ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โครงสร้างองค์การสำหรับอนาคต


โครงสร้างองค์การสำหรับอนาคต (Organizational structures of the future) บริษัทจำนวนมากในทุกวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสู่งานการวางรูปแบบโครงสร้างสายการบังคับบัญชาใหม่ จากเดิมที่ทำหน้าที่ตามความชำนาญเฉพาะด้าน ก็เปลี่ยนไปสู่การรวมอำนาจหน้าที่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเดิมยังคงเป็ฯกลยุทธที่ดีสำหรับในกรณีต่อไปนี้ 
1.กิจกรรมขององค์การเป็นงานที่ง่ายและสามารถทำซ้ำ ๆ ได้ ซึ่งทำให้เกิดความชำนาญได้อย่างรวดเร็วและสามารถสร้างประสิทธิภาพได้เมื่อมีปริมาณการผลิตหรือการจัดจำหน่ายสูง
2.ตราบใดที่ยังมีความเชี่ยวชาญในหน้าที่ในแต่ละงานอย่างลึกซึ้ง ก็จะก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมาก
3.การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งง่ายต่อการกำหนดการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความพอใจ
แต่ตามที่ปฏิบัติกันมาในธุรกิจ คือ ลูกค้าจะชอบการเปลี่ยนจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สู่งการสั่งแบบลักษณะพิเศษ ทำให้วงจรชีวติผลิตภัณฑ์สั้นลง ลูกค้าต้องการได้รับการปฏิบัติแบบเฉพาะเป็นราย ๆ ไป การก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่กำลังทำอย่างเร่งรีบ สภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลง การบริหารแบบมีหลายขั้นตามสายการบังคับบัญชามีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เร็วเพียงพอ การรักษาการปฏิบัติตามหน้าที่ มุ่งงาน กระบวนการแบ่งแยกเป็นส่วนงานต่าง ๆ ชั้นการบริหาร การตัดสินใจจากส่วนกลาง ระยะเวลาการโต้ตอบที่นาน เหล่านี้เป็นการทำลายความสำเร็จในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทีมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ความสำเร็จใจตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นอยู่กับการสร้างกลยุทธ์ในด้านความสามารถด้านคุณค่า และขีดความสามารถขององค์การโยทำให้ต้องมีการโต้ตอบการเปลี่ยนแปลงตามความพอใจของลูกค้า การออกแบบระยะสั้นสู่วงจรตลาด ทำคุณภาพให้ดีตั้งแต่ครั้งแรก การผลิตตามสั่งและมีรูปแบบที่หลากหลาย การบริการลูกค้าเป็นรายบุคคล การใส่ข้อมูลการสั่งสินค้าที่ถูกต้อง  การผสมกลมกลืนที่รวดเร็วของเทคโนโลยีใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และปฏิกิริยาโต้ตอบที่รวดเร็วสู่คู่แข่ง
ส่วนประกอบใหม่เหล่านี้ในกลยุทธุรกิจได้มีการผลักดันให้เกิดการปฏิวัติในองค์การบริษัท ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทจำนวนมากมีการเคลื่อนไหว ดังนี้
1.มีการลดขนาดแรงงาน (Downsizing) ลง เนื่องจากเกิดภาวะธุรกิจตกต่ำทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้น โดยเฉพาะผู้จัดการระดับกลางตามสายการบังคับบัญชา
2.มีการลดโครงสร้างองค์การแบบปิรามิดให้มีโครงสร้างเป็นแบบแบน(Flat Structure) ซึ่งมรการกระจายอำนาจ การออกแบบองค์การล่าสุดสำหรับการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับโครงสร้างคือ มีขั้นการบริหารเพียง 2-3 ขั้น
3.มีหน่วยธุรกิจเล็กลง
4.มีกระบวนการรื้อปรับระบบงานให้แข็งขึ้น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จำเป็นขึ้นมา
5.มีการรวมหุ้นส่วนกับภายนอก
6.มีการมอบอำนาจให้กับหัวหน้างานในสายงานขั้นต้น และพนักงานที่ไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร
7.ใช้วิธีการจัดพนักงานตามหน้าที่
8.เปิดการสื่อสารในแนวดิ่งและแนวนอน (โดนทาง e-mail)
9
.มีการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว
10.มีการยอมรับด้านภาระรับผิดชอบ(Accountability)
องค์การรูปแบบใหม่จะเป็นแบบแบน มีความคล่องตัวในการโต้ตอบ และมีนวัตกรรม เครื่องมือใหม่ในการออกแบบองค์การ ก็คือ
1.การมอบอำนาจให้แก่ผู้จัดการและพนักงานเพื่อการตัดสินใจด้วยตนเอง
2.มีกระบวนการรื้อปรับระบบงาน
3.มีทีมงานแบบนำตนเอง (Self-director work teams)
4
.ทำงานเป็นเครือข่ายกับภายนอกเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถขององค์การและสร้างสิ่งใหม่
5.มีการท้าทายการสร้างองค์การใหม่ด้วยการเอาชนะคู่แข่งขันด้วยความสามารถที่ดีกว่าและจุดแข็งด้านทรัพยากร
6.มีการตัดสินใจแบบกระจายอำนาจ
7.ใช้เวลาการโต้ตอบที่สั้นลง
8.มีการสร้างแนวความคิดใหม่ ๆ ดังนั้นงานจึงมักมีขนาดกว้างมากขึ้น งานหลาย ๆ อย่างจะได้รับการประสมประสานเป็นงานเดียวกันเท่าที่จะเป็นไปได้
9.ผู้บริหารและพนักงานจะมีความสำพันธ์กันมากขึ้นในการทำงาน จะใช้ผู้บริหารน้อยลงเพราะการตัดสินใจจะทำในลักษณะทีมงาน
องค์การในอนาคตจะมีลักษณะใหม่หลายประการดังนี้
1.จะมีการเชื่อมโยงระหว่างตำแหน่งสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่งน้อยลง
2.มีขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้น
3.จะมีความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมีความชำนาญในหน้าทีต่าง ๆ และบุคลากรที่อยู่ในต่างเขตภูมิศาสตร์มากขึ้น
4.มีการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล – คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์ไร้สาย การประชุมทางวีดีโอและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
สรุป
การสร้างองค์การให้มีความสามารถ (Building a capable organization) มีดังนี้
1.การเลือกบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญ (Selecting people for key positions)
2
.การสร้างความสามารถหลักและขี่ความสามารถในการแข่งขัน (Building cor competencies and competitive capabilities)
3
.การปรับโครงสร้างองค์การให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ (Matching organizational structure to strategy)
การเพิ่มเติมโครงสร้างองค์การ (Supplementing the organizational structure) มีวิธีการดังต่อไปนี้
1
.ทีมงานโครงการพิเศษ (Special project teams)
2
.กำลังแรงงานข้างหน้าที (Cross – functional task forces)
3
.ทีมบุกเบิกสิ่งใหม่ (Venture teams)
4
.ทีมงานอิสระ (Self-contained work teams)
5
.ทีมกระบวนการ (Process teams)
6
.ผู้จัดการที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน (Contact managers)
7
.ผู้จัดการที่ทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ (Relationship managers)

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ