ผู้บริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในอนาคต จะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพราะโลกในการบริหารธุรกิจมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ถ้าผู้บริหารขาดความชำนาญในการกำหนดกลยุทธ์และการปฎิบัติตามกลยุทธ์จะทำให้ธุรกิจต่อสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารในระดับองค์การต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ และกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ที่มีรูปแบบ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญตามหน้าที่ ก็จะต้องเข้าใจแนวความคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์พื้นฐานด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างงานเพื่อการศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ

เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain analysis) เป็นโครงสร้างงานที่มีประโยชน์ในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างมีระบบ เพื่อฉวยโอกาสและกำจัดอุปสรรคในสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้บริหารต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนภายใจธุรกิจอย่างระมัดระวังในการวิเคราะห์ะเครื่อข่ายการสร้างคุณค่า สมมุติว่าธุรกิจมีจุดมุ่งหมายด้านเศรฐกิจพื้นฐานของธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่า (Value) ซึ่งวัดโดยรายได้รวมของธุรกิจ การวิเคราะห์เครือข่ายคุณค่า (Value chain analysis) ผู้บริหารจะต้องแบ่งกิจกรรมของธุรกิจออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าเพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรมที่จำเป็นเพื่อการออกแบบ การผลิต การหาตลาด การส่งมอบ และการให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ แต่ละกิจกรรมจะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ สนับสนุนผลิตภัณฑ์แต่ละกิจกรรม จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ละกิจกรรมเป็นแหล่งของการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
ซึ่งเครือข่ายการสร้างคุณค่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.กิจกรรมพื้นฐาน
2.กิจกรรมสนับสนุน

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน

สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน (Sings of competitive weakness)
ประกอบด้วย
1.เผชิญกับข้อเสียเปรียบทางการแข่งขัน
2.สูญเสียตลาดให้กับคู่แข่งขัน
3.ความเจริญเติบโตของรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
4.ขาดแคลนทรัพยากรทางการเงิน
5.ชื่อเสียงบริษัท(ผลิตภัณฑ์) ไม่ดีในสายตาลูกค้า
6.ไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และความสามารถในนวัตกรรมด้ายผลิตภัฒฑ์
7.กลยุทธ์ต่าง ๆ ใชัไม่ได้ผล
8.มีปัญหาในพื้นที่ที่เป็นตลาดส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพ
9.ผู้ผลิตใชัต้นทุนในการผลิตสูง
10.ธุรกิจขนาดเล็กเกินไปที่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในตลาด
11.ไม่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมที่จะขจัดอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
12.ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
13.ขาดทักษะด้านทรัพยากรและความสามารถทางการแข่งขันในเขตพื้นที่สำคัญ
14.ความสามารถในการจัดจำหน่ายอ่อนแอกว่าคู่แข่ง

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณของจุดแข็งทางการแข่งขัน

สัญญาณของจุดแข็งทางการแข่งขัน (Sign of competitive strength) ประกอบด้วย
1.จุดแข็งด้านทรัพยากรที่สำคัญ ความสามารถหลัก และความสามารถทางการแข่งขัน
2.ความสามารถที่โดดเด่นในกิจกรรมเครือข่ายการร้างในคุณค่าที่สำคัญทางการแข่งขัน
3.ส่วนครองตลาดแข็งแกร่ง หรือเป็นผู้นำตลาด
4.มีกลยุทธ์เหนื่อกว่าคู่แข่งขัน
5.มีฐานข้อมูลลูกค้าที่ดี ลูกค้ามีความภักดีต่อตราสินค้ามากขึ้น
6.ผลิตภัณฑ์,บริษัทเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในตลาด
7.กลุ่มกลยุทธ์ที่กำหนดเป็นที่น่าพอใจ
8.มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ดีในส่วนตลาดที่น่าสนใจ
9.มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างอย่างแข็งแกร่งและเหนือกว่าคู่แข่งขัน
10.มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน
11.มีกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
12.มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
13.มีการประกอบการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการที่ทันสมัย
14.มีตำแหน่งที่จะฉวยโอกาสทางการตลาดที่ดีขึ้นได้ทัน

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ลักษณะเชิงเศรษฐกิจที่มีผลต่อกลยุทธ์

1.ขนาดของตลาด (Market size) - ตลาดขนาดเล็กจะไม่จูงใจคู่แข่งขันรายใหญ่ หรือรายใหม่ ส่วนตลาดขนาดใหญ่จะดึงความสนใจของคู่แข่งขันให้เข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรม

2.อัตราความเจริญเติบโตของตลาด (Market growth rate) - ความเจริญเติมโตของตลาดที่รวดเร็ว จะจูงใจให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดใหม่ ความเจริญเติมโตที่ล่าช้าจะไม่จูงใจให้คูแข่งขันเข้าสู่ตลาด

3.สมรรถภาพส่วนเกินหรือความขาดแคลน (Capacity surpluses or shortage) - สมรรถภาพส่วนเกินจะดึงราคาและกำไรให้ลดลง ส่วนความขาดแคลนจะดึงราคาและกำไรให้สูงขึ้น

4.ความสามารถในการสร้างกำไรของอุตสาหกรรม (Industry profitability) - อุตสาหกรรมที่มีกำไรสูง จะจูงใจคู่แข่งขันใหม่ให้เข้าสู่ตลาด อุตสาหกรรมที่ตกต่ำจะทำให้คู่แข่งขันออกจากตลาด

5.อุปสรรคการเข้า/ออก (Entry/exit) barriers) - อุปสรรคระดับสูงจะป้องกันตำแหน่งและกำไรของธุรกิจที่ทำอยู่ อุปสรรคระดับต่ำจะทำให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดได้ง่าย

6.ผลิตภัณฑ์เป็นรายการที่ยิ่งใหญ่สำหรับผุ้ซื้้อ (Product is a big-ticket item for buyers) - ผู้ซื้อส่วนมากจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาต่ำที่สุด

7.ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Standardized products) - ผู้ซื้อจะมีอำนาจมากขื้น เนื่องจากจะเป็นการง่ายที่ผู้ซื้อจะเปลื่ยนการซื้อจากผู้ขายรายหนึ่งไปยังอีกรายหนึ่ง

8.การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว (Rapid technological change) - ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวก หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีแบบเก่าจะเปลี่ยนเป็นความล้าสมัย

9.ความต้องการเงินลงทุน (Capital requirements) - เงินทุนก้อนใหญ่ ต้องการการตัดสินใจในการลงทุนที่สำคัญ ต้องใช้ระยะเวลาซื่งเป็นอุปสรรคในการจะเข้าและออกจากธุรกิจ

10.การผสมผสานในแนวดิ่ง (Vertical integtaion) - จะเพิ่มความต้องการเงินทุน ซึ่่งสามารถสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน และความแตกต่างด้านต้นทุน

11.ความประหยัดจากขนาดการผลิต (Economies of scale) - จะเพิ่มยอดขายและส่วนครองตลาด เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านต้นทุน

12.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็ว (Rapid product innovation) - ทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น และเป็นการเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพยากรณ์สภาพแวดล้อม

การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และการพยากรณ์ด้านเทคนิค (Making use of infotmation analytical and forecasting techniques) เนื่องจากข้อมูลมีการสับสนมากขึ้นจึงต้องเปลี่ยนข้อมูลเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดกลยุทธ์ และตัดสินใจในทางเลือกที่เหมาะสม การตัดสินใจเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอนาคตเรียกว่า เทคนิคการพยากรณ์ (Forecasting techniques) อาจใช้วิธีที่เรียกว่า เทคนิคเชิงพรรณา (Descriptive techniques) เป็นการจัดการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งผู้ตัดสินใจจะต้องดึงปัจจัยเกี่ยวกับอนาคตภายหลังการสำรวจข้อมูล การสำรวจข้อมูลโดยใช้เทคนิค วิธีการพยากรณ์ประกอบด้วย การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ (Correlation) เทคนิค Delphi (Delphi techniques) โมเดล Box-Jenkins การวิเคราะห์แนวโน้มฤดูการ(Seasonal trend) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Export opinion) สถานการณ์จำลอง (Simulation) เหล่านี้เป็นเทคนิคการพยากรณ์ที่สำคัญ

ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์(Strategic Infotmation System (SISs)) เป็นระบบซึ่งจัดหาปัจจัยนำเข้าเพื่อใช้ในการบวนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยจัดหาข้อมูลที่สำคัญ ถูกต้องด้านเวลาเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีระบบการจัดการข้อมูล (Management infotmation system (MIS)) หมายถึง ระบบข้อมูลข่าวสารซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยผู้บริหารในการค้นหาข้อมุลเพื่อผลิดรายงานของงานประจำ และสามารถส่งข้อมูลตามความต้องการของผุ้บริหารเพื่อใช้ในการจัดการ โดยออกแบบและดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมุลดิบ (Data) เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) เพื่อการจัดการ

ตัวอย่าง
ระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์เริ่มต้นจากธนาคาร ข้อมูลที่เป็นทางการจะเก็บข้อมูลที่จำเป็น และนำเสนอรายงานประจำและไม่ประจำเกียวกับเหตุการณ์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก โดยแสดงถึงสายงานของข้อมูลภายใน โดยถือเกณฑ์หน้าที่ ซึ่งแยกตามหน้าที่ แผนก หรือเกณฑ์อื่นที่จำเป็น ข้อมุลเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ซึ่งจัดหาข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ เช่น งบการเงิน รายงานการควบคุมต้นทุน รายงานการควบคุมคุณภาพ รายงานระดับสินค้าคงเหลือ รายงานการทำงานของแผน รายงานการขาดงาน และการหมุนเวียนเข้าออก

ขั้นตอนระบบข้อมูลเชิงกลยุทธ์ (Strategic infotmation sustem) มีขั้นตอนดังนี้
1.การวิเคราะห์และการพยากรณ์ โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารข้อมุ,ที่เป็นทางการ และแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ
2.การกำหนดจุดแข็งจุดอ่อน ซึ่งเป็นข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในและข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก
3.เสนอรายงานประจำและไม่ประจำ แก่ผู้กำหนดกลยุทธ์องค์การ
4.ผุ้กำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ใช้ข้อมูลเพื่อ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์มกำหนดภาระกิจ เป้าหมาย และนโยบาย

ความสัำคัญของการพยากรณ์ในการบริหารเชิงกลยุทธ์คือ ลดความไม่แน่นอนและช่วยการตัดสินใจสถานการณ์ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนบางประการ ซึ่งผุ้ตัดสินใจจะต้องพยายามระบุความไม่แน่นอน ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการความเสี่ยง (Risk analysis)

ปัญหาของการลดความไม่แน่นอน ประกอบด้วย การค้นหาความไม่แน่นอนในสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีผลกระทบ เพราะ ของเขตของกลยุทธ์ในระยะยาว มีความสับสนกันระหว่างแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่ และการตลาดปฏิบัติจริง หรือระหว่างการตัดสินใจ หรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์และการซื้อขาย ในช่วงเวลานี้การสมมุติหือข้อสมมุติซึ่งกลยุทธ์จะถือเกณฑ์ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์รวดเร็วประกอบอยุ่ในเวลาต่าง ๆ ความไม่แน่นอนจะสามารถลดลงได้ ผุ้บริหารเชิงกลยุทธ์จะต้องคุ้นเคยกับเทคนิคนี้ การพยากรณืในสิ่งสำคัญ ซึ่งในขณะที่โมเดลการวางแผนส่วนใหญ่จะสมมุติการพยากรณ์ที่เป็นไปได้

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวแปรสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโอกาสและอุปสรรค

1.อัตราโครงสร้างของอายุเด็ก (Childbearing rates)
2.จำนวนของกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ (Number of special interest groups)
3.อัตราการแต่งงาน (Number of marriages)
4.อัตราการหย่า (Number of divorces)
5.อัตราการเกิด (Number of dirths)
6.อัตราการตาย (Number of desths)
7.อัตรการย้ายเข้าและย้ายออกในเขตใดเขตหนึ่่ง (Immigration rates)
8.โปรแกรมความมั่นคงด้านสังคม (Social security programs)
9.อัตราความคาดหวังในชีวิต (Life expectancy rates)
10.รายได้ต่อหัว (Per capita income)
11.ทำเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีก การผลิต และธุรกิจบริการ (Location of retailing, manufacturing, and service businesses)
12.ทัศนคติต่อธุรกิจ (Attitudes toward business)
13.รูปแบบการดำรงชีวิต (Life-styles)
14.ปัญหาการจราจร (Traffic congestion)
15.สภาพแวดล้อมภายในประเทศ (Inner-city environments)
16.รายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ย (Average disposable income)
17.ค่านิยมที่มีต่อการใช้เวลาว่าง (Value placed on leisure time)
18.ความไว้วางใจในรัฐบาล (Trust in government)
19.ทัศนคติที่มีต่อรัฐบาล (Attitudes toward goverment)
20.ทัศนคติที่มีต่องาน (Attitudes toward work)
21.อุปนิสัยในการซื้อ (Buying habits)
22.ความคิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณ (Ethical concerns)
23.ทัศนคติที่มีต่อการออม (Attitudes toward saving)
24.บทบาททางเพศ (Sex roles)
25.ทัศนคติที่มีต่อการลงทุน (Attitudes toward investing)
26.ความเท่าเทียมกันด้านเชื้อชาติ (Racial equality)
27.การควลคุมอัตราการเกิด (Use of birth control)
28.ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ย (Average level of education)
29.การควบคุมของรัฐบาล (Goverment regulaiton)
30.ทัศนคติต่อการให้ออกจากงาน (Attitudes toward retirement)
31.ทัศนคติต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Attitudes toward product quality)
32.ทัศนคติด่อการใช้เวลาว่าง (Attitudes toward leisure time)
33.ทัศนคติต่อการให้บริการลูกค้า (Attitudes toward custumers service)
34.การควบคุมมลภาวะ (Pollution control)
35.ทัศนคติต่อชาวต่างประเทศ (Attitudes toward foreign peoples)
36.การประหยัดพลังงาน (Energy concervation)
37.โปรแกรมด้านสังคม (Social programs)
38.จำนวนของวัดและโบสถ์ (Number of temples and church)
39.จำนวนคนที่ไปวัดและโบสถ์ (Number of temples and chrch member)
40.ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility)
41.ทัศนคติที่มีต่ออำนาจหน้าที่ (Attitudes toward authority)
42.ทัศนคติที่มีต่ออาชีพ (Attitudes toward authority)
43.การเปลี่ยนแปลงของประชากรทางด้านเชื้อชาติ อายุ เพศ และระดับความมั่งคั่ง (Population changes by race,age,sex,and level of affluence)
44.การเปลี่ยนแปลงของประชากรทางด้าน เมืองหลวง จังหวัด รัฐ ภาค และประเทศ (Population changes by city,country,state.region,and country)
45.การเปลี่ยนแปลงในภาคต่าง ๆ ทางด้านรสนิยมและความพึงพอใจ (Regional changes in tastes and preferences)
46.จำนวนของแรงงานสตรีและผุ้เยาว์ (Number of women and minority workes)
47.จำนวนของโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ในแต่ละเขตภูมิศาสตร์ (Number of high school and college graduates by geographic area)
48.การหมุนเวียนเปลี่ยนสภาพได้ (Recycling)
49.การจัดการลดความสูญเปล่า (Waste management)
50.การลดมลภาวะอากาศ (Air pollution)
51.ปัญหาน้ำเสีย (Water pollution)
52.ปัญหาการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ (Ozone depletion)

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม

ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะต้องติดตาม (Key economic variables to be monitored)
1.การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ (Changing economy)
2.ความสามารถในการจัดหาสินเชื่อ (Availablity of credit)
3.ระดับของรายได้บุคคล(propensity of credit)
4.อำนาจในการใช้จ่ายของบุคคล (Propensity of people to spend)
5.อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
6.อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
7.การประหยัดจากขนาดของการผลิต (Economies of scale)
8.อัตราดอกเบี้ยของตลาดเงิน (Money market rates)
9.งบประมาณขาดดุลของรัฐบาล (Federal government budget feficits)
10.แนวโน้มผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross national product trend)
11.รูปแบบการบริโภค (Consumption patterns)
12.แนวโน้มการว่างงาน (Unemployment trends)
13.ระดับผลผลิตของแรงงาน (Worker productivity levels)
14.ค่าของเงินบาทและดอลล่าร์ในตลาดโลก (Value of the bath and dollar in world markets)
15.แนวโน้มของตลากหลักทรัพย์ (Srock market trends)
16.สภาพเศรษฐกิจของต่างประเทศ(Foreign countrie's econmic conditions)
17.ปัจจัยนำเข้าและส่งออก (Import/export factors)
18.การเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสำหรับสินค้าและบริการประเภทต่าง ๆ (Demand shifts for different categories of goods and services)
19.ความแตกต่างของรายได้ในภาคค่าง ๆ และกลุ่มผุ้บริโภค (Income difference by region and consumer groups)
20.การเคลื่อนไหวของราคาสินค้า (Price fluctuations)
21.การส่งออกแรงงาน และเงินทุนเข้าในประเทศ หรือออกต่างประเทศ (Exportation of labor and capital from the U.S.)
22.นโยบายการเงิน (monetary policies)
23.นโยบายการคลัง (Fiscal policies)
24.อัตราภาษี (Tax rates)
25.นโยบายการรวมตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป (European Economic Community (ECC) policies)
26.นโยบายของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) policies)
27.การรวมกันของนโยบายประเทศที่ด้อยพัฒนา (Coalitions of Lesser Developed Countries (LDC) policies)

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมด้านสังคม วัฒนธรรม จรรยาบรรณ ประชากรศาสตร์ และส่งแวดล้อม

สภาพแวดล้อมด้านสังคมศาสตร์ วัฒนธรรม จรรยาบรรณ ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม(Social,cultural ,ethics,demographic,environmental) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมมีผลกระทบที่สำคัญต่อ ผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด และลูกค้า องค์การทั้งขนาดใหญ่เล็ก ทั้งที่มุ่งหวังกำไรและที่ไม่มุ่งหวังกำไรในทุกอุตสาหกรรมจะต้องได้รับอัทธิพล โดยอาจจะเกิดโอกาสและอุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าว

แนวโน้มของสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม จะกำหนดรูปแบบการดำรงชีวิต การทำงาน การผลิต และการบริโภค แนวโน้มใหม่ ๆ ทำให้เกิดรูปแบบของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่ความต้องการผลิตภัณฑ์และการบริการที่ต่างกัน ตลอดจนสร้างให้เกิดโอกาสและอุปสรรคต่อธุรกิจซึ่งนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ที่แตกต่างกันด้วย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจระดับโลกมีการแข่งขันและมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยทัศนะการจักการเชิงกลยุทธ์ใหม่ การรวมตัวกันของยุโรป ในปี 1992 ทำให้เกิดการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอำนาจทางการเงินสูงสุด

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดขึ้นในเม็กซิโก บราซิล ตะวันออกกลาง รัสเซีย จีน และเยอรมณี ลักษณะการเปลี่ยนแปลงหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมภายใน โดยใช้ความพยายามที่จะสร้างความมั่งคั่ง การพิจารณาเหตุการณ์ภายในประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมปัจจุบันและวิวัฒนาการด้านเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออก ตัวอย่าง ธุรกิจสหรัฐอเมริกาจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ความสามารถของธุรกิจสหรัฐที่ทำการค้ากับประเทศเหล่านี้มีขอบเขตจำกัด เพราะว่าการค้ากับประเทศเหล่านี้เป็นสิ่งที่ลดอัตราแลกเปลี่ยนสภาพคล่อง ซึ่งไม่มีค่านิยมภายนอกขอบเขต ดังนั้นส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ขาดโครงสร้างที่จะให้การสนับสนุนความประหยัดในตลาด ปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดลูกค้าที่ศักยภาพและแหล่งวัตถุดิบของสหรัฐอเมริการ จึงมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในการค้าต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจเกิดจากการบริหารประเทศของคณะรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง การใช้งบประมาณขาดดุลเหล่านี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากเกินไปนในระบบเศรฐกิจ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ นโยบายการเงินของรัฐอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการว่างงาน ตัวอย่าง ในช่วงกลางปี 2539 รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาจะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยงแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมการกระจายธุรกิจ นโยบายการผลิต การเงิน การตลาด เป็นต้น

การเป็นธุรกิจระดับโลกเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ปัญหาที่ธุรกิจจะต้องเผชิญในการเพิ่มอิสระให้กับต่างประเทศ ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ความแตกต่างด้ายความต้องการของผู้บริโภค ระบบภาษี การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อุปสรรคด้านภาษี อุปสรรคทางการค้า ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีปัญหาเดือนร้อนจากการจัดการที่มีจำกัด และการขาดโครงสร้างสาธารณูปโภค ความลำบากเหล่านี้จะนำไปสู่ธุรกิจที่จะพัฒนาประเทศ

สภาพแวดล้อมระดับโลก

สภาพแวดล้อมระดับโลก(The global environment) ในปัจจุบันองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมีการขยายของเขตการปฏิบัติงานสู่ตลาดต่างประเทศ ความพยายามด้านการผลิต และการตลาดของบริษัทขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นระดับโลก (Golbalized) แนวโน้มนี้ทำให้เกิดการค้นหาวิธีการขนส่งที่ถูกกว่าและรวดเร็วกว่า การติดต่อสื่อสารที่มีอำนาจมากว่าและความคล้ายคลึงกันในรสชาด และการบริโภคของบุคคลในประเทศต่าง ๆ ดังนั้นจึงงายสำหรับบริษัทที่จะทำให้ได้ทุนคืนจากการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในตลาดระดับโลก ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงการแข่งขันที่มีศักยภาพจากภายในประเทศและคู่แข่งขันระหว่างประเทศ การศึกษาถึงแนวโน้มเหล่านี้มีผลกระทบต่อองค์การซึ่งมีตลาดระหว่างประเทศ แนวโน้มซึ่งมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกก็คือการเกิดขึ้นของกลุ่มที่ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่นประชาคมเศรษฐกิจยุโรป กลุ่มประเทศOPEC สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ASEAN เป็นต้น

การร่วมมือเชิงกลยุทธ์จะเป็นสิ่งที่นิยมในระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียง โดยการสร้างการร่วมมือกันเชิงกลยุทธ์ได้กลายเป็นที่นิยมของบริษัทข้ามชาติ ที่มีชื่อเสียงเพื่อที่จะประเมินตลาดในประเทศอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการรับศิลปะและเทคโนโลยีต่าง ๆ

การประเมินสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี

เราจะต้องรู้และเข้าใจองค์ประกอบเหล่านี้ก่อน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
1.เทคโนโลยี่ภายในบริษัทคืออะไร
2.เทคโนโลยีซึ่งมีประโยชน์สำหรับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ วัสดุ ส่วนประกอบ และอะไหล่ ต่าง ๆ คืออะไร
3.ความสำคัญของเทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจแต่ละผลิตภัณฑ์ คืออะไร
4.เทคโนโลยีอะไรบ้างที่ใช้ในอะไหล่และวัตถุดิบ
5.เทคโนดลยีภายนอกที่สำคัญคืออะไร
6.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในช่วงเวลาหนึ่งเป็นอย่างไร บริษัทใดมีความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอะไรบ้าง
7.แนวโนม้วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในอนาคตคืออะไร
8.การลงทุนในเทคโนโลยีในช่วงเวลาหนึ่งเป็นอย่างไร บริษัทใดมีความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบ้าง
9.การลงทุนและรูปแบบการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีของคุ่แข่งขันคืออะไร
10.การลงทุนในผลิตภัณฑ์และกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ สำหรับธุรกิจและคู่แข่งขัน การออกแบบ การผลิต การปฎิบัติและการให้บริการควรทำอย่างไร
11.การจัดลำดับของธุรกิจต่าง ๆ ที่ใช้แต่ละเทคโนโลยีเป็นอย่างไร
12.ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจคืออะไร
13.ส่วนที่เป็นอะไหล่และส่วนประกอบของผลิลภัณคืออะไร
14.ต้นทุนและโครงสร้างมูลค่าเพิ่มของอะไหล่ ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ และธุรกิจคืออะไร
15.การทำงานด้านการเงินและการบริหารเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีการประยุกต์ใช้แนวโน้มนี้หรือไม่ การสร้างเงินสดและลักษณะการแสวงหาผลประโยชน์ ความต้องการด้านการลงทุน ความเจริญเติมโต ตำแหน่งของตลาด และส่วนครองตลาดเป็นอย่างไร
16.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจคืออะไร
17.ในปัจจุบันธุรกิจใดมีส่วนร่วมในเทคโนโลยีแบบใดบ้างและเพราะเหตุใด ธุรกิจใดที่ไม่มีส่วนร่วม และเพราะเหตุใดจึงไม่มีส่วนร่วม
18.สิ่งจูงใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นโอกาสในการลงทุนเพื่อทำให้เกิดความเจริญเติมโตด้านตลาด ศักยภาพในการปรับปรุงกำไร และศักยภาพในการเพิ่มความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เป็นอย่างไร
-ถือเกณฑ์ลักษณะความเจริญเติมโต
-วิวัฒนาการความต้องการของลุกค้า
-ส่วนของตลาดในปัจจุบันที่เกิดขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตของตลาด
-ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ทางการแข่งขันและกลยุทธ์ของคู่แข่งขันที่สำคัญ
19.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สำคัญของธุรกิจต่าง ๆ เป็นอย่างไร
20.เทคโนโลยีอะไรบ้างที่มีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้
21.เทคโนโลยีจะแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละการประยุกต์ใช้
22.การแข่งขันในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างไร การพิจารณาการทดแทนกันเป็นอย่างไร
23.ระดับของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเทคโนโลยีต่าง ๆ คืออะไร
24.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจควรพิจารณาอะไรบ้าง
25.ความสำคัญในการลงทุนในการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีคืออะไร
26.ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีที่ต้องการสำหรับธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
27.ระดับและอัตราการลงทุนด้านเทคโนโลยีของบริษัทเป็นอย่างไร
28.การลงทุนด้านเทคโนโลยีควรมีการจำกัดหรือไม่ อย่างไร
29.เทคโนโลยีที่ต้องการใช้เพิ่มเติมมีอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจในปัจจุบัน
30.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการจัดสรรทรัพยากรสำหรับธุรกิจ สำหรับกลยุทธ์ของบริษัทคืออะไร

ข้อมูลจาก

การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา
ร.ศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ