ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปฏิบัติการตามกลยุทธ์


การสร้างความสามารถด้านทรัพยากรและการกำหนดโครงสร้างองค์การ
เมื่อผู้จัดการได้ตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์แล้ว หลังจากนั้นก็จะเน้นที่การกระทำ ผลการปฏิบัติการที่ดี การวางกลยุทธ์ให้เข้าที่ และการทำให้องค์การสามารถบริหารกลยุทธ์ให้ได้ผลดี ซึ่งจะต้องให้การบริหารงานและทักษะที่แตกต่างกันไป ความชำนาญด้านกลยุทธ์เป็นกิจกรรมของสถานประกอบการในการผลักดันตลาด การปฏิบัติการตามกลยุทธ์เป็นการดำเนินงานขั้นต้นที่จะผลักดันให้เกิดกิจกรรมในการบริหารบุคลากรและกระบวนการธุรกิจ นอกจากการใช้กลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับทักษะด้านธุรกิจ การมีความรู้อย่างดีด้านอุตสาหกรรม การวิเคราะห์การแข่งขันและความเหมาะสมด้านทรัพยากรที่ดีแล้ว การปฏิบัติการตามกลยุทธ์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ยังขึ้นอยู่กับการชักนำ (Leading) ที่ดี การทำงานโดยร่วมมือกับบุคลากรอื่น การจัดสรรทรัพยากร การสร้างและการทำจุดแข็งด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน การนำนโยบายที่สนับสนุนกลยุทธ์เข้ามาใช้ และการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับวิธีการที่องค์การสร้างกิจกรรมธุรกิจที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการบริหารกลยุทธ์ที่ดี การปฏิบัติการตามกลยุทธ์จะต้องมุ่งที่การกระทำเป็นงานที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถของผู้จัดการเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์การโดยตรง สร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับบุคลากร พัฒนาขีดความสามารถที่มีคุณค่าให้กับองค์การ ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจให้บรรลุผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง สร้างวัฒนธรรมของบริษัทเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ และทำให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย
โครงร่างงานสำหรับการปฏิบัติการตามกลยุทธ์
โครงร่างงานสำหรับการปฏิบัติการตามกลยุทธ์ (A framework implementing strategy) การปฏิบัติการตามกลยุทธ์นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงแผนกลยุทธ์ขององค์การเข้าสูงการปฏิบัติการซึ่งจะนำสู่งผลการปฏิบัติ เช่นเดียวกับกลุยทธ์การทำงานด้วยความเชี่ยวชาญจะเป็นงานของทีมการบริหาร (Management team) ทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะระดับสูงเพียงสองสามคน ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ หัวหน้าแผนกงานต่าง ๆ และหัวหน้าหน่วยการกำเนินงานที่สำคัญจะต้องมีความรับผิดชอบในการที่จะดูแลกลยุทธ์ให้เกิดการปฏิบัติจนบรรลุผลสำเร็จ กระบวนการปฏิบัติการมักจะมีผลกระทบต่อทุก ๆ ส่วนของโครงสร้างองค์การ จากหน่วยองค์การที่ใหญ่สุด สู่กลุ่มงานแถวหน้าที่เล็กที่สุด ผู้บริหารทุก ๆ คนต้องคิดหาคำตอบต่อคำถามที่ว่าจะต้องทำอะไรในขอบข่ายที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ และควรจะต้องทำอะไรเพื่อทำให้งานเหล่านี้สำเร็จ ในกรณีนี้ก็คือผู้บริหารทุกคนจะกลายเป็นผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์ในขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และพนักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ
สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับการปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุความสำเร็จคือ ในกรณีทีมีการเปลี่ยนแปลงองค์การและมีการชักจูงเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกลยุทธ์จะต้องอาศัยการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการปฏิบัติงาน การปฏิบัติการตามกลยุทธ์จะประสบความสำเร็จเมื่อบริษัทบรรลุเป้าหมายกลยุทธ์ และมีสมรรถนะด้านการเงิน ตลาดจนสามารถแสดงให้เห็นความก้าวหน้าและวิสัยทัศน์ด้านกลยุทธ์ในระยะยาว
กลยุทธ์หลัก – งานการปฏิบัติการ
กลยุทธ์หลัก – งานการปฏิบัติการ (The principal strategy – implementing tasks) มีองค์ประกอบสำคัญในการบริหารกลยุทธ์ 8 ประการ ดังต่อไปนี้
1.การสร้างองค์การด้วยจุดแข็งด้านความสามารถและทรัพยากร เพื่อทำให้กลยุทธ์บรรลุความสำเร็จ
2.พัฒนางบประมาณเพื่อให้ได้ทรัพยากรจำนวนมาก เข้าสู่การวิเคราะห์กิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) เพื่อบรรลุความสำเร็จในกลยุทธ์
3.สร้างนโยบายและกระบวนการที่ให้การสนับสนุนกลยุทธ์
4.ปฏิบัติให้ดีที่สุด และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยวีกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain)
5
.ใช้ระบบข้อมูล การสื่อสาร และการดำเนินงาน ซึ่ง ทำให้บุคลากรของบริษัทสามารถแสดงบทบาทกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ
6.ใช้การให้รางวัลและสิ่งจูงใจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การทำงานและเกิดการบริหารกลยุทธ์ที่ดี
7.สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนกลยุทธ์และวัฒนธรรมบริษัท
8.การใช้ภาวะความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อปฏิบัติตามกลยุทธ์
งานการบริหารสรุปได้ดังรูป ซึ่งแสดงองค์ประกอบการบริหารที่สำคัญของการปฏิบัติการตามกลยุทธ์ ในจำนวนงานเหล่านี้มีงาน 1 หรือ 2 งาน ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่างานอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ สภาวะการเงินขององค์การ และความสามารถในการแข่งขัน มีทรัพยากรที่สำคัญที่จะต้องแก้ไขหรือต้องพัฒนาความสามารถใหม่หรือไม่ บริษัทมีทรัพยากรตามต้องการสำหรับการสร้างโอกาสการแข่งขันหรือไม่ รูปแบบของพฤติกรรมที่ต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การในประวัติของบริษัท แรงกดดันบางอย่างทำให้เกิดผลอย่างรวดเร็วในการปรับปรุงด้านการเงินในระยะสั้น และอาจมีปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ ประกอบ




ในการทำรายการปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์ควรเริ่มต้นด้วยการประเมินว่าอะไรที่องค์การต้องทำให้มีความแตกต่างเพื่อทำให้กลยุทธ์ประสบความสำเร็จ แล้วพิจารณาวิธีการทำการเปลี่ยนแปลงภายในให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การกระทำของผู้ปฏิบัติการตามกลยุทธ์ควรมีศูนย์กลางความเหมาะสมของวิธีการที่องค์การสร้างกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) และธุรกิจภายในของตนให้มีการบริหารเชิงกลยุทธ์อยู่ในอันดับที่หนึ่ง ซึ่งจะต้องได้รับการจัดลำดับความเหมาะสม (Fits) ตามความจำเป็น ขีดความสามารถและทรัพยากรขององค์การต้องเหมาะสมกับความต้องการของกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากลยุทธ์ที่เลือกมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้านฐานความสามารถหรือฐานทรัพยากร ทรัพยากรด้านการเงินต้องได้รับการจัดสรรโดยจัดให้เหมาะกับความจำเป็นของแผนก คน และงบประมาณการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องบริหารบทบาทกลยุทธ์ของตนเองอย่างมีประสิทธิผล โครงสร้างการให้รางวัล นโยบาย ระบบข้อมูลสารสนเทศ และการปฏิบัติงานที่จำเป็นของบริษัทจำเป็นต้องได้รับการผลักดันเข้าสู่การบริการเชิงกลยุทธ์มากกว่าการแสดงบทบาทแบบเฉื่อยชา หรือเลวลง หรือแสดงเหมือนว่ามีอุปสรรค ความสำคัญที่เท่าเทียมกันก็คือความต้องการสำหรับผู้บริหารที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะซึ่งสร้างและสนับสนุนกลยุทธ์ในด้านสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมบริษัท ความเหมาะสมยิ่งมีมากขึ้นเท่าใด และการปฏิบัติการตามกลยุทธ์ก็จะมีโอกาสบรรลุความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น การบริหารอย่างเป็นระบบก็เพื่อพยายามที่จะปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับวิธีการที่องค์การดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งต้องการบริหารกลยุทธ์ที่ดีเพื่อช่วยทำให้เกิดการรวมตัวขององค์การ และความพยายามในการผลิตทีมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการปฏิบัติงาน การปฏิบัติการตามกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จต้องมีการวิเคราะห์ด้วยความชำนาญว่า องค์การจำเป็นต้องเลือกกลยุทธ์บริหารงานที่ดี และมีความคิดสร้างสรรค์ในการหาหนทางเพื่อสร้างกิจกรรมเครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain) ที่สำคัญอย่างมีประสิทธิผล

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ