ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างและการควบคุมระดับหน้าที่

โครงสร้างและการควบคุมระดับหน้าที่ (Strudture and control at the functional level) เป็นวิธีการที่ผู้บริหารกลุยุทธ์สามารถสร้างระบบโครงสร้างและการควบคุมเพื่อกระตุ้นการพัฒนาหน้าที่ หรือทักษะที่สำคัญ มีดังนี้
1.การผลิต (Manufacturing)
2
.การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
3
.การขาย (Sales) โดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต (Manufacturing)
เป็นกิจกรรมการนำปัจจัยการผลิต
(Factor of production) ซึ่งถือเป็นปัจจัยนำเข้า (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต (Production process) เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ (Goods or services) ซึ่งถือว่าเป็นผลผลิต (output) จากการผลิตกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategies) มักเป็นการมุ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ การตอบสนองต่อลูกค้า และวิธีการประหยัดต้นทุน บริษัทได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดในกิจกรรมการทำงานของพนักงาน และมีการพันาสายการบังคับบัญชาให้เป็นแบบรวมอำนาจ เพื่อลดต้นทุนลงเท่าที่เป็นไปได้ โดยถือเป็ฯส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริษัทยังใช้การควบคุมพฤติกรรมและผลผลิตเพื่อลดต้นทุน เช่น บุคลากรในบริษัทจะได้รับการทำให้เป็นมาตรฐาน โดยการสรรหาและฝึกอบรมทักษะ กระวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานเพื่อลดต้นทุน และมีการควบคุมคุณภาพเพื่อทำให้แน่ใจว่าผลผลิตได้รับการผลิตที่ถูกต้องและมีคุณภาพ นอกจากนี้ผู้จัดการยังใช้การควบคุมผลผลิต เช่น การจัดการงบประมาณให้มีการหมุนเวียนและมีการควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
เมื่อไม่นานมานี้บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น เช่น Toyota และ Sony ใช้วิธีการจัดการคุณภาพโดยรวม(Total Quality Management : TQM) และระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible manufacturing systems) การจัดการแบบ TQM ที่แระสบความสำเร็จจำเป็นต้องใช้วิธีที่แต่ต่างกันในการนำเข้าสู่องค์การ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการออกแบบองค์การด้วยวิธีการจัดการแบบ TQM ปัจจัยนำเข้า และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทุกคน ในกระบวนการตัดสินใจเป็นสิ่งจำเป็นในกานจะปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิต ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรวมอำนาจหน้าที่เพื่อจูงในพนักงานให้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต นอกจากนี้การจัดการแบบTQM ยังมีการสร้างการทำงานเป็นทีม (Work Teams) กล่าวคือพนักงานจะได้รับมอบความรับผิดชอบ (Responsibility) และอำนาจหน้าที่ (Authority) เพื่อค้นห้าและปรับปรุงวิธีดำเนินงาน มีการสร้างวงจรการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles : QCC) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับปัญหา และวิธีการดำเนินงาน และมีการสร้างระบบการให้รางวัล หรือแผนให้พนักงานเป็นเจ้าของหุ้น (Employee Stock Ownership Plan : ESOP) เพื่อกระต้นพนักงานให้เกิดการทำงาน
ผู้จักการจะทำหน้าที่เหมือนผู้ฝึกสอน (Coach) และผู้ให้ความสะดวก (Facilitator) แก่สมาชิกของทีมที่ผู้จัดการจะต้องทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานเป็นทีม (Work Teams) ซึ่งมักได้รับมอบความรับผิดชอบในการควบคุมและสร้างระเบียบวินัยขึ้นในกลุ่มสมาชิกของตน บ่อยครั้งที่การทำงานเป็ฯทีมีการสร้างบรรทัดฐาน ค่านิยม และวัฒนธรรมกลุ่มได้กลายเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเป็นวิถีทางของการควบคุม (Control) การควบคุมชนิดนี้จะเหมาะสม (Match) กับวิธีการกระจายอำนาจแบบใหม่โดยการทำงานเป็นทีม
แม้ว่าพนักงานจะได้รับเสรีภาพมากขึ้นในการควบคุมกิจกรรมของเขา แต่ก็ยังต้องใช้การควบคุมผลผลิตอย่างกว้างและการวัดประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมการทำงานเป็นทีมบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ ได้แก่ การสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ การปรับปรุงกฎเกณฑ์การทำงาน และวิธีดำเนินงานให้มีการพัฒนาเพื่อยกระดับความเป็นมาตรฐาน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการค้นหาความเหมาะสม (Matching) ระหว่างโครงสร้าง การควบคุม และวิธีการจัดการแบบ TQM เพื่อทำให้การผลิตมีความแตกต่างไปจากเดิม ตลอดจนมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
การวิจัยและการพัฒนา (Research and Development (R&D))
กลยุทธ์ระดับหน้าที่สำหรับแผนกวิจัยและพัฒนาความสำคัญต่าง ๆ ในนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โครงสร้างของแผนก R&D และระบบการควบคุม ควรได้รับการออกแบบเพื่อจัดความร่วมมือและเพื่อนำผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ควรจูงใจนักวิทยาศาสตร์ให้ทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ ๆ
ในทางปฎิบัติแผนก
R&D ควรมีโครงสร้างแบบแบน (Flat) และมีการกระจายอำนาจ (Decentralizec) ซึ่งจะรวมกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เข้าเป็นทีม โครงสร้างแบบแบบจะทำให้ผู้วิจัยและพัฒนามีเสรีภาพและมีอิสระที่จะนำเอาวิธีการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เนื่องจากผลการปฎิบัติงานของนักวิทยาสตร์ และวิศวกรมักต้องใช้เวลาหลายปีกว่าโครงการจะสำเร็จ ประกอบกับชั้นของสายการบังคับบัญชามักเป็นแบบระบบราชการ จึงทำให้ตุ้นทุนและการสุญเสียทรัพยากรมีสูง
จากการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารกลยุทธ์มีโอกาสที่จะนำนักวิทยาศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหาและช่วยกันเพิ่มพูนผลการปฏิบัติงาน พนักงานจะได้รับการฝึกหัดเกี่ยวกับคุณค่าและบรรทัดฐานด้านอาชีพมาเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน
ในการกระตุ้นทีมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิผล สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือระบบการใช้รางวัลซึ่งจะต้องพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานเป็นทีมเพราะถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รับส่วนแบ่งจากกำไรที่บริษัทได้จากผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ บุคคลเหล่านี้อาจมีแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือทีมอย่างเต็มความสามารถ เพื่อป้องกันการจากไปของพนักงานที่เป็นบุคคลสำคัญ
(Key employees) และเพื่อกระตุ้นให้มีแรงจูงใจสูง บริษัทต่าง ๆ อาจให้มีการเลือกรางวัลได้ ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานส่วนบุคคล ทีม และของบริษัท
การขาย (Sales)
จากการวิจัยและพัฒนาพบว่าหน้าที่การขายมักจะมีโครงสร้างแบบแบน (Flat structure) ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปจะมีระดับชั้นสายงานบังคับบัญชาเพียง 3 ระดับ คือ
1
.ผู้อำนวยการฝ่ายขาย (Sales director)
2
.ผู้จัดการเขต หรือผู้จัดการฝ่ายขาย (Regional or product sales managers)
3
.พนักงานขาย (Individual salespeople)
 สามารถใช้ได้แม้กับหน่วยงานขาย (Sales forces) ที่มีขนาดใหญ่ โครงสร้างแบบแบบสามารถนำมาใช้ได้เพราะองค์การไม่ต้องควบคุมดูแลโดยตรง กิจกรรมของพนักงานขาย มักจะมีความซับซ้อน เนื่องจากต้องกระจายออกไปอยู่ในสนามการขาย พนักงานเหล่านี้มีความยากลำบากในการที่จะได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชา เพราะหน้าที่การขายมักจะใช้ผลงาน (ผลผลิต) เป็นเครื่องวัด และการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
การควบคุมการผลผลิต
(Output controls) เป็นการตั้งเป้าหมายการขายเฉพาะ หรือตั้งเป้าหมายการเพิ่มการตอบสนองต่อลูกค้า ซึ่งสามารถตั้งได้อย่างง่าย ๆ และควบคุมดูแลโดยหัวหน้าชั้นต้น (Supervisors) แล้วนำการควบคุมด้วยผลงานไปเชื่อมโยงกับระบบการให้รางวัล (Bonus reward system) เพื่อกระตุ้นพนักงานขาย
การควบคุมพฤติกรรม
(Behavior controls) เป็นการรายงานรายละเอียดการทำงานของพนักงาน เช่น แฟ้มของพนักงานขายควรมีการบันทึกถึงปฏิกิระยาของพนักงานขายกับลูกค้า ซึ่งสามารถใช้เพื่อกำหนดพฤติกรรมของพนักงานขายให้เป็นมาตรฐาน และทำให้ง่ายต่อหัวหน้างานที่จะทบทวนผลการปฏิบัติงานของพนักงานขาย

การออกแบบเช่นเดียวกันนี้ อาจนำไปประยุกต์ใช้กับหน้าที่อื่น ๆ ได้เช่น แผนกบัญชี การเงิน วิศวกรรม การจัดการพรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น ดังนั้นผู้จัดการจึงต้องเลือกการผสมผสานของโครงสร้างที่ถูกต้องและการควบคุมกลไก ในการทำให้แต่ละหน้าที่มีการช่วยเหลือกัน เพื่อบรรลุประสิทธิภาพ (Efficiency) คุณภาพ (Quality) นวัตกรรม (Innovation) และมีการตอลสนองต่อลูกค้าที่เหนือกว่าผู้แข่งขัน ปัจจุบันบริษัทจำนวนมากพยายามลดชั้นสายการบังคับบัญชาลงให้เป็นโครงสร้างแบบแบน และการกระจายอำนาจการควบคุม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบังคับบัญชาตามสายงานลง ซึ่งผู้บริหารกลยุทธ์ (Strategic managers) ต้องพัฒนาระบบการควบคุม และระบบการสร้างสิ่งจูงใจเพื่อกระตุ้นจูงใจพนักงานในการทำงาน และทำให้พนักงานมีความสนใจในองค์การ

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ