ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบโครงสร้างระดับโลก

การออกแบบโครงสร้างระดับโลก (Designing a global structure) กลยุทธ์ของบริษัทขนาดใหญ่จะมีมุมมองระดับโลก ถ้าบริษัทผลิตและจำหน่ายสินค้าของคนในตลาดระหว่างประเทศ บริษัทขนาดใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะมีการผลิตทั่วโลก กลยุทธ์ระดับโลกที่มีผลต่อการเลือกโครงสร้างและการควบคุมของบริษัทมีหลักเบื้องต้น 4 ประการคือ
1.กลยุทธ์ภายในประเทศหลายประเทศศและโครงสร้าง (Multidomestic strategy and structure)
2
.กลุยทธ์ระหว่างประเทศและโครงสร้าง (International strategy and structure)
3
.กลยุทธ์ระดับโลกและโครงสร้าง (Global strategy and structure)
4
.กลยุทธ์ข้ามชาติและโครงสร้าง (Transnational strategy and structure)
5
.กลยุทธ์โครงสร้างแมททริกซ์ระดับโลก (Global-matrix structure)
1.กลยุทธ์ภายในประเทศหลายประเทศและโครงสร้าง (Multidomestic strategy and structure) เป็นการจัดการซึ่งบริษัทหนึ่งมีการปฏิบัติการในหลายประเทศโดยใช้หน่วยธุรกิจในท้องถิ่นปฏิบัติงานแบบเป็นอิสระโดยไม่ต้องประสานงานกัน และเป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงแก้ไขการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของบุคคลในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะต้องได้รับมอบอำนาจแบบกระจายอำนาจสู่ผู้จัดการในแผนกต่างประเทศแต่ละแผนก และผู้จัดการก็จะจัดหากลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ในโครงสร้างระดับโลก ผู้จัดการสำนักงานใหญ่ของบริษัทไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานในแต่ละประเทศได้ จึงต้องใช้การควบคุมแบบกระจายอำนาจและยอมให้ผู้จัดการในแต่ละประเทศมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินงานในต่างประเทศ โดยผู้จัดการสำนักงานใหญ่จะใช้วิธีการควบคุมตลาดและผลผลิต เช่น ควบคุมอัตราผลตอบแทน (Rate of return) การเพิ่มส่วนครองตลาด (Growth in market share) และต้นทุนการดำเนินงาน (Operation  costs) เพื่อประเมินผลการปฏิบัตงานของแต่ละประเทศ สำนักงานใหญ่จะนำผลการปฏิบัติงานทั่วโลกมาเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรเงินทุนและการถ่ายโอนความรู้ใหม่ ๆ สู่ประเทศต่าง ๆ
บริษัทซึ่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเยวกันในตลาดที่แตกต่างกันจำนวนมาก มักรวมกลุ่มสาขาต่างประเทศในเขตต่าง ๆ ของโลก (World regions) เพื่อทำให้ง่ายต่อการรวมผลิตภัณฑ์ข้ามประเทศ เช่น อาจแบ่งเป็นเขตยุโรป แปซิฟิก ตะวันออกกลาง เป็นต้น การรวมกลุ่มเช่นนี้เป็นการจัดกลุ่มให้เป็นตลาดเดียวกัน และเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ใช้ข้ามแผนกทั้งหมดภายในเขต ดังนั้นบริษัทสามารถได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มเพราะมีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน จึงทำให้ข้อมูลสามารถสื่อสานถึงกันได้ง่าย เช่น คนในเขตเดียกันมักชอบการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาดที่คล้ายกัน ซึ่งแผนกต่างประเทศแต่ละประเทศจะมีการติดต่อกันน้อยมาก เพราะไม่ต้องการกลไกในการผสมผสาน และไม่ต้องการการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การระดับโลก
2.กลยุทธ์ระหว่างประเทศและโครงสร้าง (International strategy and structure) บริษัทซึ่งใช้กลยุทธ์ระหว่างประเทศจะมีการขยายฐานการผลิตไปทั่วโลก โดยปกติบริษัทจะเปลี่ยนเข้าสู่กลยุทธ์นี้ เมื่อเริ่มต้นขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศตลาดต่างประเทศ บริษัทลักษณะนี้จะเพียงแต่เพิ่มแผนกต่างประเทศ (Foreign operation department) ขึ้นในโครงสร้างบริษัทที่มีอยู่ และใช้ระบบการควบคุมเช่นเดียวกัน ถ้าบริษัทใช้โครงสร้างตามหน้าที่ แผนกต่างประเทศก็ต้องร่วมมือกับแผนกผลิต แผนกขาย และกิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา โดยแจ้งความต้องการสิ้นค้าของตลาดต่างประเทศ สู่แผนกต่าง ๆ ของบริษัท
ในต่างประเทศบริษัทมักสร้างสาขาเพื่อรองรับการขายและการจัดจำหน่าย (Sales and distribution) เช่น บริษัท Mercedes-Benz จะมีผู้แทนจำหน่ายอยู่ในสาขาต่างประเทศ และมีการสร้างระบบควบคุมการขายรถ การขายอะไหล่ และการใช้บริการหบังการขาย เพื่อช่ายในการดำเนินงานของสำนักงานใหญ่
บริษัทซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด หรือดำเนินธุรกิจหลายอย่างจากโครงสร้างหลายแผนก มักมีปัญหาที่ท้าทายเกี่ยวกับความร่วมมือในการไหลเวียนหรือผลิตภัณฑ์ข้ามประเทศต่าง ๆ เพื่อจัดการการถ่ายโอนบริษัทหลายบริษัทได้สร้างแผนกระหว่างประเทศขึ้น โดยเพิ่มเข้าไปในโครงสร้างแผนกที่มีอยู่เดิม
การดำเนินงานระหว่างประเทศจะได้รับการบริหารโดยแยกเป็นธุรกิจออกไป ซึ่งผู้จัดการจะได้รับมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการร่วมมือกับแผนกการผลิตภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ แผนกระหว่างประเทศจะควบคุมสาขาต่าง ๆ ประเทศที่เป็นตลาดผลิตภัณฑ์ และมอบอำนาจหน้าที่ให้เป็นฝ่ายบริหารของแต่ละประเทศ การจัดการเช่นนี้จะมีความซักซ้อนมากขึ้นโดยจะต้องให้สัมพันธ์กับต้นทุนแบบระบบราชการที่ต่ำ อย่างไรก็ตามผู้จัดการในต่างประเทศจะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้จัดการแผนกระหว่างประเทศ
3.กลยุทธ์ระดับโลกและโครงสร้าง (Global strategy and structure) บริษัทเข้าสู่กลยุทธ์ระดับโลกเมื่อเริ่มจัดตั้งหน่วยการผลิต และกิจกรรมการสร้างคุณค่าอื่น ๆ ทั้งหมดทั่วโลกที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) คุณภาพ (Quality) และนวัตกรรม (Innovation) ในการแสวงหาประโยชน์จากกลยุทธ์ระดับโลกนี้ บริษัทต้องใช้ความร่วมมือมากขึ้นและต้องมีปัญหาในการรวมตัวกัน ในการถ่ายโอนทรัพยากรระหว่างสำหนักงานใหญ่ของบริษัทกับแผนกต่างประเทศ และในขณะเดียวกันก็ต้องจัดการควบคุมแบบรวมอำนาจซึ่งใช้ในกลยุทธ์ระดับโลก
4.กลยุทธ์ข้ามชาติและโครงสร้าง (Transnational strategy and structure) เป็นการจัดการซึ่งองค์การหนึ่งใช้กลยุทธ์การรวมตัว (Intergration strategy) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การระดับโลก ความล้อเหลวที่สำคัญของโครงสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั่วโลก คือ ขณะที่บริษัทมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดีเลิส แต่จะมีจุดอ่อนในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เพราะยังคงมุ่งอยู่ที่การควบคุมแบบรวมอำนาจเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้โครงสร้างลักษณะนี้ยังยากสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ ในบางครั้งการได้รับผลประโยชน์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือวิจัยและพัฒนาความรู้ระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ร่วมกันจะมีสูงมาก ต่อเนื่องจากบริษัทขาดโครงสร้างในการรวมกลุ่มกิจกรรมได้จึงไม่สามารถสร้างประโยชน์จากกลยุทธ์นี้

5.กลยุทธ์โครงสร้างแมททริกซ์ระดับโลก (Global-matrix structure) เป็นโครงสร้างองค์การในระดับโลกซึ่งเป็นการจัดโครงสร้างใหม่ซ้อนบนโครงสร้างตามหน้าที่ โครงสร้างจึงเป็นการเชื่อมโครงสร้าง 2 ประการเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์จากความสัมพันธ์ของ 2 เกณฑ์ร่วมกันให้มากที่สุด 

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ