ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนจบ

ผลกระทบจากการจัดทำ FTA

การลด/เลิก อากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ส่งออก ด้ายราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ลดลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศน้อยลง ทั้งในด้านภาษีอากรและมาตรการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ทำนองเดียวกับประเทศคู่สัญญาในเรื่องของโอกาสที่มาพร้อมกับการแข่งขัน ผลกระทบที่จะเกิดจึงเป็นทั้งเชิงบวก และเขิงลบ ทั้งนี้ผู้ใดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปรงที่เร็วกว่า และไขว่คว้าโอกาสที่เปิดขึ้นนี้ได้มากกว่า ย่อมเป็นผู้จะได้รับประโยชน์สูงสุด

ความเป็นไปของ FTA แต่ละฉบับ

เหตุผลสำคัญในการเลือกประเทศเพื่อจัดทำ FTA ของไทย เช่น การรักษาศักยภาพในการส่งออก และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดสำัคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน(10 ประเทศประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ เวียดนาม บูรไน ลาว พม่าและกัมพูชา) อีกทั้งตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย กลุ่ม BIMSTEC (Bay of Bengal initative for multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation มีสมาชิก 7 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย) ประตูการค้าสู่ภูมิภาค ได้แ่ก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Europe Free Trade Association - EFTA) เม็กซิโก เกาหลี และกลุ่ม Mercosur (Mercado Comun del Sur ในภาษาเสปน หรือ Southern common Market ในภาษาอังกฤษหรือตลาดร่วมอเมริกาตอนล่าง มีสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย ชิลี โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา)

ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์

มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี

วารสารส่งเสริมการลงทุน

พ.ย.52

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ