ขั้นที่ 1 การพัฒนาการวัดเชิงประมาณความดึงดูดในอุตสาหกรรมระยะยาว คือ การเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ดึงดูด
ขั้นที่ 2 การให้น้ำหนักในการวัดความดึงดูดแต่ละประเด็นเป็นการตัดสินใจว่าควรให้น้ำหนักมากเท่าใด กับการวัดความดึงดูดแต่ละประเด็น อาจให้น้ำหนักมากที่สุดในภาพของบริษัทที่ว่า บรรลุความสำเร็จ และสอดคล้องความต้องการและขีดความสามารถของบริษัท ผลรวมของน้ำหนักต้องบวกกันแล้วเท่ากับ 1 ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมจะได้รับการจัดโดยการวัดความดึงดูดในอุตสาหกรรมเป็นระดับ โดยให้คะแนน 1 ถึง 5 หรือ 1ถึง 10 โดยมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) (ค่าที่สูง หมายถึง ความดึงดูดสูง และค่าที่ต่ำ หมายถึง ความดึงดูดต่ำหรือไม่ดึงดูด) น้ำหนักที่ประเมินความดึงดูดจะได้รับการกำหนด โยการคูณด้วยระดับของอุตสาหกรรมในปัจจัยแต่ละประเด็น โดยชั่งน้ำหนักปัจจัย ตัวอย่างเช่น ปัจจัยด้ายความเข้มข้นในการแข่งขันมีระดับคะแนน 8 เท่าของน้ำหนัก .30 ทำให้มีระดับค่าความดึงดูดของอุตสาหกรรม = 2.4
ตารางแสดงการวัดความดึงดูดของอุตสาหกรรม
ความดึงดูดของส่วนประสมอุตสาหกรรมทั้งหมด (The attractiveness of the mix of industries as a whole) สำหรับบริษัทที่มีการกระจายสู่อุตสาหกรรมทีแข็งกว่า ส่วนของรายได้ถาวรและกำไร ที่มากต้องมาจากหน่วยธุรกิจที่มีความดึงดูด (คะแนนรวมดึงดูดที่สูง) เป็นสิ่งสำคัญธุรกิจหลักของบริษัทจะต้องอยู่ในอุตสาหกรรมซึ่งเจริญเติบโตได้ดีและมีกำไรอยู่เหนือค่าเฉลี่ย รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทและกำไรมาจากอุตสาหกรรมซึ่งมีความเติบโตช้า ถ้าผลตอบแทนการลงทุนต่ำมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลการปฏิบัติงานทั้งหมดของบริษัทต่ำลงไปด้วย หน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ดึงดูดน้อยที่สุด ก็ต้องเลิกดำเนินงานไป