ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

อาเซียน + ญี่ปุ่น

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซี่ยน - ญี่ปุ่น (ASEAN - Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement - AJCEP)

เริ่มเมื่่อปี 2546 (2003) ที่ผู้นำอาเซี่ยน และญี่ปุ่นร่วมลงนามกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิอาเซียน - ญี่ปุ่น (Framework for comprehensive Economic Partnership between ASEAN and japan ) ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้า สินค้า บริการ และการลงทุน กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การอำนวนความสะดวกทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ โดยลงนามความตกลง แล้วเมื่อเดือนเมษายน 2551 รัฐสภาเห็นชอบแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2551 มีผลบังคับใช้แล้วกับญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และพม่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 บรูไนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 และมาเลเซียเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 เป็นต้นไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกรอบเจรจาการค้าบริการและการลงทุนแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 อยูในขั้นตอนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา และตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการค้าบริการและการลงทุนเพื่อเจรจาต่อไปภายใน 1 ปี หลังจากความตกลง มีผลบังคับใช้

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ