross-function coordination) ภาระและความรับผิดชอบของทุกองค์การจะต้องมีการแบ่งแผนกและจัดหาผู้บริหารที่มีความชำนาญแต่ละด้านรับผิดชอบในงานแต่ละส่วน ยกเว้นองค์การขนาดเล็กที่มีผู้บริหารทำให้หน้าที่ทั่วไป ควบคุมงานในส่วนต่าง ๆ เนื่องจากลักษณะงานและจำนวนงานยังไม่มากหรือซักซ้อน แต่ถ้าเป็นองค์การใหญ่จะต้องมีการแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นผู้บริหารในแต่ละแผนกอาจจะทำงานซ้ำซ้อน แต่บางครั้งก็เกิดผลเสียคือ แต่ละแผนกก็จะทำหน้าที่ของตนเองโดยไม่ให้ความร่วมมือระหว่างแผนก ทำให้กลยุทธ์ขององค์การที่วางไว้ไม่ประสบความสำเร็จ มีหลายเหตุที่ทำให้แผนกกลายเป็นศูนย์กลางของบริษัทไป
1.1 การขายและการขนส่งสินค้า (Sales versus logistic) การขายและการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าจะต้องมีความสัมพันธ์ โดยผู้ขายจะต้องมีการประชุมกับผู้ที่ในการส่งสินค้าให้กับลูกค้าว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรในการส่งสินค้าและสามารถนำส่งสินค้าได้โดยที่ฝ่ายขายจะต้องไม่เร่งฝ่ายจัดส่งจนเกินไป เพื่อหวังจะได้ใบสั่งซื้อจากลูกค้า ในทางปฏิบัติฝ่ายจัดส่งมักจะมีความขัดแย้งกันเสมอ เนื่องจากฝ่ายขายมักจะใช้กลยุทธ์ในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเร็ว ในขณะที่ฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่สินค้าไม่สามรถที่จะจัดส่งได้ทัน
1.2 ฝ่ายวิจัยและฝ่ายผลิต (R&D versus manufacturing) ในบางองค์การฝ่ายวิจัยและฝ่ายผลิตก็เกิดก็เกิดความขัดแย้งกันขึ้น เนื่องจากฝ่ายวิจัยได้ทำการวิจัยสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการผลิตของฝ่ายผลิตก็เกิดความขัดแย้งกันขึ้น เนื่องจากฝ่ายวิจัยได้ทำการวิจัยสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการผลิตของฝ่ายผลิต จึงทำให้ฝ่ายผลิตต้องออกแบบสินค้าเอง ซึ่งทำให้ฝ่ายวิจัยมีความรู้สึกเหมือนถุกคุกคามจากต่างแผนก ผู้บริหารองค์การจะให้ฝ่ายผลิตได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
1.3 การตลาดและการควบคุมคุณภาพ (Marketing versus quality control) การที่ฝ่ายการตลาดสามารถทำตลาดสินค้าได้มากหรือน้อย ปัจจัยหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการควบคุมสินค้าให้มีสินค้าที่เสียไปก็จะมีผลกับองค์การในระยะยาว
2.การรวมกิจกรรมข้ามระหว่างหน่วยธุรกิจ (Integrating activities across business units) องค์การขนาดใหญ่มักจะมีหน่วยธุรกิจย่อย ๆ มากมาย การที่จะรวมกิจกรรมข้ามระหว่างหน่วยธุรกิจเป็นสิ่งปฏิบัติได้ยาก แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถปฏิบัติได้ก็จะก่อให้เกิดผลดีเป็นอันมาก เนื่องจากสามารถใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่าร่วมกันได้ การร่วมมือกันจะทำให้ประสิทธิภาพมากกว่าแผนกเฉพาะ ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวมกิจกรรมข้ามระหว่างหน่วยธุรกิจ ได้แก่
2.1 การใช้ประโยชน์ร่วมจากโครงสร้างพื้นฐาน (Utilization of common infradtructure) รวมถึงทรัพยากรเช่น สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร โปรแกรมในการทำตลาด กฎหมาย และกิจกรรมทางด้านบัญชี
2.2 ประโยชน์จากความสามารถหรือประสิทธิภาพที่มีอยู่ (Capitalizing on core competeincies)  เช่น ความชำนาญทางการตลาด เทคนิคในการผลิตสินค้า ขบวนการในการวิจัย และเทคนิคของสินค้า เนื่องจากแต่ละหน่วยธุรกิจก็จะมีความชำนาญหรือทักษะคนละด้าน ถ้าองค์การสามารถที่จะดึงข้อดีของแต่ละหน่วยธุรกิจมาช่วยกันทำในลักษณะโครงสร้างแบบแมททริกซ์ (Matrix organization) ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์การ องค์การจะต้องปรับวิธีการสร้างความสัมพันธ์ระหน่วยธุรกิจให้ง่ายขึ้น และ เป็นในลักษณะ ดังนี้
1.โครงสร้างในแนวนอน (Horizontal strcture) เป็นการแบ่งบริษัทออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในแต่ละกลุ่มจะประกอบธุรกิจที่เหมือนกับหรือคล้ายกันในระดับเดียวกัน และมีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสามารถทำให้แต่ละกลุ่มธุรกิจใช้ทรัพยากรร่วมกัน และได้ประโยชน์จากการร่วมมือกัน
2.ระบบในแนวนอน (Horizontal system) เป็นการร่วมมือของหน่วยธุรกิจต่างแผนกที่มีอยู่และได้รับการยอมรับนำมาสู่การสร้างระบบ ขบวนการวางแผนและการควบคุม การติดต่ออย่างเปิดเผยมีการประชุมและวางแผนทบทวน โดยมีผู้บริหารของหน่วยธุรกิจย่อยต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ซึ่งนำไปสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3.มีการฝึกทรัพยากรมนุษย์ในแนวนอน (Horizontal human resource practices) ขอบเขตความร่วมมือระหว่างหน่วยธุรกิจเพิ่มขึ้นเมื่อหน่วยธุรกิจพัฒนาสู่ความเข้าใจในปัญหาที่ผู้อื่นประสบวิธีการที่จะสร้างความเข้าใจ และการหมุนเวียนงานระหว่างผู้บริหารต่างหน่วยธุรกิจ โครงการอบรมร่วมการหารือระหว่างผู้บริหารต่างหน่วยธุรกิจเพื่อและเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อพัฒนาธุรกิจในหน่วยของตน
นอกจากนั้นจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกันในแนวนอน (Horizontal communication) ซึ่งจะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารซึ่งอยู่คนละหน่วยธุรกิจในระดับเดียวกันขององค์การ จะต้องมีการประสานงานกันในแนวนอนด้วย (Horizontal coordination) เป็นการประสานในระดับเดียวกัน ระหว่างผู้บริหารของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ หรือระหว่างแผนกต่าง ๆ
3.การรวมปฏิบัติการของบริษัทระหว่างประเทศ (Integrating a firm is international operations) การรวมเป็นหนึ่งเดียวของปฏิบัติการระหว่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ จะทำให้เกิดจุดโต้แย้งกันขึ้นระหว่าง กลยุทธ์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกลยุทธ์ภายใจประเทศหลายประเทศกับแนวความคิดของกลยุทธ์ระดับโลก การรวมกันได้ของทั้งสองกลยุทธ์เป็นสิ่งที่ปรารถนาขององค์การ
จากการศึกษาสรุปได้ว่าบริษัทข้ามชาติมีแนวโน้มที่ไม่ยืดหยุ่น ในการใช้โครงสร้างปฏิบัติจะไม่สามารถรวมการปฏิบัติระหว่างภายในประเทศกับระดับโลก แนวโน้มของบริษัทข้ามชาติที่จะเห็นทุก ๆ สาขาทั่วโลก มีรูปแบบเดียวกัน อาจจะเป็นสิ่งที่ผิดทิศทาง สมมุติฐาน 3 ประการของผู้บริหารบริษัทข้ามชาติที่มักจะทำ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความท้าทายต่อองค์การ ได้แก่
1.สมมุติฐานที่แพร่หลายว่าหน่วยขององค์การที่ต่างกับอาจจะมีวิธีการบริหารที่เหมือนกัน และไม่เปลี่ยนแปลง จากหลักฐานแสดงว่า บริษัทข้ามชาติส่วนมากที่ประสบความสำเร็จเกิดจากการรวมวิธีการที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ต่างกันออกไป
2.แนวโน้มของการแพร่หลายของบริษัทข้ามชาติที่จะกำหนดความชัดเจนให้กับหน่วยธุรกิจระหว่างประเทศ ถึงความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระหรือขึ้นต่อกัน มีหลักฐานหนึ่งที่เหมาะสมเน้นให้หน่อยธุรกิจภายในองค์การพึ่งพากัน เช่น บริษัทคาโอ (Kao) ซื่งเป็นบริษัทที่จำหน่ายสบู่และผงซักฟอกในประเทศญี่ปุ่น โดยปกติจะใช้การบริหารแบบรวมศูนย์ในการจัดการระหว่างประเทศได้มีประสบการณ์ในการแนะนำแชมพูในประเทศไทย ซึ่งแสดงถึงแนวความคิดนี้โดยการให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาร่วมกับคาโอจะสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติโดยผ่านไปทั่วโลก
บริษัทข้ามชาติปฏิบัติการอยู่ในประเทศต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจจะให้หน่วยธุรกิจของตนมีการพึ่งพากันมากขึ้น สำหรับสินค้า ทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดังนี้
1.พื้นฐานของความถูกต้องของการรวมการปฏิบัติระดับโลก โดยการประสานงาน การหมุนเวียนของสินค้า มีการใช้อำนาจรวมศูนย์จำนวนน้อย ซึ่งจะทำให้บริษัทข้ามชาติมีประสิทธ์ภาพมากขึ้น
2.การรวมระดับโลกทำให้บริษัทข้ามชาติสามารถที่จะยายทรัพยากรทำให้ที่หนึ่งสำเร็จ แล้วป้องกันจุดอ่อน ทรัพยากรที่มีการเคลื่อนย้ายอาจจะเป็นทุน อุปกรณ์ หรือความชำนาญ ในที่สุดองค์การได้เห็นตัวอย่างจำนวนมากที่ได้รับประโยชน์จากากรย้ายแนวความคิด และความรู้ที่สะสมอยู่ในแต่ละประเทศในกาพัฒนาสินค้า
3.ความเชื่อที่แพร่หลายว่าการบริหารของบริษัทข้ามชาติอาจจะปฏิบัติแบบธรรมดาเข้าใจชัดเจน กลไกการปฏิบัติสำหรับการตัดสินใจและการควบคุม จากประสบการณ์ชี้ให้เห็นว่ากลไกการร่วมมือหลายแบบ อาจจะมีคุณค่ามากกว่ากลไกการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ บริษัท Philips ที่ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พัฒนากลไกที่แตกต่างสำหรับความร่วมมือของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกในการหมุนเวียนของสินค้า ทรัพยากร และข่าวสาร
การประสานงานด้านการหมุนเวียนของสินค้า โดยการใช้มาตรฐานเฉพาะของสินค้าในระดับเดียวกัน ขบวนการหาแหล่งวัตถุดิบที่จะใช้ในการปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ  อย่างมีเหตุผล ทำให้การหมุนเวียนสามารถคาดหมายได้ บริษัทสามารถบริหารการหมุนเวียนของสินค้า โดยขบวนการปฏิบัติแบบเป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม บริษัทพบว่าการประสานการหมุนเวียนของการเงิน เทคนิค และแหล่งทรัพยากรเป็นเรื่องยาก การตัดสินใจจำนวนมากยังต้องใช้แบบการรวมศูนย์ การติดสินใจเรื่องงบประมาณจะใช้คณะกรรมการบริหารและพนักงานองค์การที่มีความเชี่ยวชาญ การหมุนเวียนของข้อมูลสารสนเทศเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับ Philips สารสนเทศประจำสามารถที่จะจัดการโดยระบบสารสนเทศตามแบบธรรมดา (Conventional information system) แต่สารสนเทศที่ซับซ้อนของกลยุทธ์ที่สำคัญไม่มีระบบใด สามารถที่จะเก็บแล้วนำมาให้บริษัทข้าวชาติใช้อย่างมีประโยชน์ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ Philips ได้สนับสนุนการติดต่อโดยใช้เทคนิคที่ประสมประสานกันของเทคนิคการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติต่อสังคมระหว่างผู้บริหารทั่วโลก รวมถึงการย้ายสาขาต่างประเทศจัดการประชุมเพื่อให้หน่วยธุรกิจต่าง ๆ ได้เรียนรู้ และสนับสนุนให้มีการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการของหน่วยปฏิบัติการ
บริษัทข้ามชาติจำนวนมากยังไม่ประสบความสำเร็จกับความท้าทายขององค์การ การสนองตอบขององค์การยังดูซับซ้อนเหมือนกับเวทีโลก ข้อสรูปของ Theodore Levitt กล่าวว่าเป็นการยากที่จะสร้างอะไรก็ตามที่จะสนองตอบต่อปัญหาขององค์การที่เผชิญอยู่กับการปฏิบัติอยู่ในประเทศต่าง ๆ ไม่มีกลยุทธ์ใดที่สามารถตอบสนองได้ทุกปัญหา กลยุทธ์หนึ่งอาจจะใช้ได้สำเร็จในประเทศหนึ่ง แต่ก็อาจจะล้อเหลวในประเทศหนึ่ง ทั้งนี้เพราะว่าความสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับความสามารถ ประวัติ ชื่อเสียง แหล่งทรัพยากร หรือแม้แต่วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
สรุป
บทนี้กล่าวถึงเรื่องการใช้กลยุทธ์ในการปฏิบัติ การกำหนด และการใช้กลยุทธ์ มีความเกี่ยวพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โครงร่าง 7-S ของ McKinsey ทำให้เกิดความเข้าใจในพื้นฐานของโครงร่างขององค์การ ทั้งนี้เพื่อผลสำเร็จขององค์การ ปัจจัยที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ 1.โครงสร้าง 2.กลยุทธ์ 3.ระบบ 4.รูปแบบ 5.การจัดบุคคลเข้าทำงาน 6.ทักษะ 7.คำนิยมร่วมหรือเป้าหมายสูงสุด แต่ละปัจจัยมีความสำคัญเท่าเทียบกัน องค์การที่ล้มเหลวเชื่อว่ามีมาจากความไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความสมดุลกันของปัจจัยทั้ง 7 ประการ
องค์การจะต้องแปลภารกิจ (Mission) ให้เป็นวัตถุประสงค์ระยะยาวและระยะสั้น วัตถุประสงค์จะมีวิธีที่จะทำให้แน่ใจว่าการปฏิบัติการทั้งหมดขององค์การที่มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในแนวทางเดียวกัน วัตถุประสงค์จะต้องมีกรอบของเวลาว่างานจะเสร็จเมื่อไร และวัตถุประสงค์จะต้องเจาะจงไม่คลุมเครือ สามารถวัดผลได้ สามารถบรรลุได้ และต้องท้าทาย วัตถุประสงค์จะเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นที่สำคัญสำหรับผู้บริหารและสมาชิกในองค์การ นโยบายมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ภารกิจขององค์การสำเร็จ อย่างไรก็ตามการใช้กฎมากจนเกินไป อาจทำให้สมาชิกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ ขาดความคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น
เมื่อองค์การเติบโตขึ้น ความสลับซับซ้อนขององค์การทั้งภายในและภายนอกก็จะเพิ่มตาม การเพิ่มหน้าที่ต่าง ๆ การสร้างสินค้าและบริการใหม่ การบริหาร การจัดการภายในประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ต้องการกลไกการประสานงานให้อยู่ในแนวทางเดียวกันในระดับหน้าที่ผู้บริหารต้องยอมรับถึงความขัดแย้งของส่วนต่าง ๆ ในองค์การ การแก้ไขที่ได้ผลโดยใช้คูณทำงานร่วม องค์การที่ทำธุรกิจหลายอย่างสามารถประสบความสำเร็จได้ดี และได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ 3 รูปแบบของการจัดโครงสร้างองค์การตามแนวนอน (Horizontal organization) องค์การจะได้รับความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน คือ โครงสร้างในแนวนอน (Horizontal structure) ระบบในแนวนอน (Horizontal system) และมีการฝึกทรัพยากรมนุษย์ในแนวนอน (Horizontal human resource practices) ท้ายที่สุดธรรมชาติขององค์การที่มีการแข่งขันจะมีเพิ่มขึ้นในระดับโลก สิ่งนี้ทำให้องค์การข้ามชาติมีประสานกิจกรรมเข้าด้วยกัน โดยความร่วมมือข้ามประเทศ การทำตามแบบผสมระหว่างกลยุทธ์ระดับโลกและกลยุทธ์ภายใจประเทศจะทำให้องค์การสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้มากขึ้น

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ