ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสร้างความแตกต่าง

การแสวงหาข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้านการสร้างความแตกต่างนั้น ธุรกิจต้องพยายามสร้างผลิตภัณฑ์และหรือการบริการในลักษณะที่ไม่เหมือนใคร (Unique bundles) เพื่อให้เกิดคุณค่าที่สูงขึ้นแก่ลูกค้าจากเครื่อข่ายคุณค่าที่สูงขีั้นให้แก่ลูกค้า ข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการสร้างความแตกต่างต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ
1.รูปร่างของผลิตภัณฑ์(Product Features)
เป็นการสร้างความแตกต่างด้านลักษณะทางกายภาพ และสมรรถภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น การพัฒนาเครื่องรับโทรทัศน์ของบริษัท Philips ซึ่งสามารถแสดงภาพ 2 ช่องบนหน้าจอได้พร้อมกัน
2.บริหารหลังการขาย(Aftes-sales services)
เป็นการสร้างความแตกต่างด้านการอำนวยความสะดวกและคุณภาพของการบริการซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เช่น การให้บริการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์ได้ทุกเครื่อข่ายทั่วประเทศ
3.ภาพลักที่พึงปรารถนา(Desirable image)
เป็นรากฐานสำคัญของสินค้าแฟชั่นทั้งหลาย เช่น การจัดลำดับของเสื้้อผ้า กางเกงยีนส์ ไปจนถึงเสื้อผ้าขนสัตว์โดยนักออกแบบเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่สินค้า
4.นวกรรมทางด้านเทคโนโลยี(Technological innovaiton)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญของข้อได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อสร้างของเขตของธุรกิจให้ขยายกว้างขวางขึ้น เข่น บริษัทCambridge Speakerwords ได้สิทธิบัตรในการผลิตลำโพงขนาดเล็กที่มีคุณภาพเสียงที่ดีเทียบเท่าลำโพงขนาดใหญ่(Giant loudspeakers) แต่มีขนาดเหมาะสมกับห้องขนาดเล็กของอพาร์ทเมนท์
5.ชื่อเสียงของกิจการ(Reputation of the firm)
การสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักมีความสำคัญต่อการขายสินค้า เช่น เมื่อพูดถึงธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ก็มักจะนึกถังความโด่งดังของบริษัท IBM เพราะไม่เคยมีใครผิดหวังเมื่อซื้อสินค้าจาก IBM
6.การผลิตอย่างสม่ำเสมอ(Manufacturing consistency)
เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกิจการประเภทประกอบชิ้นส่วนซึ่งต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อดำเนินการผลิตให้ได้สินค้าสำเร็จรูปออกมาและมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมกระบวนการผลิตโดยใช้สถิติ รวมทั้งการจัดลำดับของเทคนิกการควบคุมเข้ามาช่วยในการผลิต
7.เครื่องหมายที่แสดงสถานภาพ(Status symbol)
รถยนต์ที่มีราคาแพงมากกว่าราคาบ้านบางหลังเป้นสิ่งที่ถูกซื้้อมาด้วยเหตุผลอื่นมากกว่าการซื้อมาใช้เพียงแค่พาหนะสำหรับเดินทาง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลักการเลือกใช้กลยุทธ์

องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน จะต้องยึดข้อได้เปรียบที่มีความสัมพันธ์กับการแข่งขัน ซึ่งข้อได้เปรียบนี้อาจจะทำได้โดยการสร้างความแตกต่างให้ดีเด่นกว่าคู่แข่งขัน เช่น ในกรณีลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแตกต่างกันของบริษัทรถยนต์ Rolls Royce มากกว่าการซื้อจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น เนื่องจากก่อให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้าได้มากกว่า ทำให้ลูกค้าได้รับคุณค่าที่สูงกว่าคู่แข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายไป หรืออาจจะใช้กลยุทธ์การเลือกกำหนดให้สินค้ามีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งมีผลต่อการกำหนดราคาได้เช่นกัน เพราะทำให้ได้รับกำไรเฉลี่ยที่มากขึ้น ตัวอย่าง ร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่ของ Wal-mat ได้เลือกใช้กลยุทธ์การทำให้ต้นทุนต่ำ ในช่วง10 ปี แนวความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ของระดับธุรกิจจะมีพื้นฐานมาจาก ข้อได้เปรียบในการแข่งขันทั้ง 2 กลยุทธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามภายหลังได้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันลักษณะอื่นที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีก ได้แก่ ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ตัวอย่าง บริษัท Domino's Pizza ได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการส่ง Pizza ได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาทีที่รับคำสั่งซื้อ ดังนั้นบริษัทที่สามารถดำเนินการด้วยข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่า 1 อย่าง จึงเป็นธุรกิจที่มีตำแหน่งของกรแข่งขันที่เข็มแข็งมากกว่าคู่แข่งขัน

ในระยะยาว ถ้าธุรกิจใดปราศจากข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่า 1 อย่างแล้วอาจทำให้ธุรกิจนั้นได้รับผลตอบแทนที่เท่ากับผลตอบแทนเฉลี่ยที่ผู้ลงทุนทั้งหลายคาดหวังว่าจะได้รับจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงภัยที่คล้ายคลึงกับทางเลือกอื่น สุดท้ายในระยะยาว ธุรกิจซื้องปฎิบัติงานต่ำกว่าระดับกำไรปกติก็จะประสบความล้อเหลวในการดึงดูดความสนใจหรือรับษาความต่อเนื่องของการลงทุน เพราะผลตอบแทนที่ได้รับมีเพียงกำไรปกติที่ไม่มีความโดดเด่นให้น่าสนใจ เนื่องจากธุรกิจทั้งหลายโดยปกติมักพยายามอย่างที่สุดที่จะทำให้ได้รับกำไรสูงสุด ดังนัันการดำเนินการตามข้อได้เปรียบในการแข่งขัน จึงได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญของการบริหารเชิงกลยุทธ์ในระดับธุรกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนของบริษัท Clark Equipment ซึ่งเป็นธุรกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกากล่าว่า กระบวนการของการบริหารเชิงกลยุทธ์อาจกำหนดเป็นบริหารข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ประกอบด้วย กระบวนการของการจำแนกรายละเอียด การพัฒนา และการได้เปรียบของสภาพแวดล้อมมาดำเนินการที่จะดำรงธุรกิจน้ำประสบผลสำเร็จ

ข้อได้เปรียบในการแข่งขันสามารถกำหนดเป็นแนวทางได้ดังนี้
1.การสร้างความแตกต่าง(Differentiaiton)
2.การเป็นผุ้นำด้านต้นทุน(Cost leadership)
3.การตอบสนองอย่างรวดเร็ว(Quick response)
4.การมุ่งตลาดเฉพาะส่วน(Market focus)

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไทย + สหรัฐอเมริกา

ความตกลงการค้าเสรี ไทย - สหรัฐอเมริกา(Thailand - US Free Trade Agreement)

เริ่มเมื่อปี 2545 (2002)มีการลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement Between The United States and the Kingdom of Thailand - TIFA) เพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและปูทางสู่การจัดตั้ง FTA ในอนาคต ครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ โดยที่การเจราจาหยุดชะงักเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 จากการยุบสภาของไทย หลัีงปฎิรูปการปกครองเดือนกันยายน 2549 สหรัฐอเมริกาประกาศไม่เจรจา FTA กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ประกอบกับมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พฤษจิกายน 2551 สหรัฐอเมริกาจึงยังไม่มีท่าที แต่ก็มีกลไกประชุมหารือประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ FTA เช่น ประเด็นปัญหาการค้าและการลงทุน และอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม

ไทย + เปรู

ความตกลงทางการค้า ไทย - เปรู (Thailand - Peru Free Trade Agreement)


เริ่มเมื่อปี 2545(2002)พัฒนาสู่การลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ไกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ไทย - เปรู (Framework Agreement on Closer Economic Partnership between the Republic of Peru and the Kingdom of Thailand) ในปี 2546 ครอบคลุมการค้า สินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือด้านต่าง ๆ ด้ายเป้าหมายการเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2558 ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหวจะพิจารณาเป็นรายการ ๆ ไป ซื้งได้ลงนามพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้า และอำนวยความสะดวกทางการค้าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 อีกทั้งลงนามพิฺธีสารเพิ่มเติมด้านถิ่นกำเนิดสินค้าในเดือนพฤศจิกายน 2549 เพื่อลดภาษีสินค้าบางส่วน (Early Harvest) มีผลในทางปฏิบัติ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมการเสนอคณะรัฐมาตรี และรัฐสภาให้ความเห็นชอบการลงนามพิธีสารเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไทย + นิวซีแลนด์

ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ไกล้ชิด ไทย - นิวซีแลนด์ (Thailand - New Zealand Closer Economic Partnership Agreement- TNZCEP)

เริ่มเมื่อปี2546 (2003)พัฒนาสู่การเจรจาในปีต่อมา ครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทุกด้าน ทั้งการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้ัา โดยใช้ FTA ไทย - ออสเตรเลียเป็นพื้นฐานการเจรจา ซื่งได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเป้นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด ไทย - นิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 กำหนดให้เปิดเสรีการค้าสินค้า โดยนิวซีแลนด์ลดภาษีสินค้าจำนวนประมาณร้อยละ 79 เป้นอัตราร้อยละ 0 ในวันที่ความตกลง มีผลบังคับใช้ และทยอยลดภาษีเป็นอัตราร้อยละ 0 ภายใน 10 ปี (ปี 2558) ไทยลดภาษีสินค้าจำนวนประมาณร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 0 ในวันที่ความตกลง มีผลบังคับใช้ และทยอยลดเป็นศูนย์ภายใน 15 ปี (2563)แต่มีมาตรการปกป้องพิเศษ 23 สินค้า และให้โควต้าเฉพาะสำหรับนิวซีแลนด์ 4 สินค้า

ด้านการค้าบริการ และการลงทุน นิวซีแลนด์เปิดให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ร้อยละ 100 ยกเว้นประมง และหากลงทุนเกินกว่า 50 ล้านเหรียญ นิวซีแลนด์ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการลงทุนต่างชาติก่อน ขณะที่ไทยก็เปิดให้นิดซีแลนด์ลงทุนได้ร้อยละ 100 ในธุรกิจผลิตสินค้าบางประเภทที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้วยเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท เช่น ธุรกิจผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซอฟต์แวร์ เครื่องจักร ผลิตภัฒฑ์กระดาษ และการแปรรูปอาหารที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น

เมื่่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เริ่มวางแผนการเจรจาด้านการค้าบริการ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ โดยภายใน 3 ปีนับจากวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ กำหนดให้มีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ ทบทวนสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ และเการจัดซื้อโดยรัฐ ซึ่งจะเข้าสุ่ขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาต่อเนื่องกันไป

ไทย + ญี่ปุ่น

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย - ญี่ปุ่น (Japan - Thailand Closer Economic Partnership - JTEPA )

เมื่อปี 2545 (2002) เริ่มการเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย - ญีปุ่น (Japan - Thailand Closer Economic Partnership - JTEPA) อย่างเป็นทางการในปีต่อมา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และัการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในโอกาศต่าง ๆ ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษจิกายน 2550 โดยการเปิดเสรีการค้าสินค้านั้น มีการลด/เลิกภาษีมากกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า อีกทั้งมีมาตรการปกป้องสองฝ่ายในกรณีกรลด เลิก ภาษีก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ สำหรับด้านการค้าบริการ ไทยสามารถไปลงทุนเปิดกิจการ และทำงานในญี่ปุ่นมากขึ้น และง่ายขึ้นในหลายสาขา เช่น บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย บริการสปา บริการโรงแรม บริการร้านอาหาร และ บริการอู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีมาตรการปกป้องฉุกเฉินที่จะเริ่มเจรจาใน 6 เดือนหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้

สำหรับด้านการลงทุน ไทยสามารถเข้าไปลงทุนทุกสาขา ยกเว้น อุตสาหกรรมผลิตยา อุตสาหกรรมอวกาศ และยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมัน อุตสาหกรรมการกระจายเสียง การทำเหมืองแร่ การประมง การเกษตร ป่าไม้ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแก้ไขข้อผุ้พันแบบถอยหลัง(Backtrack) ได้ แต่อาจจะต้องมีการชดเชยหรือปรับข้อผูกพันอื่น เพื่อให้ประโยชน์โดยรวมไม่ลดลง

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนกำหนดกลไกในการติดตามผลและกำหนดให้มีการทบทวนทั่วไป (10ปี) ทบทวนเฉพาะบท(การค้าสินค้า 10 ปี หรือก่อนหน้านั้นตามที่จะตกลง การค้าและบริการ 3 หรือ 5 ปี การลงทุน 5 ปี)

ไทย + อินเดีย

ความตกลงการค้าเสรี ไทย - อินเดีย (India - Thailand Free Trade Agreement - ITFTA)

เริ่มเมื่อปี 2544 (2001) สรุปกรอบFTA ได้ในปี 2546 ครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยมีการ ลด,เลิกภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 ถึงภายในปี 2553 อีกทั้งมีการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างปี 2547 ถึงปี 2549 ก่อนเจรจาสาขาที่พร้อมต่อไป ซึ่งเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ได้หาข้อสรุปการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเบื่องต้นได้แล้ว อยู่ระหว่างรอการยืนยันจากอินเดีย ตรวจทานร่างความตกลงด้านการค้าสินค้า และเอกสารแนบ สำหรับการค้า บริการ และการลงทุนนั้น อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงในเรื่องนั้น ๆ

ไทย + สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

ความตกลงการค้าเสรีไทย - สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Thailand - Europe Free Trade Association Free Trade Ahreement - TEFTA)

เริื่มเมื่อปี 2547 (2004) แล้วเจรจาอย่างเป็นทางการในปีต่อมา ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือต่าง ๆ ด้วยหลักความยืดหยุ่น เพื่อให้ได้ประโยชน์เท่าเีทียมกัน (Mutual Benefit) และสอดคล้องหลักการขององค์การค้าโลก ถึงเดือนมกราคา 2549 ได้เจรจาครอบคลุมทุกหัวข้อ โดยมีการเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าเกษตรพื้นฐาน สินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าประมง สำหรับการค้าบริการ TEFTA สนใจสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ไทยขอให้เปิดตลาดเพิ่มในกิจกรรม Insurance Reinsurance และ Banking ขณะที่การลงทุนยังมีท่าทีแตกต่างหลายประเด็น เช่น นิยาม การลงทุน ผู้ลงทุน ขอบเขตการคุ้มครองการลงทุน และการระงับข้อพิพาท เป็นต้น ไทยอยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาบททวน ท่าที และกรอบการเจรจา

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไทย - BIMSTEC

เขตการค้าเสรี BIMSTEC (BIMSTEC free Trade Area)

เริ่มเมื่อปี 2546 (2003) และั 2547 (2004)ที่ร่วมลงนามกรอบ FTA ครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านเศรฐกิจอื่น ๆ โดยด้านการค้าสินค้านั้น ประเทศที่พัฒนาน้อยก็จะได้รับการยืดหยุ่นและปฎิบัติเป็นพิเศษ การลดภาษีเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ช้าสุดถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 สำหรับด้านการค้าบริการ และการลงทุน เริ่มเจรจาในปี 2548 เสร็จสิ้นภายในปี 2550 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการกำหนดให้ FTA มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 คงเหลือการยื่นตารางรายการสินค้าที่จะมีการลด/เลิกภาษี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาให้ความเห็นชอบในการลงนามความตกลงด้านการค้า โดยที่การค้าบริการ และการลงทุนอยู่้ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงฯ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไทย + บาห์เรน

ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด ไทย - บาห์เรน (Bahrain - Thailand Closer Economic Partnership Agreement)


เริ่มเมื่อปี 2545 (2002) ผู้นำทั้งสองฝ่ายลงนามแถลงการณ์ร่วมเพื่่อจัดตั้ง FTA ครอบคลุมการลดภาษีสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ขณะนี้ได้หยุดการเจรจาความตกลงการเป็นพันธมิตรทางเศรฐกิจไทย - บาห์เรน โดยขั้นตอนต่อไปจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม เพื่อเป็นกลไกติดตามความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน รวมทั้งไทยจะสนับสนุนบาห์เรนในการผลักดันการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน กับ GCC (Gulf Cooperation Council) มีสมาชิก 6 ประเทศ ประกอบด้วย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุอาระเบีย โอมาน กาตาร์ และคูเวต)ที่บาห์เรนเป็นสมาชิกอยุ่แล้ว

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ