ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (Inbound logistics)

เป็นกิจกรรมในการรับ การเก็บรักษา และการจัดการปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้ายและการรับคืนจากผู้ขาย การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลต่อการลดต้นทุน และการเพิ่มขึ้นในผลผลิต

การปฏิบัติการ(Operations)หรือการผลิต(Production)

จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องการเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย(Final product) ประกอบด้วยกิจการต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล การบรรจุภัณฑ์ สายการผลิต การรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การปรับปรุงกิจกรรม เหล่านี้จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธ์ภาพดีขึ้น ซึ่งมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อสภาพการณ์ใช้ของตลาด

กิจกรรมสนับสนุน

กิจกรรมสนับสนุน (Supporting activities) เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) การพัฒนาเทคโนโลยี(Techonology development) การจัดหาวัตถุดิบ(Procurement) และโครงสร้างพื้นฐานกิจการ (Firm infrastructure) ประกอบด้วย การจัดการทั้งไป การเงิน บัญชี ระบบข้อมูล กฏหมาย และความสัมพันธ์กับรัฐบาล นอกจากนี้ การจัดหากิจกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมพื้นฐานเพื่อให้เป็นกิจกรรมให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันกับกิจกรรมพื้นฐาน ตัวอย่าง ธุรกิจจะต้องมีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผล โดยการสรรหา การคัดเลือก การให้รางวัล และการพัฒนาพนักงาน ตลอดจนมีการวิจัยพัฒนา (R&D) เพื่้อค้นหาถึงกิจกรรมเทคโนโลยีที่ จำเป็น
ประกอบด้วย
1.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
2.การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology development)
3.การจัดหาวัตถุดิบ (Procurement)
4.โครงสร้างพื้นฐานของกิจการ (Firm infrastucture)

กิจกรรมพื้นฐาน

กิจกรรมพื้นฐาน (Primary activities) เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ยอดขาย และส่งมอบไปยังผู้ซื้อและบริการภายหลังการขาย กิจกรรมเบื้องต้นประกอบด้วย
1.การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (inbound logistics)
2.การปฏิบัติการ (Operations) หรือการผลิต (Production)
3.การจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป (Outbound logistics)
4.การตลาดและการขาย (Marketing and sales)
5.บริการ (Services)

การนำวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจการ (Inbound logistics)

เป็นกิจกรรมในการรับ การเก็บรักษา และการจัดการปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้ายและการรับคืนจากผู้ขาย การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้เป็นผลต่อการลดต้นทุน และการเพิ่มขึ้นในผลผลิต

การปฏิบัติการ (Operations)หรือการผลิต (Production)
จะเกียวข้องกับกิิจกรรมที่ต้องการเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (final product) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรกล การบรรจุภัณฑ์ สายการผลิต การรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การปรับปรุงกิจกรรม เหล่านี้จะนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธ์ภาพดีขึ้น ซืังมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อสภาพการณ์ใช้ ของตลาด

การจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป (Outbound logistic)
เป็นการจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปออกสู่ตลาดซึ่งเป็นลูกค้าของธุรกิจ งานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การคลังสินค้า การจัดการวัสดุ การกำหนดตารางการขนส่ง และกระบวนการปฎิบัติการตามคำสั่งซื้อ การปรับปรุงกิจกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและระดับการให้บริการแก่ลูกคัาที่ดีขึ้น

การตลาดและการขาย (Marketing and sales)
กิจกรรมการตลาดและการขายของธุรกิจจะเกี่ยวข้องกับปัญหา 4 ประการ คือ ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product mix) ราคา(Price) การส่งเสริมการตลาด(Promotion) และช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of distribution) โดยมุ่งที่ส่วนของตลาด ซึ่งธุรกิจกำหนดเป็นเป้าหมาย ตลอดจนความสลับซับซ้อนของกระบวนการผลิต ธุรกิจจะต้องตัดสินใจผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างแคบ หรืออย่างกว้าง ราคาซึ่งสามารถที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในสายตาของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีการวางแผนการโฆษณา และการใช้สื่อ ข้อสุดท้ายมีปัญหาที่สำคัญหลายประการ ในการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ควรจะจำหน่ายไปยังลูกค้าที่เป็นเป้าหมายอย่างไร ซื่งประกอบด้วยการประเมินความสำคัญที่เกี่ยวข้องกันของผู้จัดจำหน่ายเปรียบเทียบกับการขายโดยตรงโดยใช้ หน่วยงานขายและการพิจารณาทำเลที่ตั้งของช่องทางการค้าปลีก

การบริการ(services)
ผุ้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการให้บริการลูกค้า ซึ่่๋งถือว่าเป็นกิจกรรมสร้างคุณค่าที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ การให้บริการลูกค้าประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การติดตั้งการซ่อมแซม การฝึ่กอบรมลูกค้า การนำเสนออะไหล่และชิ้นส่วน การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ การให้คำแนะนำที่รวดเร็วสามารถตอบสนองการติชมของลูกค้า ในขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ ต้องการการฝึกอบรมลูกค้าให้ใช้สินค้าเป็น ดังนั้นจึงเกิดความจำเป็นในบริการ ให้คำบริการลูกค้าที่เหนื่อกว่า ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของบริษัท


ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ