ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาต้นทุนที่ต่ำ

1.การประหยัดหรือไม่ประหยัดจากขนากการผลิต (Economics or diseconomies of scale)
การประหยัดจากขนาดการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตประมาณมากขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ตัวอย่าง ห้างสรรพสินค้าที่มีหลายสาขาจะเกิดการประหยัดมากกว่าห้างสรรพสินค้าที่มีสาขาเดียว เนื่องจากเกิดการประหยัดจากการจัดซื้อ การโฆษณา การบริหาร ฯลฯ
2.ผลกระทบจากการเรียนรู้และประสบการณ์ (Learning and experience effects)
ต้นทุนในการกระทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามจะลดลง เนื่องจากเกิดการประหยัดจากประสบการ์ในการทำงาน และเกิดการเรียนรู้ ตัวอย่าง พนักงานที่ทำงานมานานย่อมมีผลงานมากกว่าพนักงานที่เพิ่งเริ่มทำงานเพราะเกิดการเรียนรู้ในการทำงาน
3.ต้นทุนของปัจจัยนำเข้าซึ่่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ (The cost of key resource inputs)
ต้นทุดในกิจการเครื่อข่ายการสร้างคุณค่าจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่คู่แข่งขันแต่ละรายจะใช้ต้นทุนที่แตกต่างกัน ต้นทุนที่สำคัญ ได้แก่ แรงงาน วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ฯลฯ
4.ความเชื่่อมโยงกับกิจกรรมอื่น ๆ ในเครื่อข่ายการสร้างคุณค่าในอุตสาหกรรม (Linkages with other activites in the company or industry value chain)
เมื่อต้นทุนของกิจกรรมหนึ่งได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ต้นทุนจะสามารถลดลงได้ ถ้ามีกิจกรรมที่มีความร่วมมือกันและการประสารงานที่ดี ตัวอย่าง ต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิจัยและพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ แผนการผลิต การนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถลดต้นทุนบางส่วนที่ใช้ร่วมกันได้
5.การใช้โอกาสจากหน่วยธุรกิจภายในองค์การร่วมกัน (Sharing opportunities with other organizational or business units within the enterprise)
สายผลิตภัณฑ์หรือหน่วยธุรกิจที่แตกต่างกัน จะสามารถใช้ระบบกระบวนการสั่งซื้อ หน่วยงานขาย ตลอดจนใช้คลังสินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดจำหน่ายร่วมกันได้ ปัจจัยเหล่านี้ถือว่าทำให้เกิดการลดต้นทุนให้ต่ำลงได้
6.ผลประโยชน์จากการรวมตัวในแนวดิ่ง (Benefits of vertical integration)
การรวมกิจกรรมกับผุ้ขายปัจจัยการผลิตและคนกลางในช่องทาง ทำให้เกิดอำนาจการต่อรอง และทไให้เกิดประหยัดต้นทุนในการผลิตและการจัดจำหน่ายได้
7.เงือนไขด้านเวลาซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดก่อนคู่แข่งขัน (Timing considerations associated with first-mover advantages and disadvantages)
ในบางครั้งสินค้าที่เป็นตราสินค้าแรกที่เข้าสู่ตลากจะสามารถสร้างและรักษาชื่อตราสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคุ่แข่งขันที่เข้ามาทีหลัง แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่เทคโนโลยีมีการพัฒนารวดเร็วมา ผุ้ซื้อภายหลังจะได้รับประโยชน์จากการซื้อสินค้าในราคาถูกกว่าผู้ซื้อที่ซื้อในตอนแรก ตัวอย่าง ผู้บริโภคที่ซื้อโทรศัพท์มือถือหรือวิทยุติดตามตัว
8.ร้อยละของการใช้ประโยชน์จากสมรรถภาพในการผลิต (Percentage of capacity utilization)
การใช้ประโยชน์จากสมรรถภาพในการผลิตยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงมากเท่าน้ัน
9.ทางเลือกกลยุทธ์และการต้ดสินใจในการดำเนินงาน(Strategic choices and operating decisions)
ต้นทุนบริษัทจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับการตัดสินในในการดำเนินงานดังนี้
-การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนผลิตภัณฑ์หรือความหลากหลายที่นำเสนอ
-การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของบริการที่มอบให้ผุ้ซื้อ
-ลักษณะการดำเนินการและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้นหรือน้อยลง
-ค่าจ้างและผลประโยชน์สำหรับพนักงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน
-การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนช่องทางการจัดจำหน่ายที่ใช้ในการการจายผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า สั้นหรือยาว
-การใช้สิ่งจูงใจมากขึ้นหรือน้อยกว่าคู่แข่งขัน ค่าตอบแทนที่จูงใจพนักงานมากขึ้นหรือลดลง
-คุณสมบัติวัตถุดิบที่สูงขึ้นหรือลดง

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ