ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

อาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเีดีย

หุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซียน + 6 (Comprehensive Economic Partnership in East Asia - CEPEA)

เริ่มจากปี 2549 (2006)ญี่ปุ่นได้เสนอต่อ AEM + 3 ให้กลุ่ม EAS (East Asia Summit) ประกอบด้วย อาเซี่ยน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง CEPEA(comprehensive Economic Partnership in East Asia) ซื้งเป็น FTA ของอาเซียน + 6 ศึกษาและนำเสนอผลการศึกษา CEPTA Phase II ต่อ AEM ครั้งที่ 41 ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2552(2009) โดยผลการศึกษาให้ความสำคัญด้านความร่วมมือ ลดช่องว่างระดับการพัฒนาด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างความเข็มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises - SMEs) การจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก (East Asia Fund) เพื่อรองรับโครงการความร่อมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับกาัรพัฒนาต่อไป

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ