ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนที่1

ว่าไปแล้วอันนี้ไม่เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยตรงนัก แต่ก็คิดว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวางแผนเชิงกลยุทธ์เช่นเดียวกัน

เขตการค้าเสรี (Free Trade Area-FTA) หรือความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) ไม่ใช่ของใหม่อีกแล้ว แม้หลายคนอาจไม่รู้จักก็ตาม เนื่องจาก FTA ฉบับแรกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area- AFTA) ซึ่งในปัจจุบันมี FTA อีกหลายฉบับตามมา ซื้งเราจะมาติดตามกันว่า แต่ละฉบับมีความเป็นไปอย่างไร รวมถึงจะได้มาทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และสาระสำคัญในการจัดทำ FTA และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วย

เป้าหมายการจัดทำ FTA
FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลื่อน้อยที่สุด สร้างการค้าเสรีมากยิ่งขึั้น ลด/เลิก อากรขาเข้า และมาตรการกีดกันทางการค้า่ต่าง ๆ ส่งผลใ้ห้เกิดการสร้าง และขยายโอกาสทางการค้า อีกทั้งเพิ่มพันธมิตรทางเศรษฐกิจ และยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการ ลด/เลิกอากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้าต่ำกว่าประเทศอื่นที่อยู่นอกกลุ่ม FTA

รูปแบบ FTA จะมีหลักเกณฑ์อย่างไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ประเทศคู่ัสัญญาตกลงกัน โดยที่ไทยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำ FTA ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งด้านการค้าอื่นที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measure -NTM) เช่น มาตรฐานสินค้านำเข้า มาตรการโควตา เป็นต้น ภายใต้เป้าหมายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ไม่สร้างอุปสรรคทางการค้ัาเพิ่ิม ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอ และมีตารางกรลดภาษี หรือเปิดเสรีพร้อมรายละเ้อียดสินค้าที่จะลดภาษี ลดอย่างไร และใช้เวลายาวนานเท่าไรในการลดภาษี

หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดทำ FTA ของไทย นอกจากกรอบที่กว้าง และครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอแล้ว ยังต้องมีความโปร่งใส เปิดให้สมาชิกองค์การค้าโลก (World Trade Organization - WTO) อื่นตรวจสอบความตกลง ได้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งมีมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในจากการเปิดเสรี เช่น มาตรการต่อต้านการอุดหนุน (Counter-vailing Duties - CVD) มาตรการปกป้อง (Safeguards) และกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าอย่างเ็ป็นธรรม เป็นต้น


ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี
วารสาร ส่งเสริมการลงทุน
พ.ย.52

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ